โครงการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย ASEAN University Network – Health Promotion Network (AUN-HPN)

shortcourse

แผนงานย่อย: มหิดลสุขภาพดีวิถีใหม่
การดำเนินงานโครงการ AUN-HPN ปี 2564-2565
โครงการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยในเครือข่าย
ASEAN University Network – Health Promotion Network (AUN-HPN)

กิจกรรมสอนออนไลน์ให้สนุก (เลือกลงทะเบียนตามความสนใจ)

1) Technology Enhancement for Interactive Online Learning (วันที่ 25 ม.ค. 2565 : 13.00-16.00 น.)
: วิทยากร: รศ. ดร.พัชรินทร์ ปัญจบุรี และ ดร.สุทธิพร สัจพันโรจน์

2) Engagement technique for online learning with fun (วันที่ 27 ม.ค. 2565 : 9.00-12.00 น.)

: วิทยากร: ผศ. ดร.วัชรี เกษพิชัยณรงค์และ ผศ. ดร.น้ำค้าง ศรีวัฒนาโรทัย
3) Preparing Teaching Media with Cognitive Neuroscience (วันที่ 2 ก.พ. 2565 : 9.00-12.00 น.)
: วิทยากร: รศ. ดร.นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย
4) Interactive assessment for online learning (วันที่ 10 ก.พ. 2565 : 13.00-16.00 น.)
: วิทยากร: ผศ. ดร.มนต์อมร ปรีชารัตน์ ผศ. ดร.ภิรมย์ เชนประโคน และ ดร.พัชรพรรณ ศิริวัฒน์

(1) ที่มา
      สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มีพันธกิจหลักคือ การเผยแพร่ความรู้ด้านการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ สู่นักการศึกษา ครู อาจารย์ และบุคคลทั่วไป เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างยั่งยืนในทุกภาคส่วนของประเทศ และส่งเสริมให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษาและบุคคลทั่วไปก้าวทันแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ของโลกในด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  การระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างผลิกผันของภาคการศึกษา ผู้สอนและผู้เรียนต้องปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน มาในรูปแบบของออนไลน์ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้เรียน และผู้สอน ที่ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการจัดการเรียนการสอนในภาวะความปกติใหม่ (New Normal) การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสายวิชาการสามารถจัดการเรียนการสอนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสนุก เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้เรียนมีความสุขและเรียนรู้แบบออนไลน์ได้ดีขึ้น นอกจากนี้ผู้สอนได้รู้แนวทางในการจัดการสอนให้สนุกและมีประสิทธิภาพ จะช่วยลดความเครียดจากการเตรียมการสอนออนไลน์ได้ ดังนั้นกิจกรรมดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความสุขและช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพจิตทั้งผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ (ASEAN University Network – Health Promotion Network (AUN-HPN)) มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาวะกาย-ใจของบุคลากรและนักศึกษา

(2) วัตถุประสงค์
      (2.1) เพื่อให้อาจารย์ได้เรียนรู้เทคนิคสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ให้สนุกและมีประสิทธิภาพ
      (2.2) เพื่อให้อาจารย์ได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนมากขึ้นในการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์
      (2.3) เพื่อให้อาจารย์ได้เรียนรู้การเตรียมสื่อการสอนโดยใช้หลัก Cognitive neuroscience ให้เหมาะสมกับการสอนแบบออนไลน์
      (2.4) เพื่อให้อาจารย์ได้เรียนรู้เทคนิคการประเมินผู้เรียนในรูปแบบออนไลน์ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน

(3) วิทยากร
      ทีมคณาจารย์จากสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้

(4) กลุ่มเป้าหมาย
      บุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

(5) วิธีการดำเนินการ
      (5.1) อบรม
      (5.2) Coaching and Mentoring

(6) กิจกรรม  
      (6.1) การอบรมจัดแบบออนไลน์ โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 4 หัวข้อหลัก คือ
        • Engagement technique for online learning with fun
        • Technology Enhancement for Interactive Online Learning
        • Preparing Teaching Media with Cognitive Neuroscience
        • Interactive assessment for online learning

        โดยจะดำเนินการจัดอบรมหัวข้อละ 3 ชั่วโมง
        (6.2) มอบประกาศนียบัตรให้กับอาจารย์ที่เข้าร่วมโครงการ
        (6.3) จัดประกวดการสอนออนไลน์

(7) Coaching and mentoring
      หลังจากการอบรมตลอดโครงการ โดยจะดำเนินการจัดเป็นแบบกลุ่มไลน์ของอาจารย์ที่เข้าร่วมอบรมในโครงการ และดำเนินการติดตามให้คำปรึกษาแบบออนไลน์ 2 ครั้ง

 

** เปิดรับลงทะเบียนถึงวันที่ 23 ม.ค. 2565 **

Views : 503 views