EDITOR’S NOTE
สวัสดีครับ เวลาผ่านไปไวมากครับ อีก 3 เดือนจะหมดปี 2567 แล้วนะครับ ในจุลสารนวัตกรรมฉบับที่ 75 นี้ ท่านจะได้พบกับ คอลัมน์ศึกษาปริทัศน์ เรื่อง “นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน” ซึ่งครอบคลุมนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาการศึกษาเชิงความคิด เชิงกระบวนการ และเชิงผลลัพธ์ครับ น่าติดตามมากครับ นวัตกรรมจากสถาบัน เรื่อง “การออกแบบและประเมินระบบการเรียนรู้แบบจำเพาะที่ผสมผสานแนวทางการเรียนรู้แบบควบคุมตนเอง: การออกแบบวิจัยทางการศึกษา” และเรื่อง “การเพิ่มความแม่นยำทางไวยากรณ์ในนักเรียน EFL ผ่านเกมแบบโต้ตอบที่มีการตอบกลับจากเพื่อนร่วมชั้น” เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจมากครับ ในสาระน่ารู้ ท่านจะได้พบกับเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ (1) ถอดบทเรียนเรื่อง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์บน Google Workspace สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล (2) แนวทางในการเลือกวารสารสำหรับตีพิมพ์บทความวิชาการ (3) ถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมรับฟังการบรรยายหัวข้อ “AI และบทบาทในการเป็นนักวิชาการศึกษา วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย” (4) “สวดมนต์” ดีอย่างไร (5) กิจกรรม STEM ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันและในอนาคต (6) ความถูกต้องของการถอดบทสัมภาษณ์บุคลากรด้านสุขภาพไทยด้วย Whisper API (7) ชีววิทยาของ หมูเด้ง และ (8) ทำเพลงง่าย ๆ ด้วย AI
ข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา เรื่องที่ (1) AI และบทบาทในการเป็นนักวิชาการศึกษา (2) การใช้ ChatGPT & Gemini สำหรับการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย (3) AI กับอนาคตของการพัฒนาจิต ในงานประชุมวิชาการระดับชาติจิตตปัญญาศึกษา ครั้งที่ 11 (4) โครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์และบุคลากรคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (5) Assessment Learning Outcomes ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (6) การบริหารการศึกษาเอกชนในยุคดิจิทัล สถาบันพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และอื่น ๆ อีกหลายเรื่องครับ คอลัมน์ IL Activities ที่ขาดไม่ได้คือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “STEM & Robotics Camp” และยังมีภาพข่าวสำคัญ ๆ จำนวนมาก เข้าร่วมกิจกรรมโดยอาจารย์และบุคลากรของสถาบันฯ ดังเห็นได้จากภาพข่าวภายในเล่ม
ในวันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายนนี้ ทางสถาบันฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้ ChatGPT & Gemini AI สำหรับการสอนและการวิจัย “วิทยาศาสตร์-แพทยศาสตรศึกษาอย่างมืออาชีพ รุ่นที่ 3” และ “สังคมศาสตร์และภาษาศาสตร์อย่างมืออาชีพ รุ่นที่ 4” และอีกโครงการที่น่าสนใจมากคือ “เคล็ดลับการอ่านเร็วและเพิ่มพลังความทรงจำขั้นสูง รุ่นที่ 2” ในวันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน ที่โรงแรม S31 ถ.สุขุมวิท 31 ครับ แล้วพบกันใหม่ฉบับต้อนรับปีใหม่ครับ สวัสดีครับ
- หน้าแรก
- EDITOR’S NOTE
- ศึกษาปริทัศน์ : นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน
- นวัตกรรมจากสถาบัน : การออกแบบและประเมินระบบการเรียนรู้แบบจำเพาะที่ผสมผสานแนวทางการเรียนรู้แบบควบคุมตนเอง: การออกแบบวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมจากสถาบัน : การเพิ่มความแม่นยำทางไวยากรณ์ในนักเรียน EFL ผ่านเกมแบบโต้ตอบที่มีการตอบกลับจากเพื่อนร่วมชั้น
- สาระน่ารู้ : ถอดบทเรียนเรื่อง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์บน Google Workspace สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 2 กรกฎาคม 2567
- สาระน่ารู้ : แนวทางในการเลือกวารสารสำหรับตีพิมพ์บทความวิชาการ
- สาระน่ารู้ : ถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมรับฟังการบรรยายหัวข้อ “AI และบทบาทในการเป็นนักวิชาการศึกษา” วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย
- สาระน่ารู้ : “สวดมนต์” ดีอย่างไร
- สาระน่ารู้ : กิจกรรม STEM ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันและในอนาคต
- สาระน่ารู้ : ความถูกต้องของการถอดบทสัมภาษณ์บุคลากรด้านสาธารณสุขไทยด้วย Whisper API
- สาระน่ารู้ : ชีววิทยาของหมูเด้ง
- สาระน่ารู้ : ทำเพลงง่าย ๆ ด้วย AI
เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน
(No Ratings Yet)Loading…