Forum

การใช้เทคโนโลยีในกา...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

การใช้เทคโนโลยีในการช่วยตัดสินกีฬาระดับนานาชาติ กรณีศึกษา Volleyball Nations League (VNL)

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
1,814 เข้าชม
(@woranart)
Active Member
เข้าร่วม: 2 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 3
หัวข้อเริ่มต้น  

             ในปัจจุบัน กีฬาที่มีผู้ชมจำนวนมากในประเทศไทย คงต้องมีหลายๆ คน นึกถึง วอลเลย์บอลหญิง ซึ่งเราติดอันดับ อยู่ ใน 20  ทีมของโลก รวมถึงเป็นแชมป์ ในระดับภูมิภาค เช่น  SEA game ซึ่งกีฬาวอลเลย์บอลหญิงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในระดับนานาชาติ บ่อยๆ เช่น FIVB Volleyball  Women's  Nations League  20231   เป็นการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงระดับนานาชาติประจำปี ซึ่งจัดแข่งในหลายรอบ หลายสนามด้วยกัน ปีนี้ การแข่งขันจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 ซึ่งประเทศไทยเองเป็นเจ้าภาพ ใน สนามที่ 3

การใช้กล้องติดตามวัตถุที่ตั้งอยู่รอบสนาม กล้องจะคอยติดตามลูกบอลและผู้เล่นเพื่อรวบรวมข้อมูลอย่างละเอียดพลวัตของการแข่งขันและการทำแต้ม เช่นในกีฬาโอลิมปิค 2020 วอลเล่ย์บอลชายหาด มีเทคโนโลยีจาก OMEGA 2 จะคอยคำนวนรัศมีที่ผู้เล่นแต่ละรายครอบคลุม ความเร็วของผู้เล่นและลูกบอล เทคนิคเฉพาะตัว  รวมถึงจำนวนครั้งการกระโดดและความสูง เช่นเดียวกับชนิดของการช็อต ตั้งแต่การสแมช บล็อก และลูกตบเหนือศีรษะ ซึ่งเมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน จะแปลผลสรุปในเกม การนับจำนวนลูกที่ทำได้ ปรากฏผลคะแนนเป็นแต้มของผู้เล่นแต่ละคนในแต่ละแบบ :ซึ่ง วอลเลย์บอลระดับนานาชาติใช้หลักการเดียวกัน ทำให้ ผู้ฝึกซ้อม ปรับ แก้เกมส์ฝ่ายตรงข้ามได้สนุกสนานเข้มข้นขึ้น ในสนามนานาชาติ มีการสรุปผลและมอบรางวัลผู้เล่นดีเด่นซึ่งสามารถระบุตำแหน่ง เช่น best setter มือเซ็ตยอดเยี่ยม ซึ่ง ประเทศไทยเอง มีผู้เคยได้รับรางวัลนี้เช่น คุณ นุศรา ต้อมคำ ซึ่งสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศในวงการวอลลเล่ย์บอลระดับนานาชาติ

            นับแต่อดีตที่ผ่านมา  ในการแข่งขันกีฬาจะมีการใช้  เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการแข่งขันกีฬามีมากมายหลายรูปแบบ เช่น กีฬาฟุตบอล3 จะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า VAR หรือ Video Assistant Referees  ซึ่งนำมาใช้ใน 4 กรณีคือ (1) ลูกเตะนั้นเป็นประตูหรือไม่ได้ประตู เพื่อย้อนดูเหตุการณ์ก่อนที่บอลจะเข้าประตู (2) นักเตะทำผิดกติกาและควรได้รับโทษหรือไม่ (3) ผู้เล่นสมควรได้รับใบแดงไหม ในกรณีผิดกติการ้ายแรง และ (4) หลักฐานเชิงประจักษ์ที่ช่วยชี้มูลความผิดกีฬา

            กีฬาวอลเลย์บอล4 จะมีบางลูกที่ยากในการตัดสิน เช่นลูกปลายเส้น กรรมการอาจเห็นไม่ชัด ไม่แน่ใจว่าออกหรือไม่ออก หรือกรรมการกำกับเส้นตัดสินใจยาก หรือเห็นต่างกับกรรมการตัดสินที่ 1 หรือเห็นต่างจากผู้แข่งขัน จะให้สิทธิ์ผู้ตัดสินหลักตัดสินใจ  กีฬาวอลเลย์บอล จึงได้นำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาสู่การแข่งขัน ด้วย ระบบภาพช้า (Challenge System) ที่จะช่วยการตัดสินให้เที่ยงตรง เป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งภาพวิดีโอที่สามารถย้อนดูได้ จะมีทั้งแบบที่เป็นภาพจริงและภาพจำลอง ขยายเฉพาะส่วน โดยสามารถเลือกมุมมองจากกล้องหลายๆตัว ให้เห็นชัดเจน เพื่อช่วยตัดสินใจ เช่นลูกบอลตกทับเส้นหรือไม่  ซึ่งทำให้ลดข้อผิดพลาด ความเห็นขัดแย้ง และอาจลดแรงกดดันของกรรมการได้อีกด้วย

หลักการขอดูระบบภาพช้า กรณีที่กรรมการตัดสินแล้วทีมมีข้อสงสัย

  1. ร้องขอได้ 2 ครั้งต่อเซ็ท หากทีมร้องขอเป็นฝ่ายถูกจะไม่เสียสิทธิการร้องขอ หากกรรมการถูกจะเสียสิทธิ์ 1 ครั้ง

2.กัปตันของทีมเป็นผู้ร้องขอ ภายใน 5 วินาทีหลังตัดสินต่อเซ็ท

3.กรรมการคนที่หนึ่ง(ผู้ตัดสินหลัก) จะสามารถเรียกขอดูวิดีโอกี่ครั้งก็ได้

  1. ร้องขอได้ในกรณีดังต่อไปนี้

 -ตำแหน่งที่ลูกสัมผัสพื้นในหรือนอกเส้น

-บอลโดนเสาอากาศ-นักกีฬาสัมผัสเสาอากาศหรือเน็ต

-นักกีฬาเหยียบเส้นขณะเสิร์ฟ, เหยียบเส้นสามเมตรเมื่อตบจากแดนหลัง หรือยื่นเท้าออกมาเกินเส้นแดนของฝ่ายตน

-ตำแหน่งเท้าของลิเบอโร่ขณะรับลูก

  1. กรรมการตัดสินคนที่หนึ่งมีสิทธิปฏิเสธการร้องขอ
  2. ขณะดูวิดีโอ นักกีฬาทั้งสองทีมต้องยืนอยู่ในสนาม
  3. กรรมการตัดสินคนที่สองมีหน้าที่ออกจากสนามเพื่อดูภาพช้า ภาพต้องถูกนำขึ้นจอให้ทั้งสองทีมและผู้ชมเห็น
  4. หลังจากดูภาพวิดิโอซ้ำ กรรมการคนที่สองจะส่งสัญญาณให้กรรมการคนที่หนึ่งว่าใครได้แต้ม

9.กรณีที่ดูภาพช้าแล้วไม่สามารถตัดสินแต้มนั้นได้ คำตัดสินของกรรมการที่หนึ่งถือว่าเป็นอันสิ้นสุดโ ดยทีมที่ร้องขอไม่เสียสิทธิ

1 https://th.wikipedia.org/wiki/วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก_2023

2 https://www.ana-digi.com/omegaolympic-2020/

3 https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/119946

4 https://sport.trueid.net/detail/eWRJWRAJg0X

 


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,421,920 views since 16 August 2018