How to สร้าง character จาก AI ให้หน้าตาไม่เปลี่ยน
เรื่อง : อัยย์ เก่งสุรการ
ในยุคนี้ใคร ๆ ก็ใช้ AI ในการ generate ภาพ แต่ถ้าเราอยาก generate ภาพ character เดิมในอิริยาบถต่าง ๆ เรามักจะพบปัญหาอย่างหนึ่งคือ ถึงแม้เราจะเขียน prompt อธิบายลักษณะของ character เหมือนเดิมทุกตัวอักษร แต่ character ที่ออกมาก็จะมีหน้าตาที่ต่างออกไป อย่างกับคนละคน เช่น เราเขียน prompt ว่า “Asian boy, brown short hair, playing football” เราก็จะได้ภาพเด็กผู้ชายเอเชียผมสั้นสีน้ำตาลกำลังเล่นฟุตบอล แล้วถ้าเราเขียนทุกอย่างเหมือนเดิม แต่แค่เปลี่ยนจาก “playing football” เป็น “dancing” เราก็จะได้ภาพเด็กผู้ชายเอเชียผมสั้นสีน้ำตาลกำลังเต้น แต่เด็กผู้ชายคนที่เล่นฟุตบอล กับคนที่กำลังเต้น หน้าตาเหมือนเป็นเด็กคนละคน
วิธีที่จะทำให้เป็นรูปของเด็กคนเดียวกันในทุก ๆ ครั้งที่ generate ภาพ ให้เราเข้าไปที่ www.chatgpt.com แล้วเลือก Explore GPTs
จากนั้นเราก็ search ว่า consistent character แล้วคลิกเลือกตามภาพ
เมื่อปรากฏหน้าต่างนี้ขึ้นมา ให้เราเลือก start chat
จากนั้นเราก็กด “CLICK HERE to start creating character designs!”
จากนั้น Consistent Character GPT จะเป็นฝ่ายถามเราว่าเราอยากให้ character เป็นเพศอะไร ให้เราตั้งชื่อ กำหนดรูปลักษณ์ ท่าทาง
เพียงเท่านี้ ไม่ว่า character ของเราจะเล่นฟุตบอล หรือเต้น หรือทำอะไร เราก็จะได้ character ที่หน้าตาคล้ายเดิมเหมือนเป็นคนเดียวกัน
- หน้าแรก
- EDITOR’S NOTE
- ศึกษาปริทัศน์ : การใช้โซเชียลมีเดียในการเรียนรู้และการสื่อสาร: วิเคราะห์ประโยชน์และข้อควรระวังของการใช้โซเชียลมีเดียในการเรียนรู้
- นวัตกรรมจากสถาบัน : การแปลงคำพูดภาษาไทยเป็นทางคณิตศาสตร์
- นวัตกรรมจากสถาบัน : การสำรวจประสบการณ์การเรียนรู้ด้านวิธีการฉีดยาเด็กในกลุ่มพยาบาลวิชาชีพและนักศึกษาพยาบาลโดยใช้แนวทางการคิดเชิงออกแบบ
- สาระน่ารู้ : ถอดบทเรียนเรื่อง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์บน Google Workspace (ตอน 2)
- สาระน่ารู้ : ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตีพิมพ์ผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ
- สาระน่ารู้ : How to สร้าง character จาก AI ให้หน้าตาไม่เปลี่ยน
- สาระน่ารู้ : Prompt Engineering with Colab and Groq การเขียนคำสั่ง PROMPT ด้วย COLAB,GROQ จาก GOOGLE
- สาระน่ารู้ : การปฏิบัติต่อความสุข
- สาระน่ารู้ : การใช้เทคโนโลยี AI กับสังคมผู้สูงอายุในประเทศไทย
- สาระน่ารู้ : รู้จักกับโมเดลภาษาขนาดเล็ก – Small Language Model (SLM)
- สาระน่ารู้ : รายวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหิดลแตกต่างจากที่อื่นอย่างไร
- สาระน่ารู้ : การปรับเครื่องเสียงสำหรับห้องเรียนห้องประชุมเบื้องต้น
เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน




