โครงการ “MU War of STEM 2023 สมรภูมิทักษะประดิษฐ์หุ่นยนต์สะเต็มศึกษา”
สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ระหว่าง วันเสาร์ที่ 27 ถึงวันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2566
ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะสะเต็มศึกษาผ่านทางการประดิษฐ์หุ่นยนต์จากการเขียนโค้ดดิ้ง
2. เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สะเต็มศึกษาผ่านการแข่งขันหุ่นยนต์
3. เพื่อพัฒนาส่งเสริมศักยภาพและเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียน
รูปแบบการแข่งขัน
1. กฎและระเบียบโครงการประกวดแข่งขัน MU War of STEM 2023 ครั้งที่ 1
1.1 การตัดสินจะแบ่งเป็น 2 รอบ คือ
– รอบคัดเลือก จะทำการคัดเลือกจากทีมที่สมัครทั่วประเทศในจำนวน 32 ทีม โดยรวมกับโรงเรียนที่เคยเข้าร่วมโครงการ STEM & Robotics Camp ของ สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยจะต้องส่งคลิปวีดีโอ เกี่ยวกับการพัฒนาหุ่นยนต์ การประดิษฐ์และการอธิบายข้อมูลการทำงานของหุ่นยนต์ที่ประดิษฐ์ขึ้น คลิปละไม่เกิน 3 นาที ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกทางเว็บไซต์สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ และ เพจ STEM and Robotics Camp
– รอบชิงชนะเลิศทำการแข่งขัน ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ทีมที่ผ่านการคัดเลือกรับฟังคำชี้แจงกติกาการแข่งขัน ในวันที่ 27-28 พฤษภาคม 2566 เริ่มเวลา 8.30 น. และทำการแข่งขันจนถึงเวลา 16.30 น.
2. การสมัครและคุณสมบัติของทีมที่สมัครเข้าร่วมแข่งขัน
2.1 รับสมัครจำนวนทีมที่เข้าร่วมแข่งขันจำนวน 32 ทีม โดยจะคัดเลือกจากคลิปวีดิโอที่ส่งเข้ามา
2.2 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 27 เมษายน 2566 ผ่านทาง Google Form (Click) โดยหลักฐานที่จะต้องส่งมาด้วย คือ คลิป วีดีโอ เกี่ยวกับการพัฒนาหุ่นยนต์ประดิษฐ์และการอธิบายข้อมูลการทำงานของหุ่นยนต์ที่ประดิษฐ์ขึ้น คลิปละไม่เกิน 3 นาที
2.3