หน้า 2 จาก 3

จากน้ำขึ้นสู่ดิน

          สิ่งมีชีวิตกลุ่มยูคาริโอตที่สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้หรือมีคลอโรพลาสต์ได้วิวัฒนาการตัวเองไปเป็นสาหร่ายชนิดต่างๆ มากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ สาหร่ายสีเขียว
การศึกษาโครงสร้างของพืชรวมทั้งลำดับพันธุกรรม นำมาสู่การตั้งสมมติฐานว่าพืชพัฒนามาจากสาหร่ายสีเขียวกลุ่มคาโรไฟต์ (green algae หรือ chlorophytes) ซึ่งมีลักษณะหลายอย่างใกล้เคียงกับพืช เช่น มีการสะสมอาหารในเซลล์ในรูปของแป้ง  ผนังเซลล์เป็นสารประกอบพวกเซลลูโลส มีคลอโรฟิลล์เอและบี และเบตาแคโรทีนเป็นรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์แสง


ลักษณะกิ่งก้านของสาหร่ายกลุ่มคาโรไฟต์ (chlorophytes) ในภาพแสดงอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้
หรือ แอนเทอริเดียม (antheridium) และอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย หรือ โอโอโกเนียม (oogonium)

          เชื่อกันว่าการที่พืชขึ้นมาอยู่บนบก เกิดขึ้นเมื่ออาหารและปัจจัยในการดำรงชีวิตในน้ำเริ่มขาดแคลน ข้อได้เปรียบของการอยู่บนพื้นดินคือปริมาณแร่ธาตุอาหารในดินที่มีมากมาย ทั้งยังสามารถรับออกซิเจนและแสงแดดสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงได้อย่างเต็มที่

ท่านคิดว่าพืชน้ำที่จะขึ้นมาอยู่บนบกต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง?

หน้า 1 2 3