Forum

หัวหน้าแบบไหน ที่ลู...
 
แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

หัวหน้าแบบไหน ที่ลูกน้องอยากทำงานด้วย

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
1,159 เข้าชม
numchoke.kun
(@numchoke)
Active Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 14
หัวข้อเริ่มต้น  

ปัญหาคลาสสิกในการทำงานไม่ว่าจะที่ไหนคงหนีไม่พ้นเรื่องของ หัวหน้า และ ลูกน้อง อย่างไม่ต้องสงสัยและหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากผลการสำรวจจริงๆแทบไม่ต้องสำรวจเลยก็ได้ จะพบว่าสาเหตุที่ทำให้พนักงานลาออกนั้น หลักๆก็มาจากเรื่องหัวหน้ารวมไปถึงเพื่อนร่วมงาน มากกว่าเรื่องงานซะอีก แต่ตอนนี้เราจะยังไม่พูดถึงเพื่อนร่วมงานเราจะมาพูดถึงหัวหน้า หัวหน้าในที่นี้จะหมายถึงใครได้บ้างหละ หัวหน้างานของฝ่ายที่ทำ หรือหัวหน้าของหัวหน้าคุณ หรือว่าอาจะหมายถึงผู้บริหารเลยก็ได้ หากองค์กรมีขนาดไม่ใหญ่มาก ผู้บริหารก็อาจจะสั่งงานกับคุณโดยตรงเลยก็ได้ ในบทความนี้เรามาพูดถึงลักษณะของหัวหน้าที่ลูกน้องอย่างเราๆ อยากร่วมงานด้วย หรือร่วมงานด้วยแล้วมีความสุขราวกับว่าอยากเฝ้ารอให้ถึงเช้าเพื่อที่จะตื่นไปทำงานด้วย ขนาดนั้นเลย !!!
มาดูกันดีกว่าว่าลักษณะของหัวหน้าที่ลูกน้องอยากร่วมงานด้วยมีอะไรบ้าง

1. Trust Builder หัวหน้าต้องสร้างความเชื่อมั่น และลดข้อสงสัยต่างๆในการปฏิบัติงานได้ การที่เป็นหัวหน้าที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกนองได้นั้นจะทำให้ลูกน้องไม่เกิดความสงสัยหรือตั้งคำถามในงานนั้น และอยากปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงด้วยความเต็มใจ ยกตัวอย่างเช่น หากหัวหน้ามีการสั่งให้ลูกน้องทำงานอะไรใหม่ซักอย่างหนึ่ง หรือสั่งงานที่เร่งด่วน แน่นอนว่าต้องเกิดการตั้งคำถามตามมาไม่ว่าลูกน้องจะแสดงออกมาหรือไม่ก็ตาม หากหัวหน้าสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกน้องได้คำถามต่างๆเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อย หัวหน้าต้องรู้ไว้อย่างหนึ่งว่า

ไม่มีใครอยากทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์

งานใหม่ที่บางครั้งหัวหน้าคิดว่าแบบนี้น่าจะดีเลยสั่งให้ลูกน้องทำดู แต่แน่นอนว่าลูกน้องต้องตั้งคำถามในใจขึ้นอยู่แล้วว่าจะให้ทำไปทำไม ไม่เห็นว่างานนั้นจะเกิดให้เกิด ประโยชน์ต่อองค์กรแต่อย่างใด หากหัวหน้าสามารถอธิบายให้ลูกน้องเห็นว่างานที่มอบหมายนั้นมันจะเกิดประโยชน์อย่างไรกับองค์กรได้บ้าง ลูกน้องย่อมจะตระหนักถึงความสำคัญของงานนั้นและอยากทำให้บรรลุเป้าหมายอย่างเต็มที่และเต็มใจ

