ความตึงผิว (surface tension)
ของเหลวที่ออกมาจาก
dropper จะออกมาเป็นหยด ๆ แต่ไม่ไหลออกมา เป็นลำของของไหล ที่ต่อเนื่อง
ลวดหนีบกระดาษ สามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ แม้ว่าความหนาแน่นของมัน
จะมากกว่าน้ำ หลายเท่า แมลงบางชนิด สามารถเดินบนผิวน้ำได้ โดยที่เท้ามันไม่ทะลุผิวน้ำลงไป
เมื่อจุ่มหลอดแก้วรูเล็ก ๆ ลงไปในน้ำจะมีน้ำไหลขึ้นมาในหลอด แต่ถ้าจุ่มหลอดแก้วนี้ลงไปในปรอท
ปรอทจะไม่ไหลเข้าไปในหลอดแต่จะถูกกดลงไป
เหตุการณ์เหล่านี้เป็นตัวอย่างของผลจาก
ความตึงผิว (surface tension) ผิวของของเหลวประพฤติตัวเหมือนเป็นแผ่นเยื่อบาง
ๆ ที่มีความตึง โมเลกุลของของเหลวจะออกแรงดึงซึ่งกันและกัน
ผลรวมของแรงเหล่านี้ บนแต่ละโมเลกุลที่อยู่ภายในของเหลว จะมีค่าเป็นศูนย์
แต่โมเลกุลที่อยู่ที่ผิวของเหลวจะถูกดึงให้เข้าไปในของเหลว
ดังนั้นของเหลวพยายามที่จะลดขนาดของพื้นที่ผิวของมัน หยดน้ำที่ตกลงอย่างอิสระจะมีรูปร่างเป็นทรงกลม
ไม่ใช่หยดน้ำตา เนื่องจากทรงกลม เป็นรูปร่างที่มีพื้นที่ผิวน้อยกว่า
รูปร่างอื่น ที่มีปริมาตรเดียวกัน
เราสามารถหาค่าของความตึงผิวได้โดยพิจารณาจากเหตุการณ์ในรูปที่
7-8 ลวดงอรูปตัว U ถูกแขวนอยู่ และมีลวดอีกเส้นหนึ่งต่ออยู่กับลวดตัว
U ซึ่งดึงให้เลื่อนขึ้นลงได้ ถ้านำชุดลวดทั้งหมดนี้ไปจุ่มในน้ำสบู่แล้วเอาออกมา
จะมีฟิล์มสบู่เกาะอยู่ดังรูป ถ้าน้ำหนัก ของลวดเลื่อนไม่มากนัก ตัวลวดเลื่อนอาจถูกดึงขึ้นได้เนื่องจากความตึงผิวของฟิล์มสบู่
เรียกแรงที่ฟิล์มสบู่ใช้ในการดึงลวดเลื่อนขึ้นนี้ว่า แรงตึงผิว (surface
tension force) เพื่อจะให้ลวดเลื่อนอยู่ในสมดุล (คือไม่ถูกดึงขึ้น)
จะต้องออกแรง ดึงลวดเลื่อนลงมา ลวดเลื่อนจะอยู่ในสมดุลเมื่อแรงดึงลวด
รวมกับน้ำหนักลวดมีขนาดเท่ากับแรงตึงผิวพอดี นั่นคือ
เมื่อดึงลวดลง
เนื้อที่ของฟิล์มสบู่ก็จะเพิ่มขึ้น โมเลกุลของของเหลวภายใน จะเคลื่อนที่ออกมาจากข้างในมาสู่ผิวด้านนอกของฟิล์มทั้งสองฝั่ง
สมมติให้ลวดเลื่อนยาว
ฟิล์มสบู่ มีทั้งหมดสองด้านคือด้านหน้าและด้านหลังจากรูป ดังนั้นมันจึงออกแรงกระทำกับลวดทั้งหมด
เป็นระยะ
เราให้นิยามความตึงผิว
ในฟิล์มสบู่ว่าเป็น อัตราส่วนของแรงตึงผิว F ต่อความยาว d ที่แรงนั้นกระทำ
สำหรับในกรณีดังรูปที่
7-9
จะได้
หน่วยของความตึงผิวคือหน่วยของแรงต่อหน่วยของความยาว
ซึ่งในระบบ SI คือ N/m แต่ในระบบ cgs ความตึงผิวมีหน่วยเป็น ดายน์
(dyne) ต่อเซนติเมตร (dyn/cm) โดยที่ 10
5 dyn = 1 N และดังนั้น
ความตึงผิว 1 dyn/cm = 10
-3 N/m
ความตึงผิวของของเหลวบางชนิด
มีค่าลดลงเมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจาก อุณหภูมิสัมพันธ์
กับพลังงานของโมเลกุลที่เคลื่อนที่ เมื่ออุณหภูมิเพิ่มขึ้นโมเลกุลของของเหลวจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น
ปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลที่มีผลต่อการเคลื่อนที่จะน้อยลง ดังนั้นความตึงผิวจึงลดลง
ตัวอย่างที่ 7-5
วงแหวนบางมากผูกด้วยเชือกวางอยู่บนผิวของเหลวชนิดหนึ่ง
