แผ่นดินยังสะเทือน เมื่อพุทธะปรากฏ!
เรื่อง : ดร.มนัสวี มนต์ปัญญาวัฒนา
เมื่อไม่นานมานี้ ขณะที่ตนเองกำลังนั่งทำงาน ก็ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหว จนทำให้ผู้คนแตกตื่นตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ แต่ที่พบเจอนั้นยังไม่เท่ากับสิ่งที่ได้เห็นจากภาพข่าวในสื่อต่าง ๆ ที่ในหลาย ๆ สถานที่ผู้คนหนีกันวุ่นวายไปหมด รวมทั้งอาคารต่าง ๆ ก็โยกไหวและพังทลายไป จนทำให้อดคิดไม่ได้ที่จะนึกถึงคำว่า “แผ่นดินไหว” ในความหมายตามแบบที่พระพุทธศาสนาเคยเล่าไว้ตามที่พอจะจำได้
ในพระพุทธศาสนามีเรื่องเล่าว่า มีเหตุ 8 ประการที่ทำให้แผ่นดินไหวอุบัติขึ้น โดยเหตุการณ์ดังกล่าวมิใช่เพียงเรื่องฟ้าดินเท่านั้น หากแต่สะท้อนถึงความเปลี่ยนแปลงอันยิ่งใหญ่ในโลกและจักรวาลแห่งธรรมด้วย กล่าวคือพระพุทธศาสนาระบุถึงแผ่นดินไหวไว้ดังนี้
1. ธรรมชาติ คือเมื่อดิน น้ำ ลม ไฟ เกิดการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติ 2. ผู้มีฤทธิ์เคลื่อนย้าย คือเมื่อเทวดาผู้มีฤทธิ์มากเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โลกก็เกิดการสะเทือน 3. พระโพธิสัตว์เสด็จเข้าสู่ครรภ์มารดา คือเป็นช่วงเวลาที่ผู้ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าประสูติในครรภ์ของพระมารดา 4. พระโพธิสัตว์ประสูติ คือเมื่อพระโพธิสัตว์ถือกำเนิดสู่โลกมนุษย์ 5. พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือเหตุการณ์สำคัญสูงสุดในการเกิดศาสนาพุทธ คือการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 6. พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา คือเมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ 7. พระพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร คือเมื่อพระองค์ตัดสินใจเข้าสู่ปรินิพพาน และ 8. พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือขณะที่พระองค์ดับขันธปรินิพพาน โลกก็สะเทือนเป็นครั้งสุดท้ายในกาลนั้น
ดังนั้น จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศต่าง ๆ เมื่อเร็ว ๆ นี้ จึงทำให้เกิดความคิด การตัดสินใจ และการใช้ชีวิตของผู้คนในสังคมไปอย่างหลากหลาย เรียกว่ามีหลายอย่างในสังคมน่าจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งนั่นย่อมแสดงว่าแผ่นดินไหวนั้นไม่ใช่เพียงแค่แผ่นดินเท่านั้นไหว แต่ได้ทำให้หลายอย่างไม่นิ่งหรือหวั่นไหวไปตามด้วยแน่นอน เช่นเดียวกัน แผ่นดินไหวทั้ง 8 ประการตามที่พระพุทธศาสนาแสดงไว้ข้างต้นไม่ได้เป็นเพียงเรื่องเล่าเท่านั้น หากควรได้นำมาเป็นบทเรียนที่จะช่วยสะท้อนให้ทุกคนได้ข้อสังเกตว่า บางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติภายนอกเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจาก “การเคลื่อนไหวของธรรมะ” ที่สั่นสะเทือนจิตใจผู้คนด้วย ยิ่งเมื่อทุกคนได้ตั้งคำถามกับโลก ตั้งคำถามกับชีวิต อาจมีบางสิ่งบางอย่างที่สร้างสรรค์หรือดี ๆ เกิดขึ้นในใจได้ โดยอาจเป็นสัญญาณแห่งการตื่นรู้ เป็นแรงสะเทือนที่ชวนให้หันกลับมาดูว่า “โลกกำลังเปลี่ยน หรือใจเรากำลังเปลี่ยนกันแน่?”
- หน้าแรก
- EDITOR’S NOTE
- ศึกษาปริทัศน์ : แนวทางการแก้ไขการเสพติดเทคโนโลยีและลดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
- นวัตกรรมจากสถาบัน : เรื่อง การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัย (BJTDT) เพื่อสำรวจความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการทำงานของและการประยุกต์ใช้งานทรานซิสเตอร์แบบไบโพลาร์ (BJT) ของนักศึกษาเมียนมาร์ระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
- นวัตกรรมจากสถาบัน : เรื่อง การเตรียมอนุภาคนาโนซิงก์ออกไซด์ที่ถูกโดปด้วยทองแดง (CZO) และอิมัลชันโคพอลิเมอร์อะคริลิก CZO กับโพลีไวนิลไพร์โรลิโดน (PVP) สำหรับเคลือบพื้นผิวกระจกเพื่อคุณสมบัติทางแสง
- สาระน่ารู้ : 11 เคล็ดลับการค้นหา Google ขั้นเทพ
- สาระน่ารู้ : การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ด้วยงานวิจัย
- สาระน่ารู้ : โรคสมองเสื่อม
- สาระน่ารู้ : Deepseek ปะทะกับ ChatGPT
- สาระน่ารู้ : แนวคิดดีดีที่ได้จากการเข้าฟัง ปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์กษาน จาติกวนิช ครั้งที่ 13 เรื่อง “Nan Sandbox” โดย คุณบัณฑูร ล่ำซำ
- สาระน่ารู้ : แผ่นดินยังสะเทือน เมื่อพุทธะปรากฏ!
- สาระน่ารู้ : Gamma: ตัวช่วยสร้างพรีเซนเทชั่นสุดอัจฉริยะ
- สาระน่ารู้ : การเรียนรู้แบบ Active Learning ผ่านกิจกรรม STEM กับพัฒนาการด้าน Soft Skills ของเด็กในยุค Gen Z
เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน




