ฮอร์โมน (hormone) มาจากภาษากรีกคือ hormao แปลว่ากระตุ้นหรือทำให้ตื่นเต้น การค้นพบฮอร์โมนเท่าที่มีการบันทึกไว้คือ

อาร์โนลด์ เอ. เบอร์โทลด์ (Arnold A. Berthold)

การทดลองของ ศาสตราจารย์ อาร์โนลด์ เอ. เบอร์โทลด์ (Professor Arnold A. Berthold (1803-1861) ที่เมืองก็อตทิงเก็น ซึ่งได้ทำการทดลองเกี่ยวกับไก่เพศผ ู้ในปีค.ศ. 1849 ในขณะที่เขาเป็นหัวหน้าผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์อยู่ โดยทำการทดลองดังนี้


ท่านได้ทำการทดลองเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อของไก่โดยแบ่งลูกไก่ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

 กลุ่มที่ 1 เป็นลูกไก่ปกติ ที่ปล่อยให้มีการเจริญเป็นไก่เพศผู้ตามปกติ

ก. ไก่เพศผู้ มีหงอน มีเหนียงคอยาว และหางยาว รักการต่อสู้
ข. ไก่เพศเมีย คือมีหงอน เหนียงและคอสั้น ขนหางสั้น และมีนิสัยไม่สู้กับไก่ตัวอื่น

 

 กลุ่มที่ 2 เป็นลูกไก่ที่ถูกตัดลูกอัณฑะออก แล้วติดตามสังเกตการเจริญเติบโตและลักษณะของลูกไก่

 กลุ่มที่ 3 เป็นลูกไก่ที่ถูกตัดลูกอัณฑะออก แต่นำอัณฑะของลูกไก่ตัวอื่น มาใส่ที่ในตำแหน่งใต้อัณฑะเดิม เล็กน้อย

 

กลุ่มที่ 1 ลูกไก่ที่เจริญเป็นไก่เพศผู้ปกติ

กลุ่มที่ 2 ลูกไก่เพศผู้ที่ถูกตัดอัณฑะออก

กลุ่มที่ 3 ลูกไก่เพศผู้ที่มีการปลูกอัณฑะให้ใหม่

 


จากการสังเกตการเจริญเติบโตของลูกไก่ทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า

 กลุ่มที่ 1 มีการเจริญเป็นไก่เพศผู้ตามปกติ คือมีหงอน เหนียง คอยาว ขนหางยาว และมีนิสัยรักการต่อสู้ ปราดเปรียว

กลุ่มที่ 2 มีลักษณะของลูกไก่เพศเมีย คือมีหงอน เหนียงและคอสั้น ขนหางสั้น และมีนิสัยไม่สู้กับไก่ตัวอื่น

กลุ่มที่ 3 มีเส้นเลือดมาเลี้ยงบริเวณอัณฑะที่ใส่แทนที่จำนวนมาก และเจริญต่อไปได้ และลูกไก่ มีลักษณะ การเจริญเติบโต เหมือนไก่เพศผู้ตามปกติ

 
จากผลการศึกษาดังกล่าวจึงสรุปได้ว่า การแสดงลักษณะเพศผู้ของลูกไก่ เกี่ยวข้องกับอัณฑะแน่นอนและไม่ได้ขึ้นกับโครโมโซมเพศผู้อย่างเดียวและผลการศึกษาในเวลาต่อมาพบว่าในร่างกายของคน สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังชั้นสูง และพืชสามารถผลิตสารเคมีที่เรียกว่า ฮอร์โมน ได้นั่นเอง