2. หัวหน้าต้องรู้วิธีในการพัฒนาลูกน้อง หัวหน้าบางคนคิดว่าการส่งลูกน้องไป Take course หรือไปอบรมคือการพัฒนาลูกน้อง แต่จริงๆแล้วนั่นเป็นเพียงแค่ 10 % ของการพัฒนาเท่านั้นเอง แต่ในส่วนสำคัญในการพัฒนาตัวบุคคลนั้นคือ on the job training หรือการสอนงานนั่นเอง ตัวหัวหน้าควรจะต้องเป็นคนสอนงานให้กับลูกน้อง ต้องเข้าใจในตัวงานอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่ออกคำสั่งแล้วก็ปล่อยให้ลูกน้องไปหาทางทำงานมาให้ได้ ซึ่งถ้าเป็นงานทั่วไปที่ทำได้โดยง่ายก็คงไม่ส่งผลอะไร แต่ถ้าเป็นงานใหม่ งานที่ยาก ตัวหัวหน้าเองนั้นต้องคอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษากับลูกน้องได้ แต่ในบางครั้งลูกน้องมักจะได้งานที่ยาก ยากขนาดที่หัวหน้าเองก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเหมือนกัน ซึ่งในจุดนี้น่ากังวลไม่ใช่น้อย ลองคิดดูว่าในเมื่อลูกน้องได้งานที่ยาก แทนที่จะไปปรึกษาหัวหน้าได้ แต่เมื่อไปถามหัวหน้า หัวหน้าไม่สามารถตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาในงานนั้นได้นั้น ความเครียดก็จะตกไปอยู่ที่ลูกน้อง ในเมื่อลูกน้องนั้นทำงานให้กับหัวหน้าหรือจะกล่าวได้ว่าผลงานของหัวหน้าส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับงานที่ลูกน้องทำ หากลูกน้องทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ KPI ของหัวหน้าเองก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย

3. หัวหน้าที่ดีต้องรู้วิธีที่จะรักษาลูกน้องเอาไว้ หัวหน้าต้องรู้ว่าลูกน้องแต่ละคนมีความเสี่ยงในการลาออกด้วยเรื่องอะไรบ้าง หรือว่าลูกน้องแต่ละคนนั้นมีความชอบความถนัดเรื่องอะไร อะไรคือสิ่งที่ลูกน้องของเราอยากที่จะอยู่ในองค์กรต่อไป อย่าลืมว่าถ้าคุณมีลูกน้องที่เก่ง แล้วหากลูกน้องต้องการไปทำงานที่อื่นคนที่เสียผลประโยชน์ก็จะเป็นตัวหัวหน้าเอง

4. หัวหน้าที่ดีต้องสื่อสารเป็น หัวหน้าต้องรู้ว่าเมื่อได้รับงานมาแล้วนั้นต้องถ่ายถอดงานให้กับลูกน้องเข้าใจได้อย่างไร ถ่ายทอดให้เกิดความรู้สึกที่เป็น Positive และที่สำคัญคือ

สร้างแรงจูงใจในการทำงาน

ยกตัวอย่างเช่น หากหัวหน้าได้รับงานด่วนมาซึ่งเป็น KPI ของตัวหัวหน้าเองแล้วต้องไปสั่งงานลูกน้องต่อ หากบอกไปว่างานนี้โดนบังคับโดนเร่งมา ตัวลูกน้องเองคงไม่มีกำลังใจที่จะทำ แต่หากหัวหน้ามีวิธีการในการสื่อสารที่จะปลุกพลังในการทำงานของลูกน้องและสื่อสารให้ลูกน้องเห็นคุณค่าของงานนั้นว่าเป็นงานที่สำคัญมีประโยชน์กับองค์กรอย่างไรก็จะทำให้ลูกน้องมีกำลังใจในการทำงานเพิ่มมากขึ้น

" หัวหน้าคือคนที่คนอื่นอยากเดินตาม หัวหน้าที่ดีจะนำพาองค์กรไปในทิศทางที่ดีได้ "

 

cr. : https://soundcloud.com/hrthenextgen/ep06
      : https://www.lwolf.com/blog/4-characteristics-good-leader
      : http://www.satyamengineering.net/achivement/


   
อ้างอิง
แท็กหัวข้อ
แบ่งปัน:
1,395,674 views since 16 August 2018