ฮอร์โมนมีทั้งสามารถเคลื่อนที่ไปในกระแสเลือดได้ด้วยตัวเอง
และต้องอาศัยตัวขนส่งพาไป โดยแบ่งได้ดังนี้
ฮอร์โมนที่ละลายในน้ำได้
(hydrophilic) ได้แก่ เปปไทด์ฮอร์โมน และเอมีนฮอร์โมน
สามารถไหลเวียน ไปในกระแสเลือด ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นน้ำได้โดยไม่ต้องจับกับโมเลกุลอื่น
ฮอร์โมนที่ไม่ละลายในน้ำ
(hydrophobic ) ได้แก่ สเตรอยด์ฮอร์โมนและไทรอยด์ฮอร์โมน
เมื่ออยู่ในกระแสเลือด ต้องจับกับโปรตีน เพื่อเป็นตัวพาฮอร์โมน
ไหลเวียนไปในกระแสเลือด (blood plasma) โปรตีนประเภทนี้ เรียกว่าโปรตีนขนส่ง
(transport protein) หรือตัวพา (carrier) เช่น
อัลบูมิน (albumin) หรือโกลบูลิน (globulin) ฮอร์โมนที่จับกับโปรตีนเรียกว่า
ฮอร์โมนที่ถูกจับไว้(bound hormone)
เป็นฮอร์โมนที่ยังทำงานไม่ได้
ซึ่งฮอร์โมนที่จะเข้าเซลล์หรือ จับกับตัวรับสัญญาณบนเยื่อเซลล์ได้
ก็ต่อเมื่อเป็นฮอร์โมนที่หลุดและเป็นอิสระจากโปรตีน หรือที่เรียกว่าฮอร์โมนอิสระ
(free hormone) ฮอร์โมนที่อยู่ในรูปอิสระในกระแสเลือดมีความเข้มข้นต่ำ
ประมาณร้อยละ 0.03 10 ของฮอร์โมนทั้งหมดเท่านั้น
|
ฮอร์โมนไทรอกซินต้องจับกับโปรตีนขนส่งจึงเคลื่อนที่ในกระแสเลือดได้
แล้วแยกจากโปรตีนเป็นอิสระเมื่อจะผ่านเข้าเยื่อหุ้มเซลล์
|
|