จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 74 – สาระน่ารู้ เรื่อง ประโยชน์ของ AI กับการทำวิจัยและผลงานวิชาการ

Newsletters

ประโยชน์ของ AI กับการทำวิจัยและผลงานวิชาการ

เรื่อง : อัจฉราพรรณ โพธิ์ทอง

         ในปัจจุบัน การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence – AI) เป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาความรู้และนวัตกรรมหลายด้าน โดยเฉพาะในสาขาต่าง ๆ อาทิ การแพทย์, วิทยาศาสตร์, วิศวกรรม, การวิจัยด้านสังคม และหลายสาขาอื่น ๆ ที่ต้องการสร้างความเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลที่ซับซ้อน การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อทำนายแนวโน้มของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต ช่วยในการค้นหาข้อมูล การช่วยในการออกแบบและการคำนวณ รวมถึงการช่วยในการสร้างผลงานที่ใหม่และนวัตกรรม เป็นต้น จากข้อความข้างต้นผู้อ่านได้เห็นประโยชน์มากมายจากเทคโนโลยี AI แล้ว ฉบับนี้เราจะมาทำความรู้จักกับตัวอย่างเครื่องมือ AI ที่ช่วยในการทำวิจัยและผลงานวิชาการ ดังนี้:
        1. ChatGPT: (https://chatgpt.com/) ย่อมาจากคำว่า “Chat” และ “Generative Pre-training Transformer” เป็น Chatbot ที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อให้สามารถใช้งานในการตอบคำถามและข้อสงสัยให้กับผู้ใช้งาน โดยวิเคราะห์คำสั่งผ่านตัวอักษรและตอบข้อความได้คล้ายมนุษย์ การใช้ ChatGPT ให้เกิดประโยชน์สูงสุดขึ้นอยู่กับวิธีการป้อนคำสั่ง หรือการตั้งคำถามที่ชัดเจนเพื่อให้ ChatGPT สามารถประมวลผลออกมาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังสามารถนำ ChatGPT ไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้าน เช่น การเรียนภาษา ติวหนังสือ การเตรียมตัวสอบ การสืบค้นงานวิจัย การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น
        2. SciSpace: (https://typeset.io/) ชื่อเดิม Typeset เป็น platform ฟรี ที่ช่วยในการค้นหาและรวบรวมบทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ระหว่างปี ค.ศ. 1800-2023 ในรูปแบบของบทความประเภท open access ในรูปแบบไฟล์ PDF สามารถค้นหาบทความวิจัยต่าง ๆ ที่เราสนใจได้ และมี Chatbot ที่เรียกว่า Copilot ในการถามและตอบระหว่างผู้ใช้งานกับ SciSpace ในการเรียนรู้ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์รวมถึงการอธิบายตารางและภาพในบทความ นอกจากนี้ .ยังสมารถอัปโหลดบทความหรือผลงานของตนเองเข้าไป เพื่อช่วยอธิบายและทำความเข้าใจนั้น ๆ ได้ แต่ต้องมีการสมัครสมาชิกก่อนการเข้าใช้งาน
        3. Quillbot: (https://quillbot.com/) เป็นเครื่องมือที่ช่วยตรวจสอบ Grammar ช่วยให้การเขียนภาษาอังกฤษดีขึ้น โดยใช้ AI เข้ามาช่วยในการปรับแก้ไขข้อความและช่วยในการเขียนคำให้ถูกหลักไวยากรณ์ และการวางโครงสร้างของประโยคมีความแม่นยำ โดยมีฟังก์ชันที่หลากหลาย เช่น ปรับแก้ไขคำผิด แก้ไข Grammar และช่วยเขียน Citation เป็นต้น
        4. Grammarly: เป็นเครื่องมือตรวจคำและไวยากรณ์ออนไลน์สามารถแก้ไข Grammar การสะกดคำ และ Punctuation ให้ถูกต้อง สามารถตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (Plagiarism Detection) สามารถติดตั้ง Grammarly กับเบราเซอร์ต่าง ๆ ได้แบบ Real-Time
และนี่ก็เป็นตัวอย่างเครื่องมือ AI ที่ผู้อ่านสามารถนำไปเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการทำวิจัยและผลงานทางวิชาการให้สะดวกยิ่งขึ้น และเปิดโอกาสให้เราได้ค้นพบความรู้ใหม่ที่สามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมและแวดวงทางการศึกษา ทั้งนี้ ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ผิดจริยธรรมในการวิจัย หวังว่าบทความฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย

 

ที่มา
https://www.amitysolutions.com/th/blogs/what-is-chat-gpt สืบค้น ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2567
https://www.thailibrary.in.th/2023/04/16/scispace/ สืบค้น ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2567
https://seomasterth.com/what-is-quillbot/ สืบค้น ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2567

สารบัญ

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (No Ratings Yet)
Loading…
Views : 441 views