จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 72 – สาระน่ารู้ เรื่อง ทำผลงานอย่างไรให้ถูกจริยธรรม

Newsletters

เรียนรู้ จากสัมมนา เรื่อง “ทำผลงานอย่างไรให้ถูกจริยธรรม” โดย วิทยากร ศ.ดร. นายแพทย์ ภัทรชัย กีรติสิน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่อง : วรนาฏ คงตระกููล

         ผู้ได้รับรางวัลศิษย์เก่าแพทย์ศิริราชดีเด่น ประจำปี 2564 ประเภทศิษย์เก่าผู้เป็นเลิศทางวิชาการ (แพทย์ศิริราชรุ่น 100) โดย สมาคมศิษย์เก่าแพทย์ศิริราช ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นผู้ได้รับรางวัล “คนดี ศรีมหิดล” ประเภทอาจารย์ ประจำปี 2565 ในงานครบรอบ “54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล”        
ในช่วงแรก ศ.ดร. นายแพทย์ ภัทรชัย กีรติสิน วิทยากร ได้กล่าวถึง ลิขสิทธิ์และ จริยธรรมในผลงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญา Intellectual Property (IP)

        สิทธิบัตร: สิ่งผลิต เป็นชิ้นงานใหม่อย่างชัดเจน มีกรอบระยะเวลาในการขออนุญาตเช่น การผลิตยาอาจคุ้มครอง 20 ปี เมื่อหมดช่วงระยะเวลาดังกล่าว ต้องขออนุญาตใหม่ เครื่องหมายการค้า:แบรนด์ เช่น สตาร์บัคส์ ส่วน ความลับทางการค้า:เช่นสูตรเครื่องดื่ม โค้ก
        ลิขสิทธิ์: ผลงานทางความคิดที่สร้างสรรค์ ที่ถูกถ่ายทอดความคิดนั้นออกมา (idea expression)
        ลิขสิทธิ์คือสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียว ที่จะทำการใด ๆ ตาม พรบ.ลิขสิทธิ์ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น ผู้อื่นจะทำซ้ำ ดัดแปลง  มิได้  หากพิจารณาหลักการ การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair Use) การอนุโลมให้ใช้ ใช้ได้ หากไม่กระเทือนความเป็นเจ้าของ กิจกรรมในครอบครัว เช่น ร้องเพลงคาราโอเกะ หรือใช้เพื่อการวิจัย ศึกษา ลิขสิทธิ์จะถูกคุ้มครองทั่วโลก โดยมีสัญญาถึง 100 กว่าประเทศ เมื่อเผยแพร่แล้ว จะถูกคุ้มครอง ผู้สร้างสรรค์เป็นเจ้าของ ระบุนาม วันที่ในชิ้นงาน สิ่งที่ไม่เป็นลิขสิทธิ์เช่น ข่าว ข้อเท็จจริง ระเบียบ คำแปล คำพิพากษา สิ่งที่ไม่ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์เช่นคำวิจารณ์ ติชม รายงานข่าวผ่านสื่อมวลชน โดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์
        ลิขสิทธิ์ย่อมโอนให้แก่กันได้ ต้องทำข้อตกลงโดยระบุเวลาเช่นให้ได้ไม่เกิน 10 ปี โอนให้คนอื่นใช้แล้ว เจ้าของอาจโอนให้อีกคนใช้อีกได้ ขึ้นกับเจ้าของกำหนดสิทธิ์  กรณีที่เราเป็นเจ้าของ ความคุ้มครองเกิดขึ้นเมื่อผลงานสร้างแล้วเผยแพร่แล้ว กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกหนังสือรับรองรับทราบได้ งานสร้างสรรค์ตราบใดที่ยังไม่ได้เผยแพร่ แต่บันทึกไว้ ลงวันที่ไว้ ในคอม วันข้างหน้าหลุด เราต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นเจ้าของจริง ๆ บันทึกไว้ แสดง ออกมา คุ้มครองได้ กรณีมีคำสั่งจ้าง ผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมา จะเป็นของผู้ว่าจ้างหลังผลิตผลงาน ลิขสิทธิ์จะคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปีหลังเสียชีวิต การคุ้มครองความเป็นเจ้าของ หากเป็นผลงานที่มีผู้เป็นเจ้าของหลายคน คนสุดท้าย ที่เสียชีวิต ผลงานจะถูกคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปี หากสร้างสรรค์งานด้วยกันยังไม่เผยแพร่ เสียชีวิตก่อน นับ หลังเผยแพร่ไปอีก 50 ปี เช่น ทายาทเผยแพร่ได้ 50 ปี จะสิ้นการคุ้มครอง ในสิ้นปีที่ 50 ปีที่ครบ 50 นับวันสุดท้ายของการสิ้นปีนั้น คือ 31 ธันวาคม สำหรับงานดัดแปลง ประกอบจากการอนุญาตจากเจ้าของ ผลงานเดิม คนเดิมยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์สามารถขอใช้ได้ หากผู้สร้างสรรค์ผลงานอนุญาต สามารถใช้ได้ การขออนุญาตใช้ลิขสิทธิ์ บทความสามารถขอกับวารสารที่ตีพิมพ์ ภาพที่เผยแพร่สาธารณะ สามารถ เมลล์ไปขออนุญาตเจ้าของได้ กรณีเขียนหนังสือหลายคน เป็นเจ้าของร่วมกันในทุกบท จะต้องขออนุญาตครบทุกคนจึงจะใช้ได้  หากเป็นเจ้าของ บทละคน ขอใช้จากเจ้าของ ผู้สร้างสรรค์ในบทนั้น ๆ หนังสือ ปกติขอใช้ลิขสิทธิ์จากสำนักพิมพ์ได้ บาง Web site อาจมีช่องทางให้ขออนุญาตโดยตรงกับผู้ประพันธ์ กรณีวิทยานิพนธ์สามารถขอจากบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนั้น ๆ

