จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 76 – นวัตกรรมจากสถาบัน เรื่อง การแปลงคำพูดภาษาไทยเป็นทางคณิตศาสตร์

Newsletters

การแปลงคำพูดภาษาไทยเป็นทางคณิตศาสตร์

เรื่อง : ผศ.ดร.วรารัตน์ วงศ์เกี่ย , เอกวัจน์ เชาว์วิชารัตน์

           ต้นแบบระบบแปลงคำพูดภาษาไทยเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อช่วยให้บุคคลทั่วไปสามารถสร้างสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้จากเสียงพูดภาษาไทยโดยตรง ซึ่งสามารถสร้างสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้หลากหลาย ตั้งแต่สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แบบพื้นฐาน เช่น  จนถึงสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น  ระบบนี้ทำงานโดยใช้กฎการพูดสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (รูปที่ 1) ซึ่งใช้กฎการพูด 2 รูปแบบ อันได้แก่ การเว้นช่วงคำพูด (Pause) และการใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์เดิมซ้ำ (Reuse of a Previous Expression) สำหรับการเว้นช่วงคำพูดนั้น จะถูกใช้เพื่อลดการพูดวงเล็บซ้ำหลายครั้ง แต่อย่างไรก็ตาม กฎการพูดรูปแบบนี้ยังไม่สามารถแก้ปัญหาสำหรับสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน เพราะขอบเขตของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ยังมีความคลุมเครือจากการพูด และจากแนวคิดที่ว่าสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนนั้นมาจากการรวมตัวกันของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์แบบพื้นฐาน คณะผู้วิจัยจึงได้ออกแบบกฎการพูดโดยให้ระบบนำสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ได้สร้างไว้แล้วจากเสียงพูดเดิมที่ทำการบันทึกไว้มาใช้ซ้ำ (Reuse of a Previous Expression)

รูปที่ 1 กฎการพูดสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์

        ในขั้นของการรู้จำคำพูดนั้น คณะผู้วิจัยใช้ระบบรู้จำเสียงพูดของ Google ซึ่งสามารถรู้จำเสียงภาษาไทยได้ดี แต่ความถูกต้องยังไม่สมบูรณ์นักสำหรับคำที่ใช้ในการพูดสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ และในกรณีที่ระบบรู้จำให้คำภาษาไทยที่ไม่ถูกต้อง คำนั้นจะถูกแทนที่ด้วยคำที่มักรู้จำผิด (Commonly Misrecognized Word) ที่บันทึกสถิติไว้ใน Confusion Matrix เพื่อเพิ่มความถูกต้องของการรู้จำเสียงภาษาไทยที่เป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์โดยเฉพาะ
        ในการนำเสนอทางเลือกสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่เป็นผลลัพธ์ให้แก่ผู้ใช้นั้น ระบบจะจัดอันดับและนำเสนอสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์สามลำดับแรกให้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้ (รูปที่ 2) เมื่อผู้ใช้เลือกสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการแล้ว ระบบจะสร้างลำดับการพิมพ์อัตโนมัติของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์นั้นสำหรับใช้งานกับ Microsoft Office ซึ่งสามารถใช้กับโปรแกรม Microsoft Office ใดก็ได้ ในการประเมินประสิทธิภาพของระบบแปลงคำพูดภาษาไทยเป็นสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ คณะผู้วิจัยจะตรวจสอบความถูกต้องของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นจากเสียงพูดและการใช้งานของส่วนติดต่อผู้ใช้ (User interface) ต่อไป

รูปที่ 2 สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์สามลำดับแรกเป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้

 

ที่มา: Wongkia, W., & Chaowicharat, E.* (2024, January 26–28). Thai speech to mathematical expressions. In Proceedings of the Eurasian Conference on Educational Innovation 2024 (ECEI 2024), Bangkok, Thailand, p. 345–350, doi: 10.1109/ECEI60433.2024.10510826.

สารบัญ

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (No Ratings Yet)
Loading…
Views : 8 views