เจ. เจ. ทอมสัน ( ค.ศ.1856-1940)

แบบจำลองโครงสร้างอะตอมของทอมสัน

ต่อมาในปี ค.ศ. 1897 เจ. เจ. ทอมสัน ( J.J Thomson)     ได้ทำการทดลองกับหลอดรังสีแคโทดพบ
ลำรังสีแคโทดที่วิ่งจากขั้วลบไปยังขั้วบวกอีกทั้งเบนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก    ทอมสัน สามารถหาอัตราส่วนระหว่างประจุต่อมวลของรังสีนี้ได้สำเร็จ และต่อมาเขาก็รู้ว่ารังสีแคโทดนี้ แท้จริงแล้วเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบหรือ"อิเล็กตรอน" ซึ่งเป็นองค์ประกอบย่อยของอะตอม
นั่นเอง  แต่เนื่องจากสภาวะปกติ อะตอมมักมีสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า  ดังนั้นแสดงว่าภายใน อะตอม ต้องมีองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งที่เป็นประจุบวกเพื่อหักล้างกับประจุลบ  ทอมสันจึงได ้ เสนอ แบบจำลองโครงสร้างอะตอมว่า อะตอมมีลักษณะเป็นทรงกลมราว 10 - 10 เมตร  ที่เต็มไป ด้วย อนุภาคประจุบวกแล้วมีอิเล็กตรอนฝังอยู่ตามที่ต่าง ๆ คล้ายกับเมล็ดแตงโมที่อยู่ในผลแตงโม

เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด
(ค.ศ.1871-1937)

แบบจำลองโครงสร้างอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

                แต่อย่างไรก็ตามแบบจำลองอะตอมของทอมสันก็หมดความน่าเชื่อถือลง เมื่อ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ( Ernest Rutherford ) ไ ด้ศึกษาการกระเจิง(scatterring)   ของอนุภาค แอลฟาเมื่อ
พุ่งชนแผ่นทองคำเปลวบางๆ แล้วพบว่า มีอนุภาคแอลฟาจำนวนหนึ่งสะท้อนกลับมา จากผลการ
ทดลองนี้ทำให้รัทเทอร์ฟอร์ดคิดว่า   ในอะตอมต้องประกอบด้วย อนุภาคประจุบวกที่  รวมตัวกัน
อย่างหนาแน่น มีขนาดเล็กมากๆ อยู่ใจกลาง เรียกว่า " นิวเคลียส" ซึ่งเป็นส่วน ที่ทำให้ อนุภาค
แอลฟาสะท้อนกลับมา     หากจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพ ก็จะได้ว่า     ถ้าอะตอมมีขนาดประมาณ
สนามฟุตบอลมาตรฐาน นิวเคลียสจะมีขนาดเท่ากับใบโพธิ์ อยู่ตรงกลาง และมี อิเล็กตรอนเคลื่อน
ที่อยู่รอบๆ ที่ขอบสนาม