จริยธรรมการวิจัย
        เป็นหลักความประพฤติอันเหมาะสม ที่แสดงถึงคุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบอาชีพ เพื่อให้สาขาวิชาชีพนั้น ๆ ยึดถือและปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมเกียรติของวิชาชีพตน นักวิจัยปฏิบัติตาม จริยธรรม โดยคำนึงถึงคุณธรรม มนุษยธรรม ตามหลักวิชาการที่เหมาะสม เช่น จริยธรรมของการวิจัยในคน การใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งการพิจารณาโครงการวิจัยในคน มีประเด็นพิจารณาว่าเข้าข่ายต้องขออนุญาตหรือไม่ ให้พิจารณาว่าเป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ข้อมูลการศึกษาที่เป็นระบบ ข้อมูลที่เป็นข้อมูลสุขภาพ กระทำต่อร่างกาย หรือจิตใจของอาสาสมัครในการวิจัย หรือที่ได้กระทำต่อเซลล์ วัสดุ สิ่งที่ส่งตรวจ เนื้อเยื่อ น้ำคัดหลั่ง สารพันธุกรรมหรือ ข้อมูลเวชระเบียน สังคมศาสตร์ หรือพฤติกรรมศาสตร์ หากเข้าข่าย ให้ดำเนินการเสนอโครงร่างวิจัย ให้คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนพิจารณา ผลงานที่เสนอพิจารณาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย สามารถขอเปลี่ยนแปลง แก้ไขก่อนดำเนินการทำวิจัยจริง หากไม่เข้าข่ายโครงการวิจัยในคน ไม่จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน  ตัวอย่างข้อควรปฏิบัติ สำหรับงานวิจัยในคน เช่น งานวิจัยทางการแพทย์ต้องขออนุญาตคนไข้ หากขออนุญาตคนไข้ ในการดำเนินการวิจัยโครงการ A ไว้ ถ้ามีโครงการส่วนขยายเป็นโครงการ B ต้องขอคนไข้ที่เคยขอไว้ใหม่สำหรับโครงการ B
        การใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดล มีคณะกรรมการการกำกับดูแล การดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ภายในมหาวิทยาลัย โดยมีหน่วยงานรับรอง 8 ส่วนงาน คณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะเภสัชศาสตร์  คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะสัตวแพทยศาสตร์ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ สถบันโภชนาการ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล และคณะกรรมการการกำกับดูแล การดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ กลาง ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย สำหรับผู้ใช้สัตว์ในงานวิจัยก่อนทำการยื่นขอการรับรองจริยธรรมการดำเนินการต่อสัตว์ต้องได้รับใบอนุญาตใช้สัตว์กับสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.วช.) เพื่อขอใบรับอนุญาตใชสัตย์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
        การตีพิมพ์ผลงานวิจัย ไม่คัดลอกผลงาน ไม่นำชื่อมาใส่ในงานวิจัยโดยไม่ได้ทำ เช่น หัวหน้าภาค คณบดี  การตีพิมพ์ โดยพ่วงชื่อคนรู้จัก หรือสลับกัน ใส่ชื่อคนละฉบับ  การซื้อผลงานตีพิมพ์โดยไม่ได้ดำเนินการวิจัยเอง  การตีพิมพ์ในวารสารปลอม ไม่ได้รับการยอมรับ ควรเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์ อ่านวารสาร เช็ค website วารสาร เช็คจาก Scopus ช่วยตรวจสอ

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (1 votes, average: 4.00 out of 4)
Loading…
Views : 35 views