“สวดมนต์” ดีอย่างไร
เรื่อง : ดร.มนัสวี มนต์ปัญญาวัฒนา
ในช่วงราว ๆ ว่าไม่เกิน 6 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยเราได้มีการถกเถียงกันหรือดราม่ากันในเรื่องการสวดมนต์แล้วได้อะไรบ้าง บางคนหรือบางกลุ่มก็บอกว่าสวดมนต์แล้วดี อย่างน้อยก็ดีกว่าไม่ทำอะไรบ้างเลย ส่วนบางคนหรือบางกลุ่มก็บอกว่าไม่ต้องสวดมนต์ก็ได้ เพื่อจะได้ไปทำกิจกรรมหรือสิ่งดี ๆ อื่นต่อไป ดังนั้น ในวันนี้ ผู้เขียนจะขออนุญาตท่านผู้อ่านทั้งหลายว่าเรามาชวนกันคิดชวนกันคุยในเรื่องนี้ดีกว่า สำหรับผู้เขียนแล้วมองว่าการสวดมนต์นั้นดีแน่นอน โดยมีเหตุผลประกอบต่าง ๆ ตามที่จะบอกกล่าวต่อไปนี้
1. การสวดมนต์เป็นวิธีการเบื้องต้นในการจดจำคำสอน กล่าวคือที่ผ่านมา ผู้เขียนเองเวลาจะจดจำอะไรก็ตาม หรือแม้แต่การสวดมนต์ ก็อาศัยการท่อง การออกเสียง การสวด เพื่อจะได้ทำให้เกิดความขึ้นใจ เวลาต้องการใช้หรือระลึกถึงก็สามารถทำได้คล่องแคล่ว เรียกว่าสามารถบอกกล่าวผู้ที่มาถามในเรื่องนั้น ๆ ได้เลย ดังนั้น การสวดมนต์นั้นได้ช่วยทำให้เกิดความใกล้ชิดพระพุทธศาสนาที่ตนเองนับถือแน่นอน ทั้งนี้ เมื่อจำหรือสามารถสวดมนต์ได้แล้ว ก็สามารถที่จะอธิบายขยายความต่อไปได้ หรืออธิบายได้พร้อมไปกับการสวดหรือการท่องเลยก็มี
2. การสวดมนต์เป็นวิธีการทำให้เกิดสมาธิได้ กล่าวคือจากประสบการณ์ที่ผ่าน ๆ มา เมื่อตนเองต้องการจดจ่อหรือมีสมาธิในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในขณะที่กำลังทำอะไรหลาย ๆ อย่างในห้วงเวลาเดียวกัน การได้ท่องบทสวดมนต์ที่จำได้ได้ช่วยทำให้เกิดความนิ่งหรือเป็นสมาธิมากขึ้น จนในที่สุด เมื่อเกิดสมาธิจากการสวดมนต์ดังกล่าวแล้วก็จะทำให้สามารถประกอบกิจการงานที่รับผิดชอบได้สำเร็จ เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้นด้วย เรียกว่าทำให้สิ่งที่ทำเกิดคุณค่าจากการมีคุณธรรมผ่านการมีสมาธิจากการสวดมนต์นั่นเอง
3. การสวดมนต์ทำให้เกิดการขยายขอบเขตความรู้ได้ กล่าวคือใน 2 ประการที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าการสวดมนต์นั้นทำให้เป็นพื้นฐานทั้งในเรื่องการจดจำคำสอนและการเกิดสมาธิได้ ดังนั้น เมืื่อจดจำคำสอนและมีสมาธิแล้วก็ย่อมทำให้เกิดศักยภาพในการรู้และเข้าใจคำสอนมากขึ้น เรียกว่าจะเกิดความเชี่ยวชาญในคำสอนจนสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้สอดคล้องกันระหว่างทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติที่ควรจะเป็นตามหลักการนั่นเอง และในท้ายที่สุด ผลประโยชน์จะเกิดขึ้นกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สวดมนต์ได้จริง
4. การสวดมนต์ทำให้เกิดศักยภาพในด้านความอดทนได้ กล่าวคือการสวดมนต์นี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ที่สามารถท่องบ่นหรือสวดได้ต้องใช้ความเพียรพยายามอย่างมาก เรียกว่าต้องใช้เวลาในการศึกษา ท่องบ่น และอยู่กับบทสวดอยู่นานพอสมควร ยิ่งถ้าเป็นบทสวดใหญ่ ๆ หรือยาว ๆ ก็ต้องใช้ความเพียรพยายามหรือความอดทนและเวลาเป็นอย่างมาก ดังนั้น การฝึกท่องหรือการสวดบ่อย ๆ จึงเป็นอุบายวิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้เราเกิดความอดทนในตนเองได้อย่างอัตโนมัติ
