ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนว่า ภ.ง.ด. นั้นย่อมาจาก ภาษีเงินได้ ซึ่งผู้ที่มีเงิน ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดา อย่างพวกมนุษย์เงินเดือน พวกที่ประกอบอาชีพอิสระ หรือ แม้กระทั่ง นิติบุคคล ก็ต้องยื่นภาษีกันทั้งนั้น สรุปทุกคนที่มีรายได้ มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ แต่ในการยื่นภาษีของแต่ละคน ก็ใช้กันคนละแบบฟอร์ม ซึ่งวันนี้จะมานำเสนอ แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. ที่ กรมสรรพากร กำหนด ไว้ใช้สำหรับการยื่นภาษีกันค่ะ
ประเภทแบบ ภ.ง.ด.ที่ กรมสรรพากรให้ใช้ สำหรับการยื่นภาษีเงินได้ 2 ประเภท คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรรมดา และแบบแสดงรายการภาษีเงินได้เงินได้นิติบุคคล ซึ่งใน 2 ประเภทนี้ ก็มีแบบฟอร์มให้เลือกใช้ตามประเภทของเงินได้ และมีข้อกำหนดว่าต้องยื่นภายในเมื่อไหร่ ดังต่อไปนี้
- แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรรมดา มี 6 แบบฟอร์มดังนี้
ชื่อย่อ |
ชื่อเต็ม |
ระยะเวลาในการยื่นภาษี |
ภ.ง.ด. 90 |
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้ กรณีทั่วไป |
ม.ค. - มี.ค. ของปีถัดไป |
ภ.ง.ด. 91 |
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้มีเงินได้จากการจ้างแรงงานตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากรประเภทเดียว |
ม.ค. - มี.ค. ของปีถัดไป |
ภ.ง.ด. 92 |
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จากการจ้างแรงงานตาม มาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร (ผู้จ่ายเงินได้ประสงค์จะยื่นให้แก่พนักงานด้วยสื่อบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์) |
ม.ค. - มี.ค. ของปีถัดไป |
ภ.ง.ด. 93 |
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับใช้ยื่นก่อนถึงกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ |
ภายในเดือน ธ.ค. ของปีที่ได้รับ เงินได้พึงประเมิน |
ภ.ง.ด. 94 |
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีสำหรับผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (5) (6) (7) (8) แห่งประมวลรัษฎากร |
ก.ค. - ก.ย. ของปีที่ได้รับเงินได้พึงประเมิน |
ภ.ง.ด. 95 |
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
ม.ค. - มี.ค. ของปีถัดไป |
- แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล มี 5 แบบฟอร์มดังนี้
ชื่อย่อ |
ชื่อเต็ม |
ระยะเวลาในการยื่นภาษี |
ภ.ง.ด. 50 |
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร |
ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี |
ภ.ง.ด. 51 |
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามมาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร |
ภายใน 2 เดือนนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชี |
ภ.ง.ด. 52 |
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะกิจการขนส่งผ่านประเทศต่างๆ ตามมาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร |
ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี |
ภ.ง.ด. 54 |
แบบยื่นรายงานนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคล และการจำหน่ายเงินกำไร ตามมาตรา 70 และตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร |
ยื่นรายการและนำส่งภาษีภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ให้ขยายกำหนดเวลาออกไปเป็นภายใน 15 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหรือจำหน่ายเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย |
ภ.ง.ด. 55 |
แบบแสดงรายการภาษีเงินได้มูลนิธิหรือสมาคม หรือกองทุนรวม ตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร |
ภายใน 150 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี |
ในการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาในรูปแบบออนไลน์ ตอนนี้ก็สะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะทางกรมสรรพากร ได้มีระบบ D-MyTax เป็นการรวมบริการด้านภาษีในรูปแบบ One Portal เพื่อช่วยในเรื่องของข้อมูล ลดหย่อนบางตัว เช่น เงินบริจาคที่เราบริจาคไปที่ต่างๆ เงินประกันชีวิต ดอกเบี้ยกู้ยืมที่อยู่อาศัยฯ (กรณีที่ผู้รับเงินแจ้งข้อมูลไปยังสรรพากร) ทำให้สะดวก มากยิ่งขึ้น แต่ก่อนจะเข้าไปในระบบ เพื่อนๆ ก็ต้องกรอกเลขบัตรประชาชน รหัสผ่าน และกรอก Laser ID หลังบัตรประจำตัวประชาชน จากนั้น ระบบได้ส่งรหัส OTP ไปยัง เบอร์โทรศัพท์ และต้องกรอกรหัส ภายในเวลาที่กำหนด เพื่อยืนยันตัวตน จากนั้นก็เลือก ตรวจสอบข้อมูลและยื่นแบบ ก็จะมีข้อมูลลดหย่อน ขึ้นมาค่ะ เมื่อตรวจสอบแล้ว เมื่อเลื่อนลงมาด้านล่าง ก็จะมีการถามอีกรอบ ว่าเราจะยื่นแบบ โดยใช้ข้อมูลดังกล่าวหรือไม่ ถ้าเพื่อนๆ มีข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถ ทำการแก้ไขเพื่อให้ข้อมูลถูกต้องค่ะ สะดวกแบบนี้อย่าลืมยื่นภาษี กันนะคะ
ถ้าต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือดาว์โหลด แบบฟอร์ม ภ.งด. หรือจะยื่นภาษีออนไลน์ สามารถเข้าไปที่เว็บของกรมสรรพากรได้นะคะ
ที่มา https://www.rd.go.th/
นีรชา กลิ่นพยอม