สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการห้องเรียนโค้ดดิ้ง สำหรับผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 วันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงแรม เดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท จังหวัดนครปฐม เพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ ทักษะการบริหารงานบุคคล ทักษะความเป็นผู้นำ และทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้บริหาร รวมถึงการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการห้องเรียนโค้ดดิ้งในกลุ่มครูผู้สอน
โดยจัดโครงการแยกกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหาร และครูผู้สอน โดยในวันแรก 20 พฤศจิกายน 2563 เป็น โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้บริหารและครูในการบริหารจัดการห้องเรียนโค้ดดิ้งอย่างมีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นด้วยการพิธีเปิดโครงการ โดยรองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ (IL) กล่าวต้อนรับ ผู้บริหารและคุณครูที่เข้าร่วมโครงการ และกล่าวเปิดโครงการฯ โดย ดร.รัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และถ่ายภาพร่วมกันระหว่างทีมบริหารของสถาบันฯ ทีมงานของ DEPA รวมทั้งคณะผู้บริหารและคุณครู
กิจกรรมต่าง ๆ ในโครงการฯ เริ่มต้นด้วยการบรรยายของ รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ในหัวข้อ Leadership Style and Emotional Intelligences ทักษะภาวะผู้นำ และการบริหารงานบุคคล โดยใช้ DISCO Personality Style และทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการจัดการโครงการ จากนั้นมอบใบประกาศนียบัตร แก่ผู้บริหารผู้เข้าร่วมการอบรม
.โครงการสำหรับครูผู้สอนจัดขึ้นในวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2563 คือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการติดอาวุธในการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้งให้แก่ครูระดับประถมศึกษา/มัธยมศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ชุมชน และสังคม” เพื่อพัฒนาครูผู้สอนให้มีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี ส่งเสริมทักษะการออกแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ โดยในช่วงเช้าของวันที่ 21 พฤศจิกายน 2563 เป็นการบรรยายโดยทีมวิทยากร ดร.ปรเมศวร์ เหล่าสินชัย ดร.วรารัตน์ วงศ์เกี่ย ดร.อาทร นกแก้ว และ อ.วีณา เนาวประทีป ในหัวข้อการสอน Artificial Intelligence (AI) ผ่านกิจกรรม CS unplugged ตามด้วยการเรียนรู้จากตัวอย่างการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้งของห้องเรียนในประเทศไทย จากตัวแทนโรงเรียน และทีมวิทยากรจะช่วยแชร์ข้อมูลรวมทั้งเสนอแนะวิธีที่จะนำไปปรับใช้
สำหรับช่วงบ่ายจัดกิจกรรมเป็นห้องย่อย โดยในแต่ละกิจกรรมมีการวิเคราะห์ความพร้อมด้านต่าง ๆ ในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้งของโรงเรียน เพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ศตวรรษที่ 21 และหาแนวทางในการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้งแนวใหม่โดยพิจารณาจากความพร้อมของโรงเรียน กิจกรรมทั้ง 4 ได้แก่
1. Unplugged Activity โดย ดร.พัชรพรรณ ศิริวัฒน์ และ อ.วีณา เนาวประทีป
2. Programming โดย ผศ.ดร.น้ำค้าง ศรีวัฒนาโรทัย และ ดร.วรารัตน์ วงศ์เกี่ย
3. Robot and IOT โดย ดร.อาทร นกแก้ว และ ดร.ติณณภพ แพงผม
4. Data Science & AI โดย ดร.ปรเมศวร์ เหล่าสินชัย และ อ.สิรภพ นักเสียง
ในวันสุดท้ายของโครงการสำหรับครูผู้สอน 22 พฤศจิกายน 2563 เป็นกิจกรรมการเลียนแบบหุ่นยนต์ โดยให้แต่ละคนในกลุ่มรับหน้าที่ผู้สร้างคำสั่ง ผู้รับคำสั่ง และผู้ตรวจจับ ทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายคือโจทย์ที่วิทยากรเตรียมไว้ให้ เพื่อให้เข้าใจการทำงานของหุ่นยนต์ โดย ดร.อาทร นกแก้ว และดร.ติณณภพ แพงผม ตามด้วยกิจกรรม Computational Thinking in Programming โดย ผศ.ดร.น้ำค้าง ศรีวัฒนาโรทัย และดร.วรารัตน์ วงศ์เกี่ย กิจกรรมนี้ให้เหล่าคุณครูเรียนรู้ทำงานเป็นทีมในการสร้างโค้ดเพื่อแก้โจทย์ที่ได้รับจากวิทยากร จากนั้นในช่วงบ่ายเป็นการวางแผนการพัฒนาห้องเรียนแนวใหม่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้โค้ดดิ้งสำหรับผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 โดยการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการ และหมุนเวียนอย่างเป็นระบบเพื่อแลกเปลี่ยน เสนอแนะความคิดเห็นจากเพื่อนครูผู้ร่วมโครงการเพื่อนำแนวคิดที่ได้จากเพื่อนครูต่างโรงเรียนมาปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้งในโรงเรียนของตนเอง .
ภาพเพิ่มเติม https://photos.app.goo.gl/E1kL1yMB6qdzcMNj7 Views : 137 views