Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

Burnout Syndrome : ภาวะหมดไฟในการทำงาน (2)

1 โพสต์
1 ผู้ใช้
0 Reactions
551 เข้าชม
numchoke.kun
(@numchoke)
Active Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 14
หัวข้อเริ่มต้น  

ในบทความที่แล้วได้กล่าวถึงไปแล้วว่า Burnout Syndrome  คืออะไร และมีสาเหตุมาจากอะไร ในบทความนี้จะมาพูดถึงอาการของผู้ที่ประสบกับอาการ Burnout และวิธีการแก้ไขกัน

อาการของผู้ที่เป็น Burnout Syndrome นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

ทางกาย : รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย นอนไม่หลับหรือนอนหลับยาก ปวดหัว ปวดคอ ปวดหลัง ภูมิคุ้มกันโรคทางร่างกายลดลง

ทางอารมณ์ : รู้สึกหดหู่ เบื่อ ล้มเหลว ผิดหวัง สิ้นหวัง ไม่มีแรงจูงใน ไม่มีความสุขในสิ่งต่างๆที่ทำ มองโลกในแง่ร้ายตลอด โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย

ทางพฤติกรรม : เก็บตัว เงียบขรึม พูดคุยกับผู้อื่นน้อยลง หมกมุ่นกับเรื่องงานถึงแม่จะไม่ใช่ในเวลางานก็ตาม ไม่กระตือรือร้น มาทำงานสายและมักจะกลับเร็ว ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ๆ 

หากคุณคิดว่าอาการแบบนี้เกิดขึ้นกับตัวคุณเองแล้วหละก็ คุณอาจจะเข้าสู่อาการ Burnout แล้วก็เป็นได้ แต่ยังไม่ต้องตกใจเพราะในหัวข้อต่อไปเราจะมาพูดถึงวิธีการแก้ไข หรือทำให้อาการต่างๆนั้นดีขึ้น 

 

 

อาการ Burnout ชนิดที่ไม่รุนแรงนั้นสามารถรักษาหรือบรรเทาได้ดังต่อไปนี้

1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยๆก็ให้ได้ซัก 6 ชม.ขึ้นไป
2. ลาพักผ่อนในช่วงเวลาสั้นๆ หาเวลาออกไปท่องเที่ยวในสถานที่ที่อยากไปบ้าง เพื่อเป็นการเติมไฟให้ตัวเอง
3. ผ่อนคลายความเครียดโดยการทำกิจกรรมอื่นๆที่สนใจ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ 
4. หาเวลาออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยวัยละ 30 นาทีสัปดาห์ละ 3 - 4 วัน
5. จัดระเบียบการทำงานเสียใหม่ เช่นจัดลำดับการทำงาน งานไหนสำคัญควรทำก่อน ช่วงเวลาไหนควรทำงานอะไร เช่น ตอนเช้าเปิดอ่านอีเมล์และตอบอีเมล์ เป็นต้น
6. งานก็คืองานให้จบที่ทำงาน หมายถึง เมื่อหมดเวลางานมันคือเวลาของคุณ ไม่ควรทำงานนอกเวลางานโดยไม่จำเป็น และไม่ควรนำงานกลับไปทำที่บ้าน เพราะถ้านำงานกลับไปทำต่อที่บ้านคุณก็จะไม่สามารถสลัดเวลางานทิ้งไปจากตัวคุณเองได้
7. ควรรู้จักปฏิเสธ คุณควรปฏิเสธงานบ้างเพื่อให้คนที่สั่งงานคุณนั้นได้รับรู้ว่างานที่คุณต้องแบกรับมันอยู่มีมากแค่ไหน หากคุณรับงานทุกอย่างเข้ามาไว้อย่างเดียว หัวหน้าของคุณหรือคนที่สั่งงานคุณก็จะรับรู้ว่าคุณยังสามารถทำงานได้อีก ได้อีกเรื่อยๆ แล้วมันก็จะมาเป็นภาระที่หนักเกินไปสำหรับคุณเอง
8. ลองขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้างบ้างหากคุณรู้สึกไม่ไหว หรือเหนื่อยเกินไป
9. หาเวลาพัฒนาตนเองเพื่อที่จะทำให้ทำงานหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้เร็วและง่ายขึ้น

ทั้ง 9 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นนั้นหากลองไปปรับใช้กับตัวคุณเองก็จะช่วยให้คุณห่างไกลจากอาการ Burnout ได้ แต่ถ้าหากอาการของคุณมีความรุนแรง ไม่สามารถรักษาด้วยตนเองได้ คุณควรปรึกษาและรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ก่อนที่อาการ Burnout จะนำพาคุณไปสู่โรคซึมเศร้าได้

 

 

ที่มา :  https://thestandard.co/burnout-syndrom/


   
อ้างอิง
แท็กหัวข้อ
แบ่งปัน:
1,395,715 views since 16 August 2018