6

อนุภาคทาว ( tau ; )

              ผลจากการค้นพบมิวออนและการตั้งแบบจำลองมาตรฐานทำให้นักวิทยาศาสตร์ทำนายว่า จะต้องมีอนุภาคอีกตัวในกลุ่มเลปตอน   ที่มีคุณสมบัติคล้ายอิเล็กตรอนและมิวออนมาก   แต่มีมวล
มากกว่าและมีครึ่งชีวิตสั้นกว่า  จึงได้พยายามอย่างหนักในการหาเลปตอนตัวสุดท้ายนี้  จนกระทั่ง
ปี ค.ศ.1973 ทีมนักวิจัยที่ศูนย์ Stanford Linear Accelerator Center( SLAC) ประเทศสหรัฐอเมริกา
นำโดย มาร์ติน เพิร์ล (Martin L. Perl:) ได้ใช้เครื่องเร่งอนุภาคที่เรียกว่า Stanford Positron-Electron Asymmetric Rings ( SPEAR) เร่งให้อิเล็กตรอนและโพสิตรอนพลังงานสูงเข้าชนกัน
แล้ว ตรวจหาอนุภาคที่เกิดขึ้นหลังการชน ก็พบ" ทาว"  ซึ่งมีมวลนิ่ง (rest  mass) เท่ากับ 1,777 MeV/c2  ซึ่งมากกว่ามวลอิเล็กตรอนถึง 3500 เท่า และมีครึ่งชีวิต  2.96 x 10-13วินาที 

            เมื่ออิเล็กตรอนและโพสิตรอนพลังงานสูงๆ พุ่งชนกัน ทำให้เกิดทาวขึ้น  แต่เนื่องจากทาว
มีครึ่งชิวิตสั้นมากๆ จะสลายตัวเป็น มิวออน อิเล็กตรอน และนิวตริโนซึ่งเสถียรกว่า และสามารถ
ตรวจจับได้              

          (ดูรายละเอียดการค้นหาทาว)