จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 73 – นวัตกรรมจากสถาบัน เรื่อง การพัฒนาชุดสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนพร้อมชุดกิจกรรมปฏิบัติการ หัวข้อ เกียร์ สำหรับค่ายหุ่นยนต์แบบกลับด้าน

Newsletters

การพัฒนาชุดสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนพร้อมชุดกิจกรรมปฏิบัติการ หัวข้อ เกียร์ สำหรับค่ายหุ่นยนต์แบบกลับด้าน

เรื่อง : ชินภัท มงคลศิริวัฒนา1 อ.ดร.ติณณภพ แพงผม2 ผศ. ดร.มนต์อมร ปรีชารัตน์3

        การสอนเนื้อหาวิทยาศาสตร์ในหัวข้อที่ไม่ได้รวมอยู่ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับครูโรงเรียน การสอนและการเรียนต้องถูกจัดอยู่ในรูปแบบของค่ายวันหยุดสุดสัปดาห์ นอกจากนี้ ครูยังต้องเตรียมและออกแบบแผนการสอนเพิ่มเติมสำหรับค่าย ที่ประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ เช่น ความรู้ รวมถึงวัสดุการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับกิจกรรมและกิจกรรมอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในค่าย นั้นด้วย เพื่อที่จะตอบสนองต่อเวลาการเรียนรู้ที่จำกัดในระหว่างค่ายสุดสัปดาห์เหล่านี้ คณะวิจัยจึงได้นำเสนอสื่อการเรียนรู้ทัวร์เสมือนจริง 360 องศาที่บูรณาการร่วมกับชุดกิจกรรมปฏิบัติการ ซึ่งถูกออกแบบเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะที่สำคัญเกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องเกียร์สำหรับนักเรียนก่อนเข้าร่วมค่าย
        ทัวร์เสมือนจริง 360 องศา ที่ได้พัฒนา จำลองค่ายเสมือนและนำเสนอสถานการณ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเกียร์ โดยนักเรียนจะสามารถเรียนรู้และพัฒนาความรู้และทักษะพื้นฐานของตนเองได้โดยใช้ชุดเครื่องมือต่าง ๆ ที่ให้มา ผ่านคอมพิวเตอร์ นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้เองที่บ้านก่อนเข้าร่วมค่าย
        ในด้านการออกแบบบทเรียนนั้น บทเรียนในทัวร์เสมือนจริง 360 องศา ประกอบด้วย 2 โซน ได้แก่ โซนความรู้ และ โซนฝึกปฏิบัติ โดยโซนความรู้ ประกอบด้วย 4 บทเรียนย่อย ได้แก่ บทเรียนที่ 1 – การใช้อุปกรณ์เกียร์เพื่อการเรียนรู้ บทเรียนที่ 2 – การใช้เครื่องวัดความเร็วในการวัดรอบของเกียร์ บทเรียนที่ 3 – การเชื่อมต่อเกียร์ และบทเรียนที่ 4 – อัตราทดเกียร์ ในส่วนของโซนฝึกปฏิบัตินั้น ประกอบด้วย 4 บทเรียนย่อย ได้แก่ บทเรียนที่ 5 – การบันทึกค่าตารางเกียร์ บทเรียนที่ 6 – การต่อเกียร์กับเฟืองส่งผ่าน บทเรียนที่ 7 – การคำนวณขบวนเกียร์ และบทเรียนที่ 8 – การประยุกต์ใช้เกียร์ในชีวิตประจำวัน
        สื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาได้ถูกตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาและผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อเทคนิค จำนวน 3 ท่าน จากผลการตรวจสอบคุณภาพทัวร์เสมือนจริง 360 องศา จากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า คุณภาพทางด้านเนื้อหาที่ได้รับ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.27 หมายถึง สื่อมีคุณภาพอยู่ในระดับดี และคุณภาพทางด้านสื่อเทคนิคสื่อมีคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยในส่วนของมิติภาพ เสียง ตัวอักษร และสี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.04 มิติการจัดการบทเรียน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.27 และมิติองค์ประกอบปฏิสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.00 ตามลำดับ

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมทั้งภายในและภายนอกของห้องปฏิบัติการสร้างต้นแบบนวัตกรรม

Source: Mongkholsiriwattana, C., Phengpom, T., & Precharattana, M. (2023, December). Development of computer-aided learning with hands-on activities kits on topic of gears for a flipped robotics camp. In Journal of Physics: Conference Series (Vol. 2653, No. 1, p. 012002). IOP Publishing.

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (No Ratings Yet)
Loading…
Views : 11 views