วงแหวนนี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.0 cm และมีมวล 1.0 g
พบว่าถ้าต้องการดึงวงแหวน ให้หลุดออกจากผิวของเหลวพอดีต้องออกแรงดึง
เชือกขนาด 3.3 x 10
-2 N จงหาค่าความตึงผิวของของเหลวนี้
วิธีทำ
ขณะที่วงแหวนหลุดพอดี แรงดึงเชือกจะเท่ากับน้ำหนักวงแหวนรวมกับแรงตึงผิว
นั่นคือ
UP
ความดันภายในฟองของเหลว (pressure inside a bubble)
ความตึงผิวทำให้เกิดผลต่างระหว่างความดันภายใน
และภายนอกของฟองสบู่ หรือหยดของเหลว ฟองสบู่ประกอบด้วยผิวของฟิล์มสองผิว
(ภายในกับภายนอก) โดยมีของเหลวที่เป็นชั้นบาง ๆ อยู่ระหว่างผิวทั้งสอง
ภายในมีอากาศอยู่ ความตึงผิว ทำให้ฟิล์มทั้งสองพยายามหดตัว เพื่อให้ได้พื้นที่ผิวของฟองสบู่มีขนาดเล็กที่สุด
แต่ในขณะที่มันหดตัวไปเรื่อย ๆ ความดันอากาศภายใน จะเพิ่มขึ้นจนในที่สุดมันสามารถดันฟิล์มทั้งสองไม่ให้หดตัวอีกต่อไป
รูปที่ 7-9 ภาพตัดขวางของฟองสบู่
เราจะหาผลต่างระหว่างความดันภายในกับภายนอกในรูปของรัศมีของฟองสบู่
และความตึงผิว
ของน้ำสบู่ ในขั้นแรกเราสมมติว่าภายนอกฟองสบู่ไม่มีความดัน แต่ละครึ่งของฟองสบู่อยู่ในสมดุล
ครึ่งล่างของฟองสบู่แสดงให้เห็นในรูปที่ 7-9 ด้านขวา แรงต่าง ๆ ที่กระทำบนพื้นผิว
วงกลมได้แก่ แรงดึงขึ้นที่ขอบเนื่องจากความตึงผิวและแรงกดลงเนื่องจากความดันของอากาศในส่วนครึ่งบน
ขนาดของเส้นรอบวงที่แรงตึงผิวกระทำอยู่มีค่าเป็น
(กรณีที่รัศมีภายในกับภายนอกต่างกันน้อยมาก ๆ) ดังนั้นแรงตึงผิวของผิวภายในมีค่าเป็น
และแรงตึงผิวของผิวภายนอกมีค่าเป็น
ดังนั้นแรงตึงผิวสุทธิคือ
ความดันอากาศ(ภายใน)
ทำให้เกิดแรงกระทำในทิศลงกับพื้นที่หน้าตัด
ดังนั้นแรงเนื่องจากความดันอากาศภายในจึงเท่ากับ
เพื่อทำให้ฟองสบู่อยู่ในสภาวะสมดุล ผลรวมของแรงทั้งหมดต้องเท่ากับศูนย์
จะได้ว่า ขนาดของแรงตึงผิวสุทธิ = ขนาดของแรงเนื่องจากความดันอากาศ
ดังนี้
ในความเป็นจริง
ความดันภายนอกฟองสบู่ไม่เป็นศูนย์ สมการ (7-10) คือผลต่างระหว่างความดันภายนอกและภายในฟองสบู่
(ความดันเกจ) ดังนั้นถ้าความดันภายนอกฟองสบู่เท่ากับความดันบรรยากาศ
จะได้ว่า
(ฟองสบู่)
(7-11)
สำหรับหยดของเหลวจะมีผิวฟิล์มเพียงหนึ่งผิวเท่านั้น
(one surface film) ดังนั้นแรงตึงผิวสุทธิจึงมีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของฟองสบู่
คือ
ในสภาวะสมดุลผลต่างระหว่างความดันภายในหยดของเหลวกับความดันอากาศภายนอกจึงเป็น
(หยดของเหลว)
(7-12)
เมื่อขนาด(รัศมี)ของฟองสบู่หรือหยดของเหลวลดลง
ผลต่างของความดันภายในกับภายนอกจะมากขึ้น ดังนั้นเพื่อที่จะให้หยดน้ำเล็ก
ๆ (R เล็ก) ไหลผ่านเข้าไปตามรอยแยกเล็ก ๆ เช่นใยผ้า จะต้องลดผลต่างของความดันโดยอาจทำให้น้ำร้อนขึ้น
(เมื่อน้ำร้อนขึ้น ความตึงผิวของมันจะลดลง) หรือเติมสบู่เข้าไปในน้ำเพราะสบู่มีความตึงผิวน้อยกว่าน้ำ(ที่อุณหภูมิเดียวกัน)
UP
ปรากฏการณ์รูเล็ก (capillarity)
เมื่อรอยต่อระหว่างแก๊สกับของเหลว
(gas-liquid interface) สัมผัสกับผิวของของแข็ง เช่น ผนังของภาชนะ ดังแสดงในรูปที่
