6

อนุภาคมิวออน ( muon :μ )

           การค้นพบมิวออนเป็นผลมาจากการศึกษา รังสีคอสมิก (โดย 90 % เป็นโปรตอน ประมาณ 9%   เป็นอนุภาคแอลฟา) จากนอกโลกที่พุ่งชนบรรยากาศของโลก     โดยมิวออนถูกค้นพบในปี   ค.ศ. 1937  โดย   เน็ดเดอร์ไมเออร์   ( Neddermeyer )   และคาร์ล แอนเดอร์สัน  (Carl Anderson )  และการค้นพบมิวออนในห้องทดลองของ  เจเบซ คูรี สตรีท  ( Jabez Curry Street )     และ
  เอ็ดวาร์ด ซี. สตีเวนสัน ( Edward C. Stevenson)   ในปีเดียวกันด้วย โดยในช่วงแรก  ๆ นั้น   
พวกเขายังสรุปไม่ได้ว่าอนุภาคที่พบนั้นเป็นอนุภาคใดกันแน่      ตอนแรกคิดว่าเป็น    "มีซอน"
(meson)อนุภาคที่มีมวลอยู่กึ่งกลางระหว่างอิเล็กตรอนและโปรตอน   (ประมาณ 200 เท่าของมวล
อิเล็กตรอน)     ตามคำทำนายของ ฮิเดะกิ   ยุกะว  (Hideki Yukawa   ) แต่กลับพบว่ามันไม่ได้เกิด
อันตรกิริยากับแรงนิวเคลียร์อย่างเข้มแบบมีซอนของยุกะวะ    มันเกิดอันตรกิริยากับแรงนิวเคลียร์อย่างอ่อนเท่านั้น 

  การสลายตัวให้มิวออนของรังสีคอสมิก ที่พุ่งเข้าชนชั้นบรรยากาศของโลก

                   ดังนั้นเพื่อป้องกันการสับสนจึงมีการเสนอแนวคิดว่า    แท้จริงแล้วมีซอน  มี   2 ชนิด ชนิดแรกเกิดอันตรกิริยาอย่างเข้มและเป็นไปตามที่ยุกะวะทำนายเรียกว่า"พายมีซอน" (pi-meson
: )    หรือ  พายออน (pion)   ชนิดที่สอง เกิดอันตรกิริยาอย่างอ่อนเท่านั้นเรียกว่า   มิวมีซอน
(mu-meson:μ) หรือ มิวออน (muon) นั่นเอง     มิวออนเป็นอนุภาคมูลฐานชนิดเลปตอนมีค่าประจุ
ค่าไฟฟ้าเท่ากับอิเล็กตรอน มีมวลประมาณ 210 เท่ามวลอิเล็กตรอน  มีครึ่งชีวิตในช่วงไมโครวินาที
เกิดมาจาก การสลายตัวของพายออน    ปัจจุบันมีศูนย์วิจัยปฏิบัติการชื่อ Super-Kamiokande
ก่อตั้งขึ้น  เพื่อทำการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับรังสีคอสมิกและมิวออนดยเฉพาะ
ตั้งอยู่ที่ ประเทศญี่ปุ่น