Forum

มหาวิทยาลัยมหิดล มห...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน Sustainable University

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
467 เข้าชม
(@woranart)
Active Member
เข้าร่วม: 1 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 3
หัวข้อเริ่มต้น  

มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน Sustainable University

Setting and Infrastructure มหาวิทยาลัย มีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี สิ่งก่อสร้างดูกลมกลืน ลงตัวกับสภาพแวดล้อม เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว Green University ซึ่งมีความงามของพืชพันธุ์ตลอดปี ซึ่งความเขียวขจี จะคงอยู่ถาวรได้ นอกจากปลูกพืชที่เหมาะสมในการเจริญตามท้องถิ่น แต่ละสายพันธ์ ผลัดกันออกดอกให้ชมตลอดทั้งปี เช่น  ราชพฤกษ์ พุทธรักษา เฟื่องฟ้า ต้นปีบ ต้นประดู่ ต้นหางนกยูง รวมถึงมีพืชสมุนไพรที่ขึ้นและแพร่พันธุ์ในหลายบริเวณ เช่น ต้นพริกไทย ต้นฟ้าทลายโจร ต้นมะเกลือ รางจืด ชะพลู ซึ่งพืชพันธุ์ต่างๆ นอกจากความสามารถในการกระจายพันธุ์ มาจากการบริหารจัดการ ทั้งการสร้างระบบน้ำที่ดี ทั่วมหาวิทยาลัย

Energy and Climate Change  มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัย ที่มีการตระหนักถึงการอนุรักษ์ พลังงาน การลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ลดการใช้กระดาษ บางคณะ สถาบัน มีการนำรถไฟฟ้ามาให้บริการ เช่น คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราช พยาบาล มีการศึกษา การติดตั้ง โซล่าเซลล์ สำหรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในแหล่งน้ำนิ่ง ในคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อาคาร ที่มีลมพัดผ่าน แสงธรรมชาติส่องทั่วถึง บริเวณบางสถานที่รอบอาคาร ปลูกต้นไม้เพื่อความร่มรื่น ลดอุณหภูมิในอาคารได้โดยหลายๆบริเวณแทบจะไม่ต้องเปิดแอร์

Waste Management มีระบบบำบัดน้ำ ทั้งบ่ระบบรองรับน้ำเสีย ระบบบำบัดน้ำเสีย รวมถึงบ่อพักน้ำเสีย และนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมาใช้ในการรดน้ำต้นไม้ได้ มหาวิทยาลัยมีการติดตั้งถังขยะแยกขยะ มีการรณรงค์ แผนในการจัดการจัดการขยะพิษ ในมหาวิทยาลัย มีการแยกขยะพิษ รวบรวมไปกำจัด เช่น ถ่านไฟฉาย ขวดสเปย์ หลอดไฟ มีหน่วยงานรวบรวมและประสานต่อไปยังกองกายภาพเพื่อกำจัดขยะให้ปลอดภัย มีการรณรงค์สิ่งที่จะสามารถ reuse ได้ เช่น บริเวณ บัณฑิตวิทยาลัยมีการรับบริจาคฝาอลูมิเนียมเพื่อส่งต่อหน่วยงานที่นำกลับไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้มีธนาคารขยะ คือรับซื้อขยะที่สามารถ reuse ได้ ฝากในบัญชี ซึ่งเปลี่ยนมูลค่าเป็นยอดเงิน ที่สามารถถอนไปใช้ได้

Water Management มหาวิทยาลัยมีการสร้างและบริหารจัดการระบบน้ำที่ดี นอกเหนือจากการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมาใช้ประโยชน์ มีการขุดสระทั้งแหล่งน้ำนิ่ง แหล่งน้ำไหล รวมถึงการจัดการเกี่ยวกับการขุดเพิ่มร่องน้ำตามธรรมชาติ เพิ่มจากท่อระบายน้ำ นอกจากขุดเจาะ มีการขุดลอกคูคลองประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงเดือนมิถุนายนเพื่อรองรับการระบายน้ำในช่วงเวลาฝนตก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำไหลที่น้ำมีคุณภาพดี มีความใส มีอยู่รอบมหาวิทยาลัย น้ำจะไม่ท่วมขัง รวมถึงกำแพงดินโดยรอบมหาวิทยาลัย ที่มีการปลูกต้นไม้ขึ้นเป็นแนวรั้วนั้น ในช่วงที่มีน้ำหลากมากมาย ระดับเกิดอุทกภัย เช่น น้ำท่วมในปี 2554  รั้วกำแพงดินจะกั้นน้ำได้เป็นอย่างดี ต้นไม้จะช่วงกักเก็บน้ำ เมื่อทำการกั้นที่ประตูต่างๆ ด้วยกระสอบทรายหลายๆชั้น ทำให้สามารถกั้นมวลน้ำมหาศาลที่จะสร้างความเสียหายในมหาวิทยาลัยได้

