แนวการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล Individual Development Plan (IDP) มหาวิทยาลัยมหิดล
จากการสรุปประเด็นการบรรยายของวิทยากร ในโครงการอบรมการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) หลักสูตรหัวข้อ “How to Create Your Own Effective IDP” วันที่ 1 ก.พ. 67
วิทยากร คุณเจตยา วรปัญญาสกุล Head of Learning Excellence Center SCG บริษัท เอสซีจี เอชอาร์ โซลูชั่นส์ การบรรยายในรูปแบบ Virtual Training (Online) ผ่านโปรแกรม Zoom
เรื่อง : วรนาฏ คงตระกูล
มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดให้มีการจัดทำ แผนพัฒนารายบุคคล Individual Development Plan (IDP) ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ และพฤติกรรมการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่จะช่วยให้สามารถปฏิบัติงานได้ บรรลุตามเป้าหมาย รวมถึงผลักดันวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกิดผลสัมฤทธิ์มุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University)
IDP ควรทำปีต่อปีแผนประมาณ 10-12 เดือน แล้วพิจารณา ว่า Gap ที่ปฏิบัติตามแผนว่า GAP หายไปรึยัง การปิดจุดอ่อน การเสริมจุดแข็งนั้น มี improvement อะไร ระหว่างปีสามารถปรับได้ อาจจะทำต่อในรอบประเมินต่อไป เช่น การขอไปอบรม หน่วยงานมี งบประมาณจำกัด ก็สามารถจัดการให้เห็นปีงบประมาณต่อไปได้ เน้นพัฒนาบุคลากร ไม่ได้ผูกกับการขึ้นเงินเดือน
ภาพรวมการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)
1.Defry; การเลือกประเด็นที่จะพัฒนา ตามวงรอบที่กำหนดเพื่อปิด Competency Gap 1, 2 ตัว หรือที่ต้องการพัฒนาเร่งด่วน อาจมีหลายข้อ เลือกข้อที่ควรปรับด่วนที่มีแนวทางพัฒนาได้จริง พิจารณา จาก FC, MC
อาจพิจารณาจาก MU report competency
2.Plan; ร่วมกันเลือกแนวทางการพัฒนา 70/20/10
3.Dialogue; นำ draft IDP มาคุยกับ หัวหน้างาน พิจารณาร่วมกันถึง Competency เมื่อออกแบบแผนพัฒนาของตัวเองเสร็จแล้ว กรอกแบบฟอร์ม นำเสนอผู้บังคับบัญชาชั้นต้น
4.Execute; ปฏิบัติตามแนวทาง ในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งอาจติดตาม ปรับหรือ ประเมินระหว่างปี ตามระยะที่แจ้งไว้
MU core competencies
📌Core Competencies
เป็นเหมือน DNA หล่อหลอมให้บรรลุพันธกิจของมหาวิทยาลัยประเมินตาม MAHIDOL
📌Managerial competencies
การบริหารคน บริหารองค์กร วิสัยทัศน์ การบริหารจัดการ การคิดเชิงกลยุทธ์
📌Functional competencies
เช่นอาจารย์ ทักษะการสอน นักวิจัย ทักษะการวิจัย บรรณารักษ์ ทักษะการจัดห้องสมุด
วิธีการเรียนรู้แบบผสมผสาน 70/20/10 (ข้อเสนอแนะ ตามแนวทาง SCG ผสมผสานทุกแบบจะสมบูรณ์ที่สุด)
-10 ; การเรียนรู้อย่างเป็นทางการ formal Learning/ การเรียนรู้ด้วยตนเอง self -Learning จะได้ความรู้แบบ know what เรียนใน classroom, virtual classroom, Conference and Forum ดู clip online อ่านหนังสือ บทความ ใน มหาวิทยาลัยมหิดลมีช่องทางการเรียนรู้ที่สามารถเลือกเรียนได้หลายช่องทางเช่น Coursella, KM master class, MuX
–20; การเรียนรู้จากผู้อื่น ฟังจากประสบการณ์ ความสำเร็จ ของผู้อื่น หรือผ่านหัวหน้า พูดคุย ประชุม จะได้ความรู้แบบ know how Sharing, lessons learned, มีคนมา coaching, best practice
-เยี่ยมชม ดูงาน สถาบันการศึกษา ในประเทศ ต่างประเทศ
-เรียนรู้ผ่านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ชมรมต่างๆ ชมรมวิชาชีพทางด้านบัญชี
📌-Job Shadowing เซลล์ไปเยี่ยมร้านค้า พารุ่นน้องไปด้วยในการขายแต่ละเขต
📌-Being coachee เรารับคำแนะนำจาก coach หรือผู้เชี่ยวชาญในงานนั้น ๆ มาสอนให้
-ไป consulting กับ Subject Matter Expert เข่น ไปขอคำแนะนำกลุ่มที่ทำเรื่องพลังงานทดแทน
-70; การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การลงมือปฏิบัติ มีประสิทธิภาพสูงสุดจะได้ความรู้แบบ know how เป็นการ learning by doing
– Job Rotation การเปลี่ยนหน้าที่ไปปฏิบัติงานโดยเวียนการทำงานในองค์กรย่อยในหน่วยงานเช่นเวียนปฏิบัติงานตามหน้าที่ต่าง ๆ ภายในกองบริหารการศึกษา กองคลัง กองบริหารงานทั่วไป
คำถามน่ารู้ เกี่ยวกับ IDP
การออกแบบแนวทางพัฒนา IDP ของผู้ปฏิบัติงานแต่ละคนต้องเหมือนกันรึเปล่า?
