Forum

ชุดทดสอบไอคิทกับการ...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ชุดทดสอบไอคิทกับการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้คุณภาพ

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
737 เข้าชม
(@jiraporn-karaket)
Eminent Member
เข้าร่วม: 5 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 8
หัวข้อเริ่มต้น  

ชุดทดสอบไอคิทกับการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่ได้คุณภาพ

ในปัจจุบันการบริโภคอาหารของคนไทยมีการควบคุมปริมาณการใช้โซเดียมกันมากขึ้น สังเกตได้จากคำขวัญการรณรงค์วันไอโอดีนแห่งชาติ "กินเค็มพอดี ต้องมีไอโอดีน" เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนหันมาลดบริโภคเค็ม แต่เมื่อเราลดปริมาณการรับประทานเค็มแล้ว จะทำอย่างไรให้ได้รับประทานเกลือที่มีคุณภาพ มีปริมาณสารไอโอดีนเหมาะสมตามที่กรมอนามัยกำหนด ซึ่งหนึ่งในวิธีตรวจสอบเกลือบริโภคที่ง่ายที่สุดก็คือ ก่อนซื้อควรอ่านฉลากข้างสินค้าเกลือบริโภคชนิดนั้น ๆ ว่ามีการเสริมสารไอโอดีนแล้วหรือยัง ซึ่งสะดวกสำหรับผู้บริโภคที่อยู่ในชุมชนเมืองที่มีร้านสะดวกซื้อให้เลือกซื้อเกลือบริโภคได้หลากหลายยี่ห้อ แต่สำหรับบางชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลมักจะเลือกบริโภคเกลือได้แค่บางชนิดและแต่ละชนิดก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีปริมาณสารไอโอดีนที่เหมาะสมต่อการบริโภคเพียงพอรึป่าว ซึ่งในปัจจุบันการตรวจปริมาณสารไอโอดีนในเกลือบริโภคสามารถทำได้ง่าย ๆ ได้ด้วยตัวเอง นั่นคือ ชุดทดสอบไอโอเดทในเกลือเสริมไอโอดีน (I-Kit) หรือที่เรียกกันว่า ชุดไอคิท https://il.mahidol.ac.th/th/product-i-kit/ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชุดทดสอบที่จำหน่ายให้กับหน่วยงานราชการ สาธารณสุข อสม. และประชาชนที่สนใจ โดยผลิตขึ้นจากงานวิจัยของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับใช้ทดสอบปริมาณสารไอโอดีนที่พบในเกลือบริโภคว่าได้มาตรฐานหรือไม่ และเพื่อให้สามารถผ่านเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 90 ซึ่งต้องเฝ้าระวังโดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังมีปัญหาเรื่องการขาดสารไอโอดีน ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เปราะบาง มี 2 ประเด็นคือ พื้นที่กายภาพเข้าถึงเกลือไอโอดีน เดิมอยู่แถบภาคเหนือและอีสาน ปัจจุบันดีขึ้นตามลำดับ พื้นที่ความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม เช่น ภาคใต้ริมทะเล มักเชื่อว่าไม่ขาดไอโอดีน จริงๆ แต่จากการสำรวจหลายพื้นที่ ประชาชนส่วนหนึ่งก็ยังขาดไอโอดีน จึงต้องรุกเข้าไปสร้างทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภค สร้างการเข้าถึง ส่วนการเฝ้าระวังว่าพื้นที่ไหนขาดสารไอโอดีน ทำได้จาก 3 ส่วนคือ เฝ้าระวังในหญิงตั้งครรภ์ ถ้าปัสสาวะมีไอโอดีนต่ำจะสะท้อนว่าพื้นที่นั้นคนอาจขาดสารไอโอดีน สุ่มตรวจเกลือไอโอดีนในร้านค้าและชุมชน โดย อย.ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถ้าต่ำก็อาจมีปัญหา และการเฝ้าระวังโรคสำคัญ ซึ่งโรคคอพอกหายไป แต่ที่สัมพันธ์กันคือ พื้นที่ไอคิวดีมักไม่ค่อยขาดสารไอโอดีน

หลายคนรู้ดีอยู่แล้วว่าภาวะขาดไอโอดีนทำให้เกิดโรคคอพอก แต่โดยส่วนมากยังขาดความเข้าใจในประเด็นสำคัญอยู่ นั่นก็คือความบกพร่องทางเชาว์ปัญญา ซึ่งมีสาเหตุสำคัญมาจากการขาดไอโอดีนเช่นกัน อีกทั้งยังสำคัญที่สุด เนื่องจากอาจส่งผลต่อภาวะพิการทางสมองต่อทารกในครรภ์ได้อีกด้วย
 

สิ่งสำคัญที่จะได้รับผลกระทบต่อการขาดสารไอโอดีนมากที่สุด คือ ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดา เพราะฉะนั้นสตรีมีภรรค์จึงเป็นกลุ่มคนสำคัญที่จะต้องมีโภชนาการและไอโอดีนที่เพียงพอ และอีกวัยหนึ่งคือหญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะเป็นวัยที่พร้อมจะตั้งครรภ์และก่อนที่จะตั้งครรภ์ควรมั่นใจว่าได้รับโภชนาการและไอโอดีนที่เพียงพอแล้วจากการรับประทาน ดังนั้นจึงควรรณรงค์อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนสามารถขาดสารไอโอดีนได้ตลอดเวลา ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เพียงพอ

วิธีการป้องกันการขาดสารไอโอดีน

  • รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนทุกวัน เช่น อาหารทะเล สาหร่ายทะเล หรือพืชริมทะเล
  • ใช้เครื่องปรุงรสที่เสริมไอโอดีนในปริมาณที่เหมาะสมเป็นประจำ
  • ก่อนซื้อเกลือบริโภคให้อ่านฉลากที่มีเลขสารบบอาหาร ในกรอบเครื่องหมาย อย. และระบุคำว่า “เสริมไอโอดีน”
  • รู้แล้วบอกต่อ “คนเราต้องการสารไอโอดีน 100-300 ไมโครกรัมต่อวัน แม้ต้องการไม่มากแต่ก็ขาดไม่ได้”

 

อ้างอิง :

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล , สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ( อย. )

https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG 220624201447216


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,395,428 views since 16 August 2018