7-10 รอยต่อระหว่างแก๊สกับของเหลว ในบริเวณที่ใกล้กับผนังภาชนะจะโค้งขึ้นหรือไม่ก็โค้งลง
ส่วนโค้งซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างแก๊สกับของเหลว มีชื่อว่า meniscus มุม
ในรูปคือมุมระหว่าง meniscus กับผิวของของแข็ง เรียกมุมนี้ว่า มุมสัมผัส
(contact angle) ถ้า meniscus โค้งแบบหงายขึ้น เช่นรอยต่อของน้ำ-อากาศเมื่อสัมผัสกับแก้ว
มุม
จะน้อยกว่า
90
0 ถ้า meniscus โค้งแบบคว่ำลง เช่นรอยต่อของปรอท-อากาศเมื่อสัมผัสกับแก้ว
มุม
จะมากกว่า 90
0 กรณีแรกเกิดขึ้นถ้าของเหลว เปียก (wet)
ส่วนกรณีหลังเกิดขึ้นกับของเหลวที่ไม่เปียก
รูปที่ 7-10 ลักษณะของโค้งรอยต่อระหว่างแก๊สกับของเหลวเมื่อสัมผัสกับผิวของแข็ง
ข้อสังเกต:
ของเหลวที่เปียก โมเลกุลของของเหลว จะดึงดูดกันเองได้น้อยกว่า การดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลวกับโมเลกุลของของแข็ง
ที่ของเหลวนั้นสัมผัสอยู่ เช่นน้ำกับแก้ว ของเหลวนั้นจึง เปียก หรือติดอยู่กับของแข็งได้
ในทางตรงกันข้ามสำหรับของเหลวที่ไม่เปียก แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
ของของเหลวด้วยกันเอง จะมากกว่าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล ของของเหลวกับโมเลกุลของของแข็ง
เช่นปรอทกับแก้ว
รูปที่ 7-11 แสดงปรากฎการณ์หลอดรูเล็ก (ขนาดของหลอดในรูปขยายเกินจริง)
ความตึงผิวเป็นตัวการที่ทำให้ของเหลว
เปลี่ยนระดับขึ้นหรือลงในหลอดแก้วที่มีรูเล็กๆ (capillary tube) ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า
ปรากฏการณ์รูเล็ก (capillarity) เมื่อจุ่มหลอดแก้วที่มีรูเล็ก
ๆ ลงไปในของเหลวที่มีมุมสัมผัส
น้อยกว่า 90
0 (รูปที่ 7-11 ซ้ายมือ) ของเหลวจะเพิ่มระดับขึ้นไปในหลอดแก้วจนกระทั่งหยุดที่ตำแหน่งสมดุล
ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่แรงตึงผิวสุทธิที่ขอบของของเหลวที่สัมผัสกับหลอด
มีขนาดพอดีกับน้ำหนักของของเหลวที่อยู่ในหลอด (เหนือผิวของของเหลวภายนอกหลอด)
สำหรับของเหลวที่ไม่เปียก meniscus จะโค้งแบบคว่ำลง คือมุมสัมผัส
มากกว่า 90
0 (รูปที่ 7-11 ขวามือ) ผิวของของเหลว ภายในหลอดแก้ว
จะถูกดึงลงด้วยแรงตึงผิวจนกระทั่งหยุดที่ตำแหน่งสมดุล ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่แรงตึง
ผิวสุทธิที่ขอบของของเหลวที่สัมผัสกับหลอด มีขนาดพอดีกับแรงเนื่องจากความดันของน้ำภายในหลอด
ตัวอย่างที่ 7-6
จงแสดงว่าความสูงที่ของเหลวจะขึ้นไปได้ในหลอดรูเล็กคือ
เมื่อ
คือรัศมีภายในของหลอด
คือความหนาแน่นของของเหลว
คืออัตราเร่งเนื่องจากแรงโน้มถ่วง
คือความตึงผิวของของเหลว และ
คือมุมสัมผัสระหว่างผิวของของเหลวกับผนังหลอด
วิธีทำ
ที่สมดุล
น้ำหนักของของเหลวในหลอดต้องเท่ากับแรงตึงผิวสุทธิ
แรงดึงลงเนื่องจากน้ำหนักของเหลว
แรงดึงขึ้นเนื่องจากความตึงผิว
ที่ขอบของของเหลวภายในหลอด
คือผลคูณระหว่างแรงดึงขึ้นต่อหน่วยความยาวกับเส้นรอบวงภายในหลอด
แรงดึงขึ้นต่อหน่วยความยาวก็คือองค์ประกอบของความตึงผิวในแนวดิ่ง
ดังนั้น
จะได้
ดังนั้น
UP