สมการของแบร์นูลลี (Bernoullis equation) |
|
จากสมการของความต่อเนื่อง
อัตราเร็วของการไหล สามารถเปลี่ยนแปลง ได้ตามเส้นทางการไหล ความดันก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสูง (หรือความลึก) เช่นเดียวกันกับในของไหลสถิต
และความดันก็ขึ้นอยู่กับอัตราเร็วของการไหลด้วย เราจะหาความสัมพันธ์ระหว่างความดัน
อัตราเร็วของการไหลและความสูง สำหรับของไหลอุดมคติที่บีบอัดไม่ได้
(ideal and incompressible fluid) และการไหลเป็นแบบ steady flow
จากสมการของความต่อเนื่อง
เมื่อมีของไหลที่บีบอัดไม่ได้ไหลอยู่ภายในท่อ ซึ่งมีขนาดของพื้นที่หน้าตัดแต่ละบริเวณเปลี่ยนแปลงไป
อัตราเร็วของการไหล ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย นั่นคือแต่ละส่วนของของไหลจ
ะต้องมีความเร่ง หรือความหน่วง แล้วแต่กรณี ของไหลที่อยู่รอบ ๆ ออกแรงกระทำให้เกิดความเร่งนี้
นั่นหมายความว่า ความดันจะต้องมีค่าต่างกันที่ตำแหน่งต่าง ๆ กัน เพราะถ้าความดันเท่ากันหมดทุกที่
แรงสุทธิที่กระทำกับทุก ๆ ส่วนของของไหลจะเป็นศูนย์ ทำให้ไม่เกิดความเร่ง
หรืออัตราเร็วจะคงที่ที่ทุกจุดซึ่งขัดแย้งกับข้างต้น เมื่อของไหลส่วนหนึ่งมีอัตราเร็วเพิ่มขึ้น
คือไหลเร็วขึ้น มันจะต้องเคลื่อนที่ มาจากบริเวณที่มีความดันมากกว่า
มายังบริเวณที่มีความดันน้อยกว่า เพื่อที่จะทำให้มีแรงสุทธิขนาดหนึ่งในการเร่งมัน
สรุปได้ว่าเมื่อพื้นที่หน้าตัดของ flow tube มีการเปลี่ยนขนาด ความดันจะต้องมีค่าเปลี่ยนไปด้วยถึงแม้ว่าทั้งสองบริเวณจะอยู่ที่ระดับสูงเดียวกัน
ถ้ามันอยู่คนระดับก็จะยิ่งช่วยเพิ่มความแตกต่างระหว่างความดันที่สองบริเวณ
รูปที่ 8-7 ส่วนหนึ่งของ flow tube ของของไหลที่กำลังไหล |
ต่อไปเราจะแสดงที่มาของสมการของแบร์นูลลี
โดยใช้ทฤษฎีของงานและพลังงาน ในการพิจารณาของไหลที่กำลังไหลใน flow tube
ดังรูปที่ 8-7 ของไหลกำลังไหลจากบริเวณที่ 1 ไปยังบริเวณที่ 2 ที่อยู่สูงกว่า
อัตราเร็วของการไหลที่บริเวณที่ 1 และ 2 คือ v1 และ v2
ตามลำดับ ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ dt ของไหลที่บริเวณที่ 1 เคลื่อนที่ขึ้นได้ระยะทาง
และของไหลที่บริเวณที่ 2 เคลื่อนที่ขึ้นได้ระยะทาง
ถ้าพื้นที่หน้าตัดที่บริเวณที่ 1 และ 2 คือ A1 และ A2
ตามลำดับ จากสมการของความต่อเนื่อง เราจะได้ว่าสำหรับของไหลที่บีบอัดไม่ได้
(ความหนาแน่นคงที่) ปริมาตรของของไหล dV ที่ไหลผ่านพื้นที่หน้าตัดใด
ๆ ในช่วงเวลา dt (อัตราการไหล) จะมีค่าคงที่ นั่นคือ
พิจารณางานที่ทำบนส่วนของของไหลนี้ในช่วงระยะเวลา
dt ถ้าความดันที่บริเวณที่ 1 และ 2 คือ p 1 และ p2
ตามลำดับ แรงที่ทำบนพื้นที่หน้าตัดของบริเวณที่ 1 คือ p1A1 และที่บริเวณที่
2 คือ p2A2 ดังนั้นงานสุทธิ dW ที่ทำบนส่วนของของไหล
เมื่อของไหลเคลื่อนที่คือ
เทอมที่สองของสมการ
(8-6) นี้มีเครื่องหมายเป็นลบเนื่องจากแรงที่ทำที่บริเวณที่ 2 มีทิศตรงข้ามกับทิศของการเคลื่อนที่ของของไหล
(ของไหลพยายามเคลื่อนที่ ต้านความดันเนื่องจากของไหลด้านขวาที่บริเวณที่
2) งานที่ทำ
dW จะเท่ากับพลังงานกลสุทธิที่เปลี่ยนไป โดยที่พลังงานกลสุทธิ คือผลรวมของพลังงานจลน์กับพลังงานศักย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง
พิจารณาที่บริเวณที่ 1 ปริมาตรของของไหล ที่เคลื่อนที่ภายในช่วงเวลา
dt คือ นั่นหมายถึงมวลของของไหลปริมาตรนี้คือ
ดังนั้นมันมีพลังงานจลน์เท่ากับ
ในทำนองเดียวกัน
