- AI และ Automation พลิกโฉมงาน HR
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติเข้ามามีบทบาทในการทำงานของ HR มากขึ้น เช่น การคัดเลือกบุคลากร การประเมินผล และการให้คำแนะนำพนักงาน ทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้ HR มีเวลาไปโฟกัสกับการพัฒนาพนักงานหรืองานในเชิงกลยุทธ์ได้มากขึ้น เทคโนโลยี HR ต่าง ๆ เช่น ระบบ HRIS, LMS จะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล HR จำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับทั้ง ความสามารถ และ ข้อจำกัด ของ AI เพื่อใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น การนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพนักงาน การประเมินผล หรือแม้กระทั่งการออกแบบนโยบายที่เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรนอกจากนี้ การเพิ่มทักษะด้านการวิเคราะห์เชิงคาดการณ์ (Predictive Analytics) จะช่วยให้ HR สามารถประเมินข้อมูลจากหลากหลายแหล่งและเชื่อมโยงผลลัพธ์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้นอย่างไรก็ตาม การใช้งาน AI ต้องคำนึงถึง ความเป็นธรรม และ ความโปร่งใส ในการประมวลผลข้อมูล HR ต้องตรวจสอบระบบอย่างรอบคอบเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เช่น การละเมิดความเป็นส่วนตัวของพนักงาน หรือความอคติที่อาจแฝงอยู่ในอัลกอริทึมการพิจารณาด้านจริยธรรมจะช่วยให้องค์กรใช้ AI ได้อย่างปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือในระยะยาวนั่นเอง
2. การพัฒนาทักษะพนักงาน (Upskilling & Reskilling)
การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่รวดเร็วในยุคปัจจุบัน ทำให้ความต้องการในทักษะของพนักงานเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การพัฒนา Upskill และ Reskill จึงเป็นหัวใจสำคัญที่ฝ่าย HR ต้องให้ความสำคัญเพื่อสร้างความพร้อมของพนักงานต่อความท้าทายและโอกาสใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกการทำงาน HR ยังต้องวางแผนในระยะยาวเพื่อพัฒนาทักษะของพนักงานปัจจุบันด้วยการ วิเคราะห์ช่องว่างของทักษะ (Skills Gap Analysis) จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการระบุจุดอ่อนและความต้องการในองค์กร ช่วยให้ HR วางแผนการพัฒนาได้อย่างแม่นยำจากนั้น HR ควรสร้างโครงการ Up-skill & Re-skill เพื่อเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ให้กับพนักงาน ซึ่งจะช่วยให้พวกเขายังคงเป็นที่ต้องการในตลาดงาน และสามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงขององค์กรได้การจ้างงานที่เน้นทักษะ ยังช่วยส่งเสริมแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมในองค์กร โดยลดอคติที่เกิดจากคุณวุฒิหรือพื้นหลังทางการศึกษา สร้างวัฒนธรรมที่เปิดกว้างและยั่งยืนมากยิ่งขึ้นด้วย
· Upskill: การเสริมทักษะเพิ่มเติมในด้านที่พนักงานมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว เพื่อให้พนักงานสามารถรับมือกับงานที่ซับซ้อนขึ้นหรือใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเรียนรู้เครื่องมือซอฟต์แวร์ใหม่ หรือการพัฒนาทักษะการจัดการโครงการที่ทันสมัย·
Reskill: การฝึกฝนทักษะใหม่ทั้งหมดที่แตกต่างจากงานที่พนักงานทำอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงสายงานหรือบทบาทในองค์กร เช่น การฝึกอบรมในด้านเทคโนโลยี AI หรือการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับพนักงานที่มาจากสายงานดั้งเดิม
3. การทำงานแบบ Hybrid และ Remote Work
รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid ยังคงเป็นแนวโน้มสำคัญและกลายเป็นมาตรฐานสำหรับองค์กรในปี 2025 การที่ HR จะสามารถสนับสนุนรูปแบบการทำงานนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องออกแบบนโยบายที่เน้นความยืดหยุ่น และตอบสนองความต้องการของทั้งองค์กรและพนักงานอย่างสมดุล ไม่ว่าจะเป็นนโยบาย Work from Home หรือ Work from Anywhere ความท้าทายสำคัญคือการสร้าง วัฒนธรรมองค์กร ที่รองรับทั้งพนักงานในออฟฟิศและพนักงานที่ทำงานจากระยะไกล (Remote Work) HR จำเป็นต้องลงทุนในเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น แพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ ระบบจัดการโปรเจกต์ และเครื่องมือติดตามผลลัพธ์การทำงาน การมีเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้กระบวนการทำงานลื่นไหล ลดปัญหา Work Flow สะดุดที่อาจทำให้พนักงานรู้สึกไม่พอใจ สำหรับพนักงานที่ยังเลือกทำงานที่ออฟฟิศ การปรับปรุงพื้นที่สำนักงาน ให้เหมาะสมกับการทำงานแบบไฮบริดก็สำคัญเช่นกัน เช่น การจัดโต๊ะทำงานแบบ Hot-Desk ที่ใช้ร่วมกันได้ และพื้นที่ประชุมที่ยืดหยุ่น ทั้งหมดนี้จะช่วยให้การทำงานแบบไฮบริดตอบโจทย์พนักงานทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. Well-being และสุขภาพจิตพนักงานสำคัญที่สุด
สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีของพนักงานเป็นหัวใจสำคัญต่อความสำเร็จในการทำงาน ดังนั้น HR ควรใส่ใจดูแลพนักงานอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ การให้คำปรึกษาด้านจิตวิทยาโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือการสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) เพื่อให้พนักงานมีพลังและความสุขในการทำงานอย่างเต็มที่ ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ เทรนด์ Employee Wellbeing ซึ่งกำลังกลายเป็นวาระสำคัญในหลายองค์กร การมีสวัสดิการที่ช่วยเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ เช่น โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ สิทธิการลาพักผ่อนเพิ่มเติม หรือการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต จะช่วยให้องค์กรกลายเป็นที่รักของพนักงานนอกจากนี้ HR ต้องให้ความสำคัญกับการ วัดผลและปรับปรุงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของพนักงาน วิธีนี้ไม่เพียงช่วยรักษาบุคลากรที่มีคุณค่า แต่ยังสร้างรากฐานที่ยั่งยืนให้กับองค์กรในระยะยาว
5. การใช้ HR Analytics เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำขึ้น
ในปี 2025 ข้อมูลกลายเป็นทรัพย์สินที่มีค่าสำหรับ HR ที่จะช่วยให้สามารถวางแผนการทำงานและการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำมาปรับปรุงนโยบายต่าง ๆ ในองค์กร เช่น การวางแผนกำลังคน การพัฒนาพนักงาน การสร้างวัฒนธรรมองค์กร หรือการปรับปรุงกระบวนการทำงานในองค์กร ซึ่งการมีข้อมูลถูกต้องและครบถ้วนจะช่วยให้ HR สามารถสร้างกลยุทธ์ที่ตอบโจทย์ทั้งองค์กรและพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ HR ต้องเริ่มต้นด้วยการเข้าใจความต้องการของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง และปรับกลยุทธ์ให้ตอบโจทย์ เช่น พัฒนากลยุทธ์ CSR ที่มีความหมาย สนับสนุนโครงการที่พนักงานสามารถมีส่วนร่วมและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ส่งเสริมกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยมด้านความยั่งยืน เช่น การลดขยะ การใช้พลังงานสะอาด และเปิดโอกาสให้พนักงานร่วมตัดสินใจการปรับตัวให้เหมาะสมกับ Gen Z ไม่เพียงช่วยให้องค์กรตอบสนองต่อแนวโน้มในตลาดแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้กลายเป็นองค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากเข้าร่วม พร้อมเติบโตไปด้วยกันในระยะยาวอย่างไรก็ตาม HR ควรเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับ Gen Alpha ที่กำลังต่อคิวเข้าสู่ตลาดแรงงานในอนาคต เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กรในระยะยาวอย่างแท้จริง
6. Diversity, Equity & Inclusion (DEI)
