Forum

แบ่งปัน:
การแจ้งเตือน
ลบทั้งหมด

ใครคือครู (ใหญ่)

2 โพสต์
2 ผู้ใช้
3 Reactions
563 เข้าชม
IL Admin
(@il-admin)
Reputable Member Admin
เข้าร่วม: 7 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 134
หัวข้อเริ่มต้น  

ตามที่มีข่าวเรื่องการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา จากชื่อตำแหน่ง ผู้อำนวยการ เป็นชื่อตำแหน่ง ครูใหญ่ ดังเนื้อหาในข่าวว่า นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ ประธานคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจศึกษาแนวทางการจัดทำพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การศึกษาแห่งชาติ คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.) กล่าวว่า ประเด็นการกำหนดตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาที่คณะกรรมการอิสระเสนอในร่างพ.ร.บ.การศึกษา ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกามีมติเห็นชอบให้กลับไปใช้คำว่าครูใหญ่ เหมือนที่ผ่านมา โดยในที่ประชุมมีผู้อภิปรายอย่างหลากหลายทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ได้ข้อสรุปว่ายังจะกลับมาใช้คำว่าครูใหญ่ เนื่องจากที่ประชุมให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นครูสูงมาก และตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษานั้นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูอยู่แล้ว อีกทั้งการทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของครูในโรงเรียน และที่ผ่านมาเราก็เคยใช้คำว่าครูใหญ่ ดังนั้นที่ประชุมจึงลงความเห็นว่าความเป็นครูเป็นเรื่องสำคัญจึงจะต้องให้ความสำคัญกับบทบาทหน้าที่ความเป็นครู ซึ่งการที่หัวหน้าครูกลับมาใช้คำว่าครูใหญ่ก็น่าจะทำให้มีพลังในการปฏิรูปเพื่อการศึกษาของเด็กมากขึ้น (หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ, เอาครูใหญ่กลับมาให้โรงเรียน, http://www.komchadluek.net/news/edu-health/363794, เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562)

          จากข่าวข้างต้น ทำให้เข้าใจถึงกระบวนพิจารณาของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นอย่างดี เพราะระหว่างคำว่า ผู้อำนวยการ และคำว่า ครูใหญ่ สามารถสะท้อนถึงความแตกต่างที่มีต่อการบริหารการศึกษาในสถานศึกษาของผู้บริหาร จึงสันนิษฐานได้ว่า คณะกรรมการให้ความสำคัญเรื่องศัพท์ที่ใช้กับการทำให้การศึกษามีกรอบที่ชัดเจน สามารถเกิดความเจริญก้าวหน้าได้ ดังนั้น คำว่า ครู นี้ ตามหลักภาษาศาสตร์แล้ว มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า คุรุ และภาษาบาลี ครุ, คุรุ (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, ครู, https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9, เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562) แปลว่า ครู ผู้สอน หรือ ผู้หนัก โดยศัพท์นี้สามารถขยายความได้ดังนี้ ครู หมายถึง ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการสอน บอกกล่าว แนะนำสิ่งดีๆ ให้กับลูกศิษย์ เรียกว่าผู้ที่จะทำหน้าที่บริหารสถานศึกษาจะต้องผ่านการเป็นครูหรือผู้สอนด้วยกันทั้งนั้น ส่วนคำว่า ผู้หนัก หมายถึง ครูจะต้องเป็นผู้หนักแน่น มีขันติหรือความอดทนต่อความยากลำบาก มีจิตวิญญาณแห่งการทำเพื่อผู้อื่น เพราะครูนั้นต้องทำหน้าที่ในการฝึกฝนให้ลูกศิษย์เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียน เรียกว่าจะทำให้คนที่ไม่รู้เรื่องให้รู้เรื่องให้ได้ หรือทำคนที่อ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ให้สามารถอ่านออกเขียนได้ ครูจะต้องมีความอดทนมีความพยายามเป็นอย่างยิ่ง วันนี้หรือวันไหนๆ หากสอนลูกศิษย์แล้วไม่รู้ไม่เข้าใจ วันต่อไปครูก็จะต้องเพียรพยายามให้เกิดมรรคผลให้ได้ ครูจึงต้องหนักแน่น เพียรพยายามอย่างต่อเนื่อง พร้อมฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการที่เกิดขึ้นจากการเรียนการสอน ส่วนถ้าเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ ก็ต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองเพื่อประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์

          สรุปแล้ว ความเป็นครูนี้ไม่ใช่ที่จะมีและเป็นกันได้ง่ายๆ เพราะครู นับว่าเป็นฐานะชั้นสูงที่สังคมยกย่อง ดังจะเห็นได้จากที่พระพุทธเจ้าได้รับการยกย่องว่าเป็นบรมครู เป็นครูของครูหรือเป็นสุดยอดครู เพราะสามารถฝึกฝน อบรม และพัฒนาเทวดาและมนุษย์ให้เข้าถึงความดีอย่างสูงสุด (นิพพาน) ได้ (สัตถาเทวะมะนุสสานัง) และพระพุทธองค์ทรงสอนเรื่องการประพฤติปฏิบัติตนของผู้เป็นครูไว้ในพระไตรปิฎก (ที.ปา. 11/198-204/202-206) ว่า ครูย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้ 1) ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี (They train him so that he is well-trained) 2) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง (They teach him in such a way that he understands and remembers well what he has been taught) 3) สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง (They thoroughly instruct him in the lore of every art) 4) ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะ (They introduce him to his friends and companions) และ 5) สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (They provide for his safety and security in every quarter) ดังนั้น การเป็นครูกับการเป็นผู้อำนวยการของสถานศึกษาที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ในสังคมไทยขณะนี้ จึงควรมีคำถามเกี่ยวกับการทำหน้าที่อย่างเหมาะสมกับตำแหน่งครูใหญ่หรือผู้อำนวยการสถานศึกษามากกว่าที่จะมาโต้เถียงกันเพียงเพราะชื่อไม่ตรงกับคำแปลหรือไม่สื่อความในเชิงการปฏิบัติเท่านั้น

 

เรื่องโดย ดร.มนัสวี ศรีนนท์ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล

  


   
numchoke.kun reacted
อ้างอิง
 TUM
(@TUM)
New Member
เข้าร่วม: 6 ปี ที่ผ่านมา
กระทู้: 1
 

ดีมากครับ


   
ตอบอ้างอิง
แบ่งปัน:
1,421,268 views since 16 August 2018