โวล์ฟกัง เพาลี (ค.ศ. 1900-1958) |
เอนรีโก แฟร์มี (ค.ศ. 1901-1954 ) |
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ประมาณช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้ พบกับ ความท้าทายอีกครั้ง เมื่อมีการค้นพบอนุภาคใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีการกล่าวถึงมาก่อน จำนวนมาก ขึ้น เรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1930 โวล์ฟกัง เพาลี ( Wolfgang Pauli) ได้ ทำนายถึงอนุภาคใหม่ ชนิด หนึ่งที่มีมวลน้อยมากๆ มีพลังงานสูง เป็นกลางทางไฟฟ้า และไม่ทำปฏิกิริยากับอนุภาคอื่น เป็น อนุภาคที่เกิดมาจากการสลายตัวให้เบตา ( beta decay) ของธาตุกัมมันตรังสี ซึ่งต่อมา เอนรีโก แฟร์มี ( Enrico Fermi ) นักฟิสิกส์ชาวอิตาลีก็ได้ตั้งชื่ออนุภาคนี้ว่า "นิวตริโน "( neutrino) ซึ่ง เป็นภาษาอิตาลีแปลว่า ตัวที่เป็นกลางเล็กๆ |
พอล ดิแรก (ค.ศ. 1902-1984) |
คาร์ล แอนเดอร์สัน (ค.ศ. 1905-1991 ) |
ในเวลาเดียวกับที่เพาลีพบนิวตริโน นักฟิสิกส์และคณิตศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งนำโดย
พอล ดิแรก ( Paul Dira:) ก็ได้มุ่งความสนใจไปที่สมการคณิตศาสตร์อย่าง X 2 = 1 ซึ่งมีคำตอบ
ที่ง่ายมากเป็น X = 1 และ X= - 1 แต่คำตอบของสมการนี้ได้จูงใจ ให้นักฟิสิกส์ มองต่อไปว่า ถ้าให้ X เป็นอนุภาค ( particle) หนึ่ง ๆ แล้ว อนุภาคนั้นต้องมี " ปฏิยานุภาค" (antiparticle)
ที่มีสมบัติเหมือนกันทุกอย่าง แต่มีประจุตรงข้ามด้วย หลังจากนั้น 2 ปี คาร์ล แอนเดอร์สัน ก็ได้พบปฏิยานุภาคตัวแรก นั่นคือ "โพสิตรอน" ซึ่งเป็นอิเล็กตรอนบวก ( positive electron) จากการใช้ห้องหมอก ( cloud chamber) ศึกษารังสีคอสมิกที่มาจากนอกโลก |