ความหลากหลาย ความเท่าเทียม และการยอมรับความแตกต่าง จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้องค์กรดึงดูดและรักษาคนเก่งในปี 2025 การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เคารพความแตกต่างทางเพศ วัฒนธรรม ความคิด และประสบการณ์ จะช่วยเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตัวพนักงาน เพิ่มความผูกพันต่อองค์กร และกระตุ้นการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กรในระยะยาว HR ควรเริ่มพัฒนาทักษะการคิดเชิงระบบผ่านการจัดอบรมหรือพัฒนาโครงการที่ช่วยให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่าง ๆ ในองค์กร เช่น การใช้ System Maps เพื่อระบุผลกระทบของการตัดสินใจในแต่ละด้าน นอกจากนี้ HR ควรมีเครื่องมือสำหรับรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง เช่น ข้อมูลพนักงาน การประเมินผล และความพึงพอใจ เพื่อตรวจสอบว่าแต่ละปัจจัยส่งผลต่อองค์กรอย่างไรสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ HR สามารถออกแบบนโยบายแบบองค์รวมที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร และตอบสนองความต้องการของพนักงานได้อย่างสมดุลและมีประสิทธิภาพ
7. การจ้างงานที่ยืดหยุ่น
ด้วยความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้ในปัจจุบันมีรูปแบบการจ้างงาน ที่หลากหลายมากขึ้น องค์กรสามารถปรับเปลี่ยนวิธีการจ้างงานให้เหมาะสมกับความต้องการ เช่น การจ้างงานแบบเต็มเวลา งานพาร์ทไทม์ ฟรีแลนซ์ หรือการจ้างงานระยะสั้น นอกจากนี้ยังเกิดแนวทางใหม่ เช่น การทำงานแบบรีโมตหรือ Hybrid Work ที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับทั้งองค์กรและพนักงาน เพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน HR จำเป็นต้องปรับตัวให้รองรับการเปลี่ยนแปลงของ Gig Economy โดยการพัฒนาระบบจัดการที่ตอบโจทย์การทำงานในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การสร้างแพลตฟอร์มสำหรับการทำงานร่วมกับฟรีแลนซ์ การออกแบบนโยบายที่เหมาะสมสำหรับพนักงานอัตราจ้าง หรือการจัดทำแผน Compensation & Benefits ที่โปร่งใสและยืดหยุ่น นอกจากนี้ HR ยังต้องเรียนรู้วิธีรักษาสมดุลความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานประจำและแรงงานอิสระ ผ่านการส่งเสริม Team Building ที่สนับสนุนความร่วมมือระหว่างสองกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การสร้างเครือข่ายภายในองค์กรที่ช่วยเชื่อมโยงฟรีแลนซ์และทีมงานหลักเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างผลงานที่มีคุณภาพและตอบสนองเป้าหมายองค์กรได้ดีที่สุด
8. วัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture)
วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมเรื่องการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถรักษาพนักงานเก่งในปี 2025 ได้ การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ไม่เพียงแต่ช่วยให้พนักงานเติบโตในสายงานของตนเอง แต่ยังเพิ่มความพึงพอใจและความผูกพันกับองค์กร พนักงานที่รู้สึกว่าตนเองได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ จะมีแนวโน้มที่จะอยู่กับองค์กรในระยะยาว และมีส่วนช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน การ Up-skill และ Re-skill ยังเป็นกลยุทธ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สิ่งสำคัญคือการตระหนักว่า พนักงานแต่ละคนและแต่ละระดับต้องการการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน การนำเทคนิค Personalized Learning มาใช้ จะช่วยออกแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลในระยะยาวนั้น องค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตจะช่วยพัฒนาทักษะของทีมงานที่มีอยู่ และดึงดูดผู้มีความสามารถให้เข้ามาร่วมงาน เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ที่มา:
https://www.humansoft.co.th/th/blog/hr-trend-2025
https://th.hrnote.asia/tips/hr-trends-2025-241225/#1_Systems_Thinking