เรื่อง การบริหารจัดการในภาวะวิกฤตและการสื่อสารในภาวะวิกฤต โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร
วันที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 13.00 – 14.00 น. รูปแบบออนไลน์ผ่าน Webex Event
เรื่อง : อนงค์นาฏ พัฒนศักดิ์ศิริ
ประเด็นการแลกเปลี่ยนความรู้
- School of Thoughts Risk Management
- Risk = Likelihood x Impact
- หากเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นแล้วไม่ใช่ความเสี่ยงแต่เป็นปัญหา เช่น การซื้อ lottery คือความเสี่ยงเนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นว่าจะถูกหรือไม่ถูกรางวัล
- ฉากทัศน์ไม่พึงประสงค์ คือ สิ่งอาจจะเคยเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น หรืออาจจะปัญหาที่ทับถมมาอย่างยาวนาน การหาฉากทัศน์ไม่พึงประสงค์ ถือว่าเป็นขั้นตอนที่ 2 ของการทำแผนบริหารความเสี่ยง
- ความเสี่ยงไม่ใช่สารตั้งต้น แต่เป็นสารประกอบ ที่เกิดจากโอกาสที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Likelihood) กับผลกระทบ (Impact)
- สูตรการคำนวณความเสี่ยงมีหลากหลายสูตร ที่แพร่หลายคือ Risk = Likelihood x Impact โดยส่วนใหญ่ใช้ตาราง Matrix 5×5
- การวางแผนและการบริหารจัดการเหตุการณ์ความเสี่ยง
- การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงไม่ใช่การบริหารความเสี่ยงเพราะจะทำให้การดำเนินการตามพันธกิจไม่เกิดขึ้น การบริหารความเสี่ยง คือ การลดความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นให้ใกล้เคียงกับค่าศูนย์มากที่สุด
- หากความเสี่ยงเมื่อนำตาราง Matrix 5×5 มาคำนวณแล้วพบว่าระดับความเสี่ยงอยู่ระดับต่ำ (โซนสีเขียว) เพียงทำการระวังไม่ให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมาโซนที่สูงขึ้น (โซนสีเหลือง สีส้ม)
- การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ระดับโอกาสที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Likelihood) กับผลกระทบ (Impact) มีการจัดการที่แตกต่างกัน คือ
* กรณีที่ 1 ความเสี่ยงที่โอกาสที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Likelihood) สูงกว่า ผลกระทบ (Impact) มักจะมีแผนบริหารความต่อเนื่อง (BCP) เพื่อสำหรับหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวจะสามารถดำเนินการกิจการให้ดำเนินไปต่อได้ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ
* กรณีที่ 2 ความเสี่ยงที่ผลกระทบ (Impact) สูงกว่า โอกาสที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Likelihood) มักจะมีมาตรการยกระดับเป็นกลไกภายในเพื่อควบคุมให้สถานการณ์ไม่ปกติให้เป็นปกติ
- แนวทางการสื่อสารให้เข้าใจเจตนารมณ์
- สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แถลงการณ์ และ แถลงข่าว
- แถลงการณ์จะเป็นสื่อสารทางเดียวเป็นลายลักษณ์อักษร ควรทำเนื้อหาให้เข้าใจง่าย
- แถลงข่าวจะเป็นการสื่อสารสองทาง ควรมีเตรียมคำตอบว่าผู้รับข่าวสารต้องการถามอะไร และเพื่อให้เกิดความเข้าใจเดียวกัน ควรมีคำตอบในทิศทางเดียวกันทุกฝ่ายเพื่อลดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกัน
- การนำเสนอต้องสร้างความเชื่อมั่น มั่นใจ และเข้าใจง่าย
- หากมีการสื่อสารผิดพลาดต้องรีบแก้ไข
- ผู้นำต้องสื่อสารได้ มีทีมสื่อสารช่วยให้การแถลงข่าวมีความราบรื่น ชัดเจน ครบถ้วนมากขึ้น
- ควรคำนึงว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีระยะเวลารอการสื่อสารได้เท่าไหร่ เพื่อให้การสื่อสารมีความรวดเร็วและแก้ไขได้อย่างทันกาล
Risk Map กรุงเทพมหานคร
ปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร มีการจัดทำ BKK Risk Map ฐานข้อมูลดิจิทัลพื้นที่จุดเสี่ยงความปลอดภัย โดยมีการระบุประเภทความเสี่ยง 5 แผนที่ความเสี่ยง คือ แผนที่เสี่ยงอุทุกภัย แผนที่เสี่ยงอัคคีภัย แผนที่เสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สิน แผนที่เสี่ยงความปลอดภัยทางถนน และแผนที่เสี่ยงมลพิษ (PM 2.5) ซึ่งในแต่ละแผนที่จะมีข้อมูลแสดงข้อมูลจำนวนบ้าน ถังดับเพลิง หัวจ่ายน้ำประปา โรงเรียน และระดับความเสี่ยงในประเภทนั้น ๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://cpudapp.bangkok.go.th/riskbkk/index.html
Bangkok Open Policy
กรุงเทพมหานคร มีการจัดทำเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางติดตาม ตรวจสอบความคืบหน้านโยบาย และโครงการภายใต้การทำงานของกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นช่องทางสื่อสารให้กับพลเมืองกรุงเทพมหานคร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ http://openpolicy.bangkok.go.th/
เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน
(No Ratings Yet)Loading…