5.การสวดมนต์ชวยทำให้เกิดความศรัทธาในพุทธศาสนาได้ กล่าวคือการมีความศรัทธาหรือมีความเชื่อมั่นต่อศาสนาอย่างไม่คลอนแคลนหรืออย่างมั่นคงนั่นเอง สามารถเกิดขึ้นได้ในบริบทแห่งการสวดมนต์ ดังจะเห็นได้จากที่ผู้ที่มีความศรัทธามั่นคงต่อศาสนานั้นจะทำการสวดมนต์หรือให้ความสำคัญกับการสวดมนต์อย่างเป็นชีวิตจิตใจหรือเป็นวิถีชีวิต โดยจะเห็นได้จากพระภิกษุสงฆ์หรือฆราวาสที่ใกล้ชิดในพระศาสนาล้วนมีการสวดมนต์เป็นปกตินิสัย ดังนั้น การศรัทธาต่อศาสนาสามารถที่จะใช้การสวดมนต์รักษาระยะไว้ก็ได้
สรุปแล้ว การสวดมนต์นั้นมีประโยชน์หรือมีคุณค่าตามที่ผู้เขียนกล่าวไว้แน่นอน เพราะการสวดมนต์ได้ทำให้เกิดประโยชน์กับตัวผู้สวดมนต์เป็นลำดับแรกก่อน เช่น เกิดสมาธิ เกิดความรู้หรือปัญญา หรือเกิดความศรัทธา เป็นต้น ส่วนประโยชน์ถัดมาจากการสวดมนต์ก็คือทำให้สังคมเกิดสันติสุขได้ เพราะเมื่อเราสวดมนต์ไปด้วยเกิดความรู้ที่ถูกต้องตามหลักคำสอนไปด้วยแล้วก็ย่อมทำให้ไม่เกิดความขัดแย้งจากความเข้าใจไม่ตรงกันและทำให้ความอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปกติสุข ไม่โกรธเกลียดกันง่าย ๆ เพราะการสวดมนต์ทำให้เรามีความอดทนต่อสภาวะต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะความอดทนต่อความแตกต่างที่แต่ละคนในสังคมมีอยู่ได้
- หน้าแรก
- EDITOR’S NOTE
- ศึกษาปริทัศน์ : นวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน
- นวัตกรรมจากสถาบัน : การออกแบบและประเมินระบบการเรียนรู้แบบจำเพาะที่ผสมผสานแนวทางการเรียนรู้แบบควบคุมตนเอง: การออกแบบวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมจากสถาบัน : การเพิ่มความแม่นยำทางไวยากรณ์ในนักเรียน EFL ผ่านเกมแบบโต้ตอบที่มีการตอบกลับจากเพื่อนร่วมชั้น
- สาระน่ารู้ : ถอดบทเรียนเรื่อง การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และวิธีป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์บน Google Workspace สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 2 กรกฎาคม 2567
- สาระน่ารู้ : แนวทางในการเลือกวารสารสำหรับตีพิมพ์บทความวิชาการ
- สาระน่ารู้ : ถอดบทเรียนจากการเข้าร่วมรับฟังการบรรยายหัวข้อ “AI และบทบาทในการเป็นนักวิชาการศึกษา” วิทยากรโดย รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย
- สาระน่ารู้ : “สวดมนต์” ดีอย่างไร
- สาระน่ารู้ : กิจกรรม STEM ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันและในอนาคต
- สาระน่ารู้ : ความถูกต้องของการถอดบทสัมภาษณ์บุคลากรด้านสาธารณสุขไทยด้วย Whisper API
- สาระน่ารู้ : ชีววิทยาของหมูเด้ง
- สาระน่ารู้ : ทำเพลงง่าย ๆ ด้วย AI
เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน
(2 votes, average: 4.00 out of 4)Loading…