-ถ้าเพื่อนร่วมงานมี Gap ด้านความคิดสร้างสรรค์ เช่นกัน อาจออกแบบแนวทางพัฒนาไม่เหมือนกันได้ ขึ้นกับเลือกแนวทางพัฒนาแบบใด ดูให้เหมาะสม learning style รวมถึงพิจารณาว่าเราทำงานอะไร หรือควรพัฒนาแนวไหนที่จะได้ตอบโจทย์มหาวิทยาลัย
ทำไมทำ training road map (TRM) ทำไปแล้ว ต้องทำ Individual Development Plan (IDP) อีก?
TRM เปรียบเสมือน การอบรมให้เติบโตตามตำแหน่ง เปรียบเหมือนทุกคณะต้องเรียน ปี 1 – ปี 4 ตามที่คณะแต่ละคณะกำหนด
IDP เปรียบเหมือน โรงเรือนกวดวิชาเพื่อปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็งของตัวเอง เฉพาะเจาะจงรายบุคคล
เวลาที่เหมาะสมในการจัดทำ IDP
-หลังประเมิน competency ไปแล้วหรือบางที่ ผู้บังคับบัญชาอาจ พิจารณา คุยกันว่าอะไรที่จะเพิ่ม เน้น ปรับ ให้ตรงสิ่งที่องค์กรคาดหวัง ถ้าประเมินแล้วมีแต่จุดแข็งแล้ว ก็เสริมจุดแข็ง เกิดความก้าวหน้าในสายอาชีพได้แน่นอน หรือทำได้หลายหน้าที่มากขึ้น
หากพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนภาพรวม และในส่วนรายบุคคล Individual Development Plan (IDP) ได้ตามแผน บุคลากรมีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติงานได้ บรรลุตามเป้าหมายของคณะ/ สถาบันฯ จะเกิดผลสัมฤทธิ์ระดับมหาวิทยาลัย
- หน้าแรก
- EDITOR’S NOTE
- ศึกษาปริทัศน์ : AI มีประโยชน์และเป็นโทษต่อการศึกษา
- นวัตกรรมจากสถาบัน : การพัฒนาชุดสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนพร้อมชุดกิจกรรมปฏิบัติการ หัวข้อ เกียร์ สำหรับค่ายหุ่นยนต์แบบกลับด้าน
- สาระน่ารู้ : การติดตั้งและใช้งาน Dev Drive บน Windows 11
- สาระน่ารู้ : แนวการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล Individual Development Plan (IDP) มหาวิทยาลัยมหิดล
- สาระน่ารู้ : พ่อแม่อยู่ที่ไหนในหัวใจลูก
- สาระน่ารู้ : สรุปใจความจากบทความ Generative AI, Teacher Knowledge and Educational Research: Bridging Short- and Long-Term Perspective
- สาระน่ารู้ : เอ๊ะ! ดอกไหนคือ “ดอกกันภัยมหิดล” นะ
- สาระน่ารู้ : การพัฒนาความรู้และทักษะของผู้เรียนในยุคศตวรรษที่ 21
- สาระน่ารู้ : การจัดอันดับมหาวิทยาลัยคืออะไร มารู้จักกันเถอะ (ตอนที่ 2)
- สาระน่ารู้ : เทรนด์การศึกษายุคใหม่ที่น่าจับตามอง
เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน
(No Ratings Yet)Loading…