เจมส ์แชดวิก (ค.ศ.1891-1974)

แบบจำลองโครงสร้างอะตอมที่เสนอขึ้นใหม่

         ต่อมาเมื่อ เจมส ์แชดวิก ( James Chadwick ) ค้นพบ " นิวตรอน" ก็ทำให้แบบจำลองโครง สร้างอะตอม ของรัทเทอร์ฟอร์ดปรากฎภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นคือในนิวเคลียสประกอบ ด้วยโปรตอน
ที่เป็นประจุบวก    และนิวตรอนที่เป็นกลาง  โดยมีอิเล็กตรอนวิ่งวนอยู่รอบๆ     จะเห็นได้ว่าแบบ จำลองนี้สามารถใช้ อธิบายโครงสร้างอะตอมของธาตุที่มีโปรตอน 1 ตัว และอิเล็กตรอน 1 ตัว อย่างไฮโดรเจนได้ อย่างชัดเจน    แต่ไม่สามารถใช้ตอบคำถามเกี่ยวกับ อะตอม ของธาตุที่มี
อิเล็กตรอนมากกว่าหนึ่งตัวว่า     อิเล็กตรอนจะมีการจัดเรียงตัวกันอยู่อย่างไร   และ เพราะเหตุใด อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ จึงไม่สูญเสียพลังงาน แล้วพุ่งเข้าชนนิวเคลียส

นีลส ์ โบร์ (ค.ศ.1885-1962)

แบบจำลองโครงสร้างอะตอมของโบร์

          จนก้าวสู่ยุคของแนวคิดแบบ"ทฤษฎีควอนตัม"ที่กล่าวว่า "อนุภาคมีการรับส่งพลังงานแบบ ไม่ต่อเนื่อง" ทำให้ในปี ค.ศ.1912 นีลส ์ โบร ์( Niels Bohr ) ได้ประยุกต์ทฤษฎีควอนตัมเข้ากับ ทฤษฎีฟิสิกส์แบบฉบับ(classical physics) แล้วอธิบายโครงสร้างของอะตอมใหม่ว่า อิเล็กตรอน โคจรอยู่รอบนิวเคลียสได้  โดยไม่ปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา  เนื่องจากอิเล็กตรอนอยู่ ในชั้น วงโคจรพิเศษที่มีระยะห่างจากนิวเคลียส เป็นค่าบางค่าเท่านั้น และอิเล็กตรอนจะปล่อยคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเมื่อมีการกระโดด ข้ามชั้นพลังงานเท่านั้น ดังนั้นแบบจำลองโครงสร้าง อะตอมของโบร ์ จึงคล้ายกับวงโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ คือ มีนิวเคลียสที่ประกอบไป ด้วยโปรตอนและนิวตรอนอยู่ใจกลางอะตอม และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ เป็นชั้นโดยที่ แต่ละชั้นวงโคจรจะมีจำนวนอิเล็กตรอนอยู่ไม่เท่ากัน  ทำให้ระดับพลังงานมีค่าเฉพาะตัว