ได้มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดว่า ฮอร์โมนเป็นสัญญาณภายในเซลล์ ที่มีผลต่ออวัยวะอื่นหลายท่าน ได้แก่

โคลด แบร์นาร์ (Claude Bernard ค.ศ. 1813-1878 )

โคลด แบร์นาร์ ท่านได้เป็นผู้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับการหลั่งของสารภายในร่างกาย ( internal secretion) โดยการหลั่งของสารภายในร่างกาย ถูกควบคุมโดยบางส่วนของร่างกายเพื่อให้เกิด ความสมดุล ท่านเป็นผู้ที่ศึกษาการทำงานของตับทำให้ทราบว่านอกจากตับจะสร้างน้ำดี ซึ่งเป็นการหลั่งสาร ภายในท่อไปมีผลต่อการย่อยอาหารแล้ว ตับยังทำหน้าที่เก็บน้ำตาลกลูโคส(glucose) ในรูปของ ไกลโคเจน (glycogen) โดยตับจะเก็บน้ำตาลที่มีมากเกินไปไว้ใช้ได้ตลอดเวลา และพบว่าในช่วงเวลา ที่อดอาหาร ตับสามารถสร้างและปล่อยกลูโคสไปตามกระแสเลือด เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ ท่านชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการหลั่งสารเข้าสู่กระแสเลือด และการหลั่งของสารออกสู่นอก ร่างกาย (เช่น ต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน)

ฮอร์โมน มาจากภาษากรีกคือ hormao แปลว่ากระตุ้นหรือทำให้ตื่นเต้น โดยผู้ที่ใช้ศั พท์ นี้ ครั้งแรกคือ เออร์เนส เฮนรี สตาร์ลิง(Ernest Henry Starling)

เออร์เนส เฮนรี สตาร์ลิง

ท่านเป็นคนแรกที่ใช้ศัพท์ว่า “ ฮอร์โมน ” เมื่อท่านเป็นผู้บรรยายพิเศษเรื่อง The chemical correlation of the function of the body และเป็นผู้เสนอทฤษฎีที่ว่า มีสารเคมีที่หลั่งและเคลื่อนที่ ี่ไปตามกระแสเลือด และไปมีผลต่ออวัยวะเป้าหมาย ทำให้เราทราบว่าฮอร์โมนไม่ใช่เพียงทำหน้าที่ ในการเผาผลาญอาหารเท่านั้น ยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นด้วย

ในปีค.ศ. 1895 เอ็ดเวิร์ด เชเฟอร์ (Edward Schaefer) นักชีววิทยาชาวอังกฤษ ได้ศึกษาเพิ่มเติม เกี่ยวกับทฤษฎีการหลั่งของสารภายในร่างกาย โดยได้แสดงให้เห็นว่า ถ้าตัดตับอ่อนของสุนัขออก สุนัขจะเกิดอาการของโรคเบาหวาน และอาการจะหายไป เมื่อได้รับการ ปลูกถ่ายกลับคืน

ในปี ค.ศ. 1902 เออร์เนส เฮนรี สตาร์ลิง ได้ทำงานร่วมกับ เบย์ลิส (Bayliss) ค้นพบฮอร์โมน และสกัดให้บริสุทธิ์คือซีครีทิน (secretin) ท่านได้อธิบายว่า ซีครีทินเป็นสารที่หลั่งออกมาจาก ผนังของลำไส้เล็กส่วนต้น   กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยที่ตับอ่อน

จากแนวคิดเหล่านี้จึงสรุปได้ว่า ฮอร์โมนคือสารเคมีที่หลั่งออกจากเซลล์หนึ่ง ออกไปตาม กระแสโลหิต นำข่าวสารไปยังเซลล์อีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อบอกหรือสั่งให้เซลล์เป้าหมายนั้น เปลี่ยนแปลง กระบวนการทางชีวเคมีเพื่อตอบสนองต่อสภาวะแวดล้อมขณะนั้น

จากการค้นพบซีครีทินนำไปสู่การศึกษาวิจัยในระบบต่อมไร้ท่ออย่างจริงจัง