ที่บริเวณที่ 2 ของไหลในส่วนนั้นมีพลังงานจลน์เท่ากับ ดังนั้นพลังงานจลน์สุทธิที่เปลี่ยนไปมีค่าเป็น
คราวนี้พิจารณาพลังงานศักย์
ที่บริเวณที่ 1 พลังงานศักย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วงมีค่าเป็น และที่บริเวณที่สองมีค่าเป็น
ดังนั้นพลังงานศักย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วงที่เปลี่ยนไปคือ
เนื่องจากงานที่ทำ
จะเท่ากับพลังงานกลสุทธิที่เปลี่ยนไป
นั่นคือ เราจะได้ว่า
|
(8-9) |
หรือ |
(8-10) |
สมการ
(8-10) นี้คือ สมการของแบร์นูลลี (Bernoullis equation) สมการนี้อธิบายว่า
งานที่ทำบนปริมาตรหนึ่งหน่วยของของไหล โดยของไหลรอบ ๆ จะเท่ากับผลรวมของพลังงานจลน์
ที่เปลี่ยนไปกับพลังงานศักย์ที่เปลี่ยนไป ต่อหนึ่งหน่วยปริมาตรซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการไหล
เราอาจแปลสมการของแบร์นูลล ีในรูปของความดันก็ได้ เทอมแรกของสมการด้านขวาคือ
ผลต่างความดันที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของอัตราเร็วของการไหล เทอมที่สองคือ
ผลต่างความดันที่เกิดจากน้ำหนักของของไหล กับผลต่างความสูงที่สองบริเวณ
เราอาจเขียนสมการ (8-10) ใหม่ให้อยู่ในรูปที่ดูสะดวกกว่าดังนี้
(Bernoullis
equation) |
(8-11) |
ตัวห้อยเลข
1 และ 2 แทนตำแหน่งสองตำแหน่งใด ๆ ใน flow tube ดังนั้นเราสามารถเขียนได้ว่า
สมการของแบร์นูลลีมีประโยชน์มากในการแก้ปัญหาการไหลในลักษณะต่าง
ๆ เช่นเพื่อที่จะคำนวณหาความดัน หรืออัตราเร็วของการไหลที่บริเวณต่าง
ๆ ในลำของของไหลหนึ่ง ๆ แต่ต้องระลึกไว้ว่าสมการของแบร์นูลลีใช้ได้เฉพาะกับของไหลอุดมคติที่บีบอัดไม่ได้
และไหลแบบ steady flow เท่านั้น ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงการแก้ปัญหาบางปัญหาโดยใช้สมการของแบร์นูลลี
UP
|
|
ตัวอย่างที่ 8-1 Static Fluids |
|
สังเกตว่าเมื่อของไหลไม่มีการเคลื่อนที่ และ
ดังนั้นสมการของแบร์นูลลีจะลดรูปลงเป็น
|
|
ตัวอย่างที่ 8-2 ความดันของของไหลที่ไหลในท่อที่มีพื้นที่หน้าตัดคงที่ |
|
|
|
ตัวอย่างที่ 8-3 Horizontal Pipe |
|
|
|
ตัวอย่างที่ 8-4 Efflux Speed่ |
|
ถังน้ำในรูปบรรจุน้ำไว้ตอนเริ่มต้น ข้าง ๆ ถังน้ำมีท่อเล็ก
ๆ ต่ออยู่ซึ่งอยู่ต่ำจากผิวน้ำในถังเป็นระยะ h ถ้าถังนี้มีฝาปิดอยู่และความดันอากาศภายในบริเวณเหนือผิวน้ำในถังคือ
p0 เราต้องการคำนวณหาอัตราเร็วของการไหลของน้ำออกจากท่อ
เราสมมุติว่าน้ำเป็นของไหลอุดมคติและบีบอัดไม่ได้
ดังนั้นเราสามารถใช้สมการของแบร์นูลลีในการศึกษาปัญหาการไหลของน้ำนี้ได้
กำหนดจุดที่ 1 และ 2 ดังรูป จะได้ |
|
|
เมื่อความดันที่จุดที่ 1 คือความดันบรรยากาศ
และความดันที่จุดที่
2 คือ เราจะได้ว่า
|
จากสมการของความต่อเนื่อง
ถ้าพื้นที่หน้าตัดของท่อน้ำออก มีขนาดน้อยกว่าพื้นที่หน้าตัดของถังน้ำ
มาก
ๆ จะมีค่ามากกว่า
มาก
ๆ ดังนั้นสามารถตัด ในสมการข้างต้นทิ้งได้
จะได้
เราเรียกอัตราเร็วของน้ำ v1 ที่ไหลออกจากท่อว่า efflux
speed ซึ่งมีค่าขึ้นกับผลต่างความดัน และความสูง
ถ้าด้านบนของถังเปิด จะเท่ากับ
ทำให้ได้
ในกรณีนี้จะได้
นี่คืออัตราเร็วของน้ำที่ไหลออกมาจากท่อ(รู)ข้างถังที่เปิดฝาอยู่
โดยที่ท่ออยู่ต่ำกว่าผิวน้ำภายในถังเป็นยะยะ h อัตราเร็วที่ได้นี้มีขนาดเท่ากับอัตราเร็วที่วัตถุตกอย่างอิสระในระยะความสูง
h ผลที่ได้สำหรับอัตราเร็วของน้ำที่ไหลออกจากรูข้างถังนี้เป็น ทฤษฎีของ
Torricelli
UP
|
|