จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 71 – สาระน่ารู้ เรื่อง มารู้จัก SDGs กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กันเถอะ (ตอนที่ 2)

Newsletters

มารู้จัก SDGs กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กันเถอะ (ตอนที่ 2)

เรื่อง : อัจฉราพรรณ โพธิ์ทอง

        สวัสดีค่ะ ฉบับที่แล้วได้รู้จักกับเป้าหมาย 17 เป้าหมายของ SDGs ที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นแนวทางให้แต่ละประเทศดำเนินการร่วมกัน ไปเรียบร้อยแล้วนะคะ ฉบับนี้เราจะมารู้จักมิติด้านต่าง ๆ ของ SDGs หรือที่เรียกว่า  5 Ps ประกอบด้วย

People (มิติด้านสังคม): ให้ความสำคัญกับการขจัดปัญหาความยากจนและความหิวโหย และลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคม ประกอบด้วยเป้าหมาย     
                     – 1 การลดความยากจน

                     – 2 การขจัดความหิวโหย
                     – 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
                     – 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ
                     – 5 ความเท่าเทียมกันทางเพศ
มิติ Prosperity หรือกลุ่มด้านเศรษฐกิจและความมั่งคั่ง: ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและสอดคล้องกับธรรมชาติ ประกอบด้วยเป้าหมาย
                     – 7 พลังงานที่สะอาดและจ่ายซื้อได้
                     – 8 งานที่มีคุณค่าและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
                     – 9 อุตสาหกรรม นวัตกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน
                     – 10 ลดความเหลื่อมล้ำ
                     – 11 เมืองและชุมชนยั่งยืน
มิติ Planet หรือกลุ่มด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: ให้ความสำคัญกับการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศเพื่อพลเมืองโลกรุ่นต่อไป ประกอบด้วย เป้าหมาย
                     – 6 น้ำและสุขาภิบาล
                     – 12 การผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบและยั่งยืน
                     – 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

                     – 14 ระบบนิเวศทางทะเลและมหาสมุทร
                     – 15 ระบบนิเวศบนบก
มิติ Peace หรือกลุ่มด้านสันติภาพ: ยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีสังคมที่สงบสุข และไม่แบ่งแยก ประกอบด้วยเป้าหมาย
                     – 16 สันติภาพและสถาบันที่เข้มแข็ง

มิติ Partnership หรือกลุ่มหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา: ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วยเป้าหมาย
                      – 17 หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

          SDGs นอกจากจะเป็นแนวทางพื้นฐานในการวางแผนการพัฒนาของประเทศในระดับชาติแล้ว ยังเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นการปรับปรุงคุณภาพชีวิต การสะท้อนถึงความมั่นใจในการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคุมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก โดยเน้นความเสมอภาค, ความยั่งยืน, ความหลากหลายทางชีวภาพ และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนการนำประโยชน์ของ SDGs ไปใช้นั้น ต้องคำนึงถึงการเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาล (good governance) และหลักนิติธรรม (rule of law) เป็นวิธีการ นําไปสู่การพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านได้เข้าใจถึงความหมายและหลักการได้มากขึ้น และสามารถนำไปปรับใช้ให้ตรงกับบริบทของหน่วยงานได้

ที่มา
สยาม อรุณศรมรกต และ ยงยุทธ วัชรดุล (2559)  เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(3), 1-7 .
https://www.thairath.co.th/news/sustainable/2722753   สืบค้น ณ วันที่ 18 กันยายน 2566
https://pridi.or.th/th/content/2022/05/1081   สืบค้น ณ วันที่ 18 กันยายน 2566

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (No Ratings Yet)
Loading…
Views : 24 views