Forum

การนำนวัตกรรมเกษตรอ...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

การนำนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะมาใช้ในการศึกษาการเจริญเติบโต ของหน่อไม้ฝรั่งเพื่อพัฒนาการเกษตรไทยยุคดิจิทัล

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
279 เข้าชม
(@manatsawee-srinont)
Reputable Member
เข้าร่วม: 5 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 111
หัวข้อเริ่มต้น  

โดย ดร.ติณณภพ แพงผม  และ ดร.จิระศักดิ์ พุกดำ

     ในปัจจุบันอุตสาหกรรมในหลายๆ ด้านได้นำชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ มาช่วยทำให้การผลิตเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานมากขึ้น รวมทั้งการนำเซนเซอร์มาช่วยทำให้เกิดระบบที่สามารถประเมินผลและควบคุมตนเองได้ ด้วยการส่งและรับข้อมูลต่าง ๆ จากทุกสิ่งที่เชื่อมต่อเข้าหากัน ซึ่งในปัจจุบันที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ก็คือ “อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” หรือ IoT (Internet of Things) [1,2] ผู้เขียนบทความได้นำความรู้ทางด้านอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมาใช้ร่วมกับการทำการเกษตรจึงเกิดนวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะต้นแบบในการเพาะพืชในโรงเรือนขึ้น ซึ่งกรณีศึกษาที่ได้ทำการวิจัยคือ การเพาะปลูกหน่อไม้ฝรั่งในโรงเรือนกด้วยระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ดังแสดงในรูปที่ 1

 

 

     รูปที่ 1 แสดงแผนผังระบบของโรงเรือนอัจฉริยะต้นแบบที่ผู้เขียนบทความได้ติดตั้งเพื่อใช้ทดสอบการเจริญเติบโตของหน่อไม้ฝรั่งให้กับชุมชน ระบบการควบคุมการเพาะปลูกเป็นการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเซนเซอร์ร่วมกันโดยระบบนี้จะทำการเพาะปลูกพืชไว้ในโรงเรือน โดยจะมีการควบคุมภายในโรงเรือนโดยใช้ระบบเซนเซอร์ตรวจวัด เช่น ตรวจวัดความสมบูรณ์ของปุ๋ย ตรวจวัดระดับของแสง ตรวจวัดอุณหภูมิ ตรวจวัดความชื้น ตรวจวัดค่า PH ในดิน และ real-time กล้อง CCTV เพื่อการมองภาพภายในโรงเรือนได้ได้ตลอดเวลา โดยค่าที่ตรวจสอบทั้งหมดจะส่งข้อมูลไปยัง บอร์ด Arduino (Control terminal) และส่งไปแสดงผลทางหน้าจอมือถือของเกษตรจังหวัดนครปฐมเพื่อให้ผู้ที่รับข้อมูลตัดสินใจ เช่น เพิ่มปุ๋ย เพิ่มน้ำ เพิ่มกรด-เบสในดิน หรือลดอุณหภูมิในโรงเรือน นอกจากนี้ระบบสามารถเขียนโปรแกรมให้ตัดสินใจโดยอัตโนมัติ (Smart automation) เองได้โดยไม่ต้องมีผู้ที่รับข้อมูลตัดสินใจ ผู้เขียนบทความได้ทำการทดสอบโดยใช้ระบบอัตโนมัติอัจฉริยะในช่วงเดือนมีนาคม 2562 และเดือนเมษายน 2562 [3] ซึ่งเป็นช่วงที่หน่อไม้ฝรั่งของเกษตรกรที่ร่วมวิจัยสามารถเก็บผลผลิตได้และจะมีการพักต้นในเดือนพฤษภาคม 2562 การเพาะปลูกในโรงเรือนระบบอัตโนมัตินั้นมีการระบบเซนเซอร์ตรวจวัดดังแสดงในรูปที่ 7 ระบบเซนเซอร์ไร้สายขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ 330 วัตต์ 4 แผง....อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://il.mahidol.ac.th/th/newsletter60-page-5/


   
อ้างอิง

ทิ้งคำตอบไว้

ชื่อผู้แต่ง

อีเมลผู้เขียน

ตำแหน่ง *

 
ดูตัวอย่าง แก้ไข 0 ครั้ง บันทึกแล้ว
แบ่งปัน:
1,233,296 views since 16 August 2018