การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัย (BJTDT) เพื่อสำรวจความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของและการประยุกต์ใช้งานทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ (BJT) ของนักศึกษาเมียนมาร์ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
เรื่อง : Myat Noe Khin, รศ.ดร.สุุชัย นพรัตน์แจ่มจำรัส, ผศ.ดร.รัชภาคย์ จิตต์อารี, รศ.ดร.ทัศนียา รัตนฤาทัย นพรัตน์แจ่มจำรัส
ทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ (BJT) และการทำงานของทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์เป็นแนวคิดพื้นฐานสำหรับการทำความเข้าใจเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม) ตรรกะของทรานซิสเตอร์-ทรานซิสเตอร์ (TTL) สวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ และการขยายสัญญาณในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ การวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่านักศึกษาวิศวกรรมที่ไม่ใช่สาขาวิชาเอก คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ และวิศวกรรมไฟฟ้าไม่สามารถเข้าใจแนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ บทความนี้อธิบายถึงการพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยแบบสองชั้น การบริหารแบบทดสอบ ข้อจำกัด บริบทโดยละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง และข้อค้นพบจากการศึกษาที่สำรวจความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงาน และการประยุกต์ใช้งานทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ของนักศึกษาเมียนมาร์และไทย ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาเมียนมาร์และไทยจำนวนมากมีมโนมติทางเลือกที่เหมือนกันว่าการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์เหมือนกับการการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงอย่างง่าย นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังพบมโนมติทางเลือกบางประการแตกต่างจากการวิจัยของผู้วิจัยท่านอื่น ๆ เช่น ก) กระแสคอลเลคเตอร์ไม่ขึ้นอยู่กับกระแสเบสในโหมด cut-off และ ข) การเปลี่ยนกระแสคอลเลคเตอร์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกระแสเบสในโหมดแอคทีฟ แต่ขึ้นอยู่กับแรงดันคอลเลคเตอร์
ข้อมูลและเครื่องมือที่ได้จากงานวิจัยนี้ช่วยให้อาจารย์ที่สอนนักศึกษาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมไฟฟ้า หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มีแนวทางในการสำรวจความเข้าใจก่อนและหลังเรียนของนักศึกษา ในหัวข้อหลักการทำงานและการประยุกต์ใช้งานทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์
ที่มา/ Source: อ้างอิง
Khin, M. N., Nopparatjamjomras, S., Chittaree, R., & Nopparatjamjomras, T. R. (n.d.). Development of the Bipolar Junction Transistor Diagnostic Test (BJTDT) to explore the second-year undergraduate Myanmar electronic and Thai electrical engineering students’ understanding of BJT working principles and applications. Australasian Journal of Engineering Education, 1–18. https://doi.org/10.1080/22054952.2024.2347792
- หน้าแรก
- EDITOR’S NOTE
- ศึกษาปริทัศน์ : แนวทางการแก้ไขการเสพติดเทคโนโลยีและลดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- นวัตกรรมจากสถาบัน : เรื่อง การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัย (BJTDT) เพื่อสำรวจความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของและการประยุกต์ใช้งานทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ (BJT) ของนักศึกษาเมียนมาร์ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
- นวัตกรรมจากสถาบัน : เรื่อง การเตรียมอนุภาคนาโนซิงก์ออกไซด์ที่ถูกโดปด้วยทองแดง (CZO) และอิมัลชันโคพอลิเมอร์อะคริลิก CZO กับโพลีไวนิลไพร์โรลิโดน (PVP) สำหรับเคลือบพื้นผิวกระจกเพื่อคุณสมบัติทางแสง
- สาระน่ารู้ : 11 เคล็ดลับการค้นหา Google ขั้นเทพ
- สาระน่ารู้ : การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ด้วยงานวิจัย
- สาระน่ารู้ : โรคสมองเสื่อม
- สาระน่ารู้ : Deepseek ปะทะกับ ChatGPT
- สาระน่ารู้ : แนวคิดดีดีที่ได้จากการเข้าฟัง ปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์กษาน จาติกวนิช ครั้งที่ 13 เรื่อง “Nan Sandbox” โดย คุณบัณฑูร ล่ำซำ
- สาระน่ารู้ : แผ่นดินยังสะเทือน เมื่อพุทธะปรากฏ!
- สาระน่ารู้ : Gamma: ตัวช่วยสร้างพรีเซนเทชั่นสุดอัจฉริยะ
- สาระน่ารู้ : การเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านกิจกรรม STEM กับพัฒนาการด้าน Soft Skills ของเด็กในยุค Gen Z
เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน




