จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 72 – สาระน่ารู้ เรื่อง สาระสำคัญจากงานประชุม ITA-MU เรื่อง ความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวม

Newsletters

สาระสำคัญจากงานประชุม ITA-MU เรื่อง ความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวม

เรื่อง : จันทรัตน์ หิรัญกิจรังษี

        ในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกำกับติดตามการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรม รอยัล ซิตี้ ปิ่นเกล้า กรุงเทพมหานคร มีการจัดปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม” โดย นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ซึ่งมีสาระสำคัญและเนื้อหาเสริมความความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านเพิ่มเติม โดยผู้เขียนสรุปเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ตอน สำหรับบทความตอนที่ 1 นี้ มีรายละเอียดหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

ความหมายเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับส่วนรวม หรือ การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม หรือ ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest: COI)

        การที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการใด ๆ หรือดำเนินการในกิจการสาธารณะที่เป็น การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่หรือความรับผิดชอบในกิจการของรัฐ เพื่อประโยชน์ของรัฐหรือเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐได้มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้าไปแอบแฝง หรือเป็นผู้ที่มีส่วนได้เสียในรูปแบบต่าง ๆ หรือนำประโยชน์ส่วนตนหรือความสัมพันธ์ส่วนตนเข้ามีอิทธิพลหรือเกี่ยวข้องในการใช้อำนาจหน้าที่หรือดุลยพินิจในการพิจารณา ตัดสินใจในการกระทำการใด ๆ หรือดำเนินการดังกล่าวนั้น เพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด สำหรับตนเองหรือพวกพ้อง เป็นเหตุหรืออาจเป็นเหตุทำให้บุคคลดังกล่าวไม่สามารถใช้ดุลยพินิจ หรือปฏิบัติหน้าที่ ได้อย่างเป็นกลาง ตรงไปตรงมาเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม หน่วยงาน หรือองค์กรได้อย่างเต็มที่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นจะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเองที่เกี่ยวข้องอยู่มากกว่าประโยชน์ของส่วนรวม ซึ่งเป็นโอกาสช่องว่างในการทุจริตคอร์รัปชัน

ปัจจัยหรือองค์ประกอบที่ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest: COI)

  1. บุคคลนั้นมีสถานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ต้องรับผิดชอบต่อประโยชน์สาธารณะ หรือมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ส่วนรวมในเรื่องนั้น ๆ
  2. เกิดสถานการณ์ที่มีผลประโยชน์ขัดกัน (มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้าไปเกี่ยวข้อง) โดยเข้ามาแทรกแซงการตัดสินใจหรือการใช้ดุลยพินิจอย่างใดอย่างหนึ่ง
  3. เกิดการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม (อาจเป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดก็ได้/ ทรัพย์สินหรือประโยชน์ของบุคคลอื่น)

        หากพิจารณาให้ดีจะพบว่า การคอร์รัปชันอาจไม่ได้เป็นการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม แต่เมื่อมีพฤติกรรมของการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม หรือ ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of Interest: COI) เกิดขึ้น ก็อาจจะนำไปสู่การคอร์รัปชันได้

ความเข้าใจต่อผลประโยชน์ส่วนรวมหรือผลประโยชน์สาธารณะ (Public Interests)

        เริ่มจากแนวคิดพื้นฐานว่าด้วย “ประโยชน์สาธารณะ” คือ รัฐโดยองค์กรของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ดูแลรักษาประโยชน์ส่วนรวมหรือประโยชน์สาธารณะ แต่ในกรณีที่ประโยชน์ส่วนตัวของเอกชนไม่สอดคล้องกับประโยชน์สาธารณะจะต้องให้ประโยชน์สาธารณะอยู่เหนือประโยชน์ส่วนตัวของเอกชน เนื่องจากสถานะของเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีความสัมพันธ์กับรัฐ 2 สถานะ ดังนี้

  1. เจ้าหน้าที่ของรัฐ: เป็นบุคคลที่ทำงานให้กับรัฐหรือเป็นตัวแทนของรัฐ และทำอะไรต้องทำตามกฎหมายหรือมีกฎหมายให้อำนาจ (เช่น การปฏิบัติหน้าที่ การอนุมัติ การอนุญาต การใช้ดุลพินิจ ฯลฯ)
  2. เอกชน: เจ้าหน้าที่ของรัฐคือเอกชนคนหนึ่ง จะทำอะไรก็ได้ ถ้าไม่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือมีกฎหมายห้าม (เช่น มุ่งหาแสวงหา กำไร/ผลประโยชน์ ฯลฯ) เพื่อประโยชน์ตนเองหรือพวกพ้อง

        ดังนั้น ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องสามารถแยกเรื่องตำแหน่งหน้าที่กับเรื่องส่วนตัวออกจากกันได้ และห้ามการกระทำที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม
        หากพิจารณาให้ดีจะพบว่า การปรับฐานคิดเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อการทำความเข้าใจเรื่องการทุจริตต่อหน้าที่ การขัดกันแห่งผลประโยชน์ (COI) และจริยธรรม จะต้องใช้สมองส่วนหน้าฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์แยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม แล้วยึดประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน เพื่อประโยชน์สุข แก่บุคคลทั้งหลายในสังคม จึงเป็นสิ่งสำคัญจำเป็น และจะก่อให้เกิดผลหรือการแสดงออกทางพฤติกรรมโดยอัตโนมัติ

โครงสร้างสมอง

หน้าที่

(ความต้องการของมนุษย์)

ปัจจัยเอื้อต่อความต้องการไตรสิกขาวิธีการแก้ปัญหาด้วยกลยุทธ์ Three-Pronged Approach (3PA)กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1. สมองส่วนหลังทำหน้าที่เพื่อการอยู่รอดของชีวิต (เช่น ความต้องการปัจจัยพื้นฐาน ความมั่นคงและปลอดภัย)เงิน

ศีล

(สีลสิกขา)

ขัดข้อง

(Enforcement)

–       ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2565

–       พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

–       พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502

–       พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงาน พ.ศ. 2542

–       พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559

–       พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ. พ.ศ. 2559

–       พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2560

2. สมองส่วนกลางทำหน้าที่ด้านอารมณ์ ความจำระยะยาว แรงจูงใจเพื่อการอยู่ร่วมกันเป็นฝูง (เช่น ความรัก ความผูกพันธ์ การสร้างความภูมิใจและชื่อเสียง)เวลา

สมาธิ

(จิตตสิกขา)

ป้องกัน

(Prevention)

–       พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

§  มาตรา 32 และ 35 (มาตรการป้องกันการทุจริตฯ)

§  มาตรา 126-129 (การขัดกันแห่งผลประโยชน์)

§  มาตรา 102 -125 (การตรวจสอบทรัพย์สินฯ)

–       พระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2543

3. สมองส่วนหลังมีสติปัญญา รู้ตน รู้เขา รู้ควบคุมตน มีศีลธรรม มีน้ำใจ เพื่อการอยู่อย่างมีความหมาย (เช่น การอยู่อย่างมีความหมายเพื่อพัฒนาด้วยความเป็นมนุษย์สมบูรณ์)การพัฒนาตนเอง

ปัญญา

(ปัญญาสิกขา)

พัฒนา

(Education)

–        พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

§  มาตรา 33 (ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับอันตรายของการทุจริตและค่านิยมที่เน้นการพึ่งพาระบบอุปถัมภ์ในสังคม)

เอกสารอ้างอิง (References)

  • สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (มีนาคม 2563). คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม. กรุงเทพฯ. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2567, จาก http://docs.nhrc.or.th/uploads/65268-110563.pdf
  • อุทิศ บัวศรี. (พฤศจิกายน 2556). การขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม. เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการกำกับติดตามการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านธรรมาภิบาลของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566, นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (อัดสำเนา).

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (1 votes, average: 4.00 out of 4)
Loading…
Views : 46 views