จากรูปที่ 3-8 เดิมมวล m อยู่ที่ตำแหน่ง ซึ่งวัดจากตำแหน่งสมดุล ซึ่งหมายความว่าเดิมนั้นสปริงมีความยาวมากกว่าความยาวปกติของสปริงอยู่ แล้วต่อมาเราได้ออกแรง ดึงมวล m ให้มาอยู่ที่ตำแหน่ง วัดจากตำแหน่งสมดุล ซึ่งตามกฏของฮุกแล้ว สปริงจะออกแรง ดึงกลับในทิศทางตรงข้าม กับการกระจัดจากตำแหน่งสมดุลตามสมการ



รูปที่ 3-8 แสดงการยืดออกของสปริงเนื่องจากมีแรงกระทำ
โดยในขณะเดียวกันสปริงก็ออกแรงดึงกลับขนาดเท่ากันแต่มีทิศทางตรงข้ามกัน

ดังนั้นเราสามารถหาการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์ของสปริง ได้จากสมการที่ (3-26)


 
(3-28)

สมการที่ (3-28) แสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์ยืดหยุ่น ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนตำแหน่งของสปริงจากจุดสมดุล ซึ่งสอดคล้องกับสมการที่ 3-24 และ สมการที่ 3-12