Transportation มีลานจอดรถขนาดใหญ่ที่รองรับรถจำนวนมาก มีการรับส่งโดยรถสาธารณะของมหาวิทยาลัย อย่างทั่วถึง ทั้งรถราง รถ Shuttle bus  ระหว่างวิทยาเขต และรถประจำทางสายต่างๆ ที่รับส่งนักศึกษา และพนักงาน ที่จุดสำคัญทั่วทุกทิศ เช่น นครปฐม บางแค กรุงเทพฯ รวมถึงเชื่อมโยงกับขนส่งเอกชน เช่น Salaya รับส่งที่สถานีรถไฟฟ้า เพื่อลดการใช้รถส่วนตัว รวมถึงมีบริการเกี่ยวกับรถจักรยานภายในมหาวิทยาลัยด้วย สำหรับผู้ใช้รถไฟฟ้า ทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุน โดยมีแผน การจัดการ สถานีชาร์จรถไฟฟ้า เช่น ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Education for Green มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน รวมถึงการสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพแบบยั่งยืน สนับสนุนด้านสุขภาพ มีสถานที่ออกกำลังกาย โครงการสนับสนุนด้านสุขภาพ การแข่งขันกีฬา การจัดการวิ่ง ร่วมผสานกับชุมชนมีส่วนร่วม เช่น คณะเภสัชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราช พยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสาธารณสุขศาสตร์ ฯลฯ รวมถึงเปิดพื้นที่สนามกีฬา ให้ผู้คนในชุมชนมาใช้ได้ รวมถึงมีโครงการมากมายร่วมกับชุมชน มีกิจกรรมที่มุ่งเน้นประโยชน์ต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์สิ่งแวดล้อม ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง เช่นนักแสดงหนุ่ม อเล็กซ์ เรนเดลล์  เต้ย จรินทร์พร จุนเกียรติ ร่วม นำในกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ ทั้งให้ความรู้ จัดค่าย เสวนา สาธารณะ ซึ่งเป็นการสร้าง soft power ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งต่อมา โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ได้แต่งตั้งเขาให้เป็น ทูตสันถวไมตรี คนแรกของประเทศไทย

นอกจากนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึง การใช้พลาสติค รณรงค์ ลด ละ เลิกในเทศกาลต่างๆ เช่นที่ย่อยสลายได้ ลอยกระทงด้วยวัสดุธรรมชาติ รวมถึงในวันรับปริญญา ที่จัดซู้มแสดงความยินดีหรือการให้ของขวัญที่มีสิ้นเปลือง เช่น ลูกโป่ง หรือดอกไม้ที่มีบรรจุภัณฑ์พลาสติก โฟมหรือวัสดุที่ย่อยสลายยากอื่นๆ บัณฑิตหลายๆ ท่าน ที่เช่น นาย ณภัทร นักแสดงที่มีชื่อเสียง เป็นอีกท่านนึงที่ตระหนักถึงความสำคัญ และร่วมรณรงค์ ให้เปลี่ยนของขวัญในการให้ในวันรับปริญญา ที่ แฟนคลับประสงค์จะให้ เป็นการช่วยเหลือสังคมในมิติต่างๆ ซึ่งเป็นการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง

การจะทำให้มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน Sustainable University ต้องอาศัยทั้งผู้วางนโยบาย ซึ่งเป็นผู้บริหารแต่ละส่วนงาน ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ ทั้ง พนักงาน  นักศึกษา ศิษย์เก่าในการสร้างสังคม สิ่งแวดล้อมให้เจริญอย่างยั่งยืน

https://www.mahidol.ac.th/sustainable/

 

 


   
อ้างอิง
แบ่งปัน:
1,420,754 views since 16 August 2018