จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 77 – สาระน่ารู้ : แนวคิดดีดีที่ได้จากการเข้าฟัง ปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์กษาน จาติกวนิช ครั้งที่ 13 เรื่อง “Nan Sandbox” โดย คุณบัณฑูร ล่ำซำ

Newsletters

แนวคิดดีดีที่ได้จากการเข้าฟัง ปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์กษาน จาติกวนิช ครั้งที่ 13 เรื่อง “Nan Sandbox” โดย คุณบัณฑูร ล่ำซำ

เรื่อง : วรนาฏ คงตระกูล

        คุณบัณฑูร ล่ำซำ ได้เล่าประสบการณ์ “Nan Sandbox” ที่เป็นต้นแบบการพัฒนาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์พื้นที่ป่าต้นน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวอย่างแม่แบบของการพัฒนาจังหวัดต่างๆ จังหวัดน่านเป็นจังหวัดขนาดใหญ่ ที่มีป่าต้นน้ำ ป่าสงวนขนาดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านที่ดำรงชีวิตอยู่เดิม เมื่อประกาศป่าสงวน คนที่เคยอยู่เริ่มลำบาก จากนั้น กระแสโลกทุนนิยม มีการเน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวนายทุนเข้ามารับซื้อข้าวโพด จึงมีการปลูกพืชเพื่อเศรษฐกิจที่ดีขึ้น จึงเปิดพื้นที่ขึ้นไปเรื่อยๆ รุกพื้นที่ป่าไปเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป พื้นที่ป่าจึงถูกทำลายไปมาก ทั้ง 99 ตำบล มีแค่ 9 ตำบลที่ไ ม่ใช่ป่า เมื่อพูดคุยกัน จึงพบปัญหาว่าไม่มีที่ทำกินต่อ รวมถึง margin พืชเชิงเดี่ยว คือข้าวโพด เมื่อเข้าใจโจทย์ จึงหาทางแก้ปัญหา ในรูปแบบใหม่ คือสร้างผลผลิตที่สูงพอ ไม่ให้รุกป่าเพิ่ม และคุยกับรัฐ หาจุดปักหมุด
        จึงทำให้ เกิดแนวคิด “Nan Sandbox” ที่จะช่วยจัดสรรที่ดินทำกิน ให้ถูกต้อง ภายใต้การอนุรักษ์ป่า โดยกำหนดยุทธศาสตร์ การจัดสรรพื้นที่ 72% :18% :10%
72% พื้นที่อนุรักษ์ เป็นพื้นที่ต้นน้ำตลอดไป
18% พื้นที่ป่าที่เป็นต้นไม้ใหญ่ แต่อนุญาตให้ปลูกพืชเศรษฐกิจมูลค่าสูงใต้ต้นไม้ใหญ่ได้
10% พื้นที่ยังคงเป็นป่าตามกฏหมายแต่อนุญาติให้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรอื่นๆ ได้

        ซึ่งเมื่อศึกษา ความหนาแน่นต้นไม้ในป่า จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่นป่าไม้ ทำให้ทราบข้อมูลว่า ความหนาแน่ต้นไม้ในพื้นที่ป่าจริงๆ ประมาณ 200 ต้นต่อไร่ จึงขอให้ผู้ที่อยู่อาศัย ทำกิน ในพื้นที่ป่า มีการปลูกป่าในพื้นที่อนุรักษ์ ประมาณ 100 ต้นต่อไร่
        จากนั้นร่วมกับชุมชน และหาตลาด ประสานงาน และสร้างกลไกการขายผลผลิตจากพืช การกำหนดราคา ไม่ให้ชาวบ้านถูกกดราคา การแบ่งส่วนการตลาด รวมถึงการเพิ่มชนิดของพืชในพื้นที่ให้หลากหลาย เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ให้สูง โดยมีที่ปรึกษาเป็นนักวิชาการป่าไม้ช่วยเลือกชนิดพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งต้องเป็นต้นไม้ที่ปลูกใต้ต้นไม้ใหญ่ได้ ไม่ใช่ลิ้นจี่ องุ่นหรือพืชไร่ที่ต้องเปิดพื้นที่เปิดโล่ง
        ซึ่งพืชกลุ่มที่น่าสนใจ มีขนาดเล็ก เติบโตได้ในที่แสงรำไร ก็พบว่าพืชสมุนไพรหลายๆชนิด สามารถเจริญได้ในสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเราได้ยาจากพืช กลุ่มพืชสมุนไพรน่าสนใจ เพราะนอกจากเจริญได้ในพื้นที่ดังกล่าว มีราคาในท้องตลาดค่อนข้างดี สามารถเพิ่มมูลค่าตามกระบวนการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นได้หลายประเภท ซึ่งสารออกฤทธิ์ในพืช medicinal grass, medicinal poison plant จึงเป็น project การผลิตยาจากพืชที่ปลูกบนดอย  ซึ่งเพิ่มการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็น “พืชยา”กับเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ในนาม “หญ้ายา” จึงเกิด การพัฒนากระบวนการผลิต เริ่มจากการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว การเข้าสู่กระบวนการผลิต ซึ่งมีตั้งแต่ระดับง่ายๆ ปานกลาง แบบกระบวนการผลิตที่ต้องใช้เทคโนโลยีเพิ่มเติม จากนั้นนำนโยบายสู่ รัฐ ขยับขยาย พัฒนานำมาใช้จริง ซึ่งการผลิตยา การขายยา ต้องได้มูลค่าพอที่จะเลี้ยงทุกครอบครัว ระหว่างการดำเนินการ ในรยะยาว ต้องมีการพูดคุย ให้ความรู้ ปลูกจิตสำนึก ให้มีจิตอนุรักษ์ มีการจัดสรรพื้นที่ในการรักษาพยาบาลในชุมชน มีการสร้างศูนย์วัฒนธรรม ให้ความรู้ แก่เด็ก และเยาวชน การสร้างศูนย์การเรียนรู้ การเปลี่ยนพื้นที่ศาลากลางเป็นศูนย์เรียนรู้ครบวงจร โดยเอกชนสนับสนุนพันล้าน งบประมาณในการก่อสร้าง การรวมนักวิชาการ การจัดหาสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจมานำเสนอ เมื่อสร้างเสร็จ จะมอบเป็นทรัพย์แผ่นดินทันที ภายในอาคาร มีหอประชุม หอจัดแสดงคอนเสริร์ต การแสดงวิถีชีวิต ศิลปะวัฒนธรรม รวมถึงมีที่พักที่จะรับรองเด็กๆ ที่อยู่อาศัยบนพื้นที่สูงให้ได้มีโอกาสมาเรียนรู้ วิถีชีวิตในท้องถิ่น  เปิดโอกาศให้เรียนรู้ในหลากหลายมิติ เพิ่มโอกาศทางการศึกษา รวมถึงการรับรู้คุณค่าของบ้านเกิด จะทำให้เด็กและเยาชนเกิดความรัก ความภาคภูมิใจ และผูกพันกับชุมชน สามารถสร้างอาชีพในพื้นที่อาศัยได้ อยู่ร่วมกับธรรมชาติภายใต้การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นได้ นำความรู้มาประยุกต์ใช้ในชุมชนได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อยู่ดีกินดี เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต และเกิดการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

สารบัญ

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (No Ratings Yet)
Loading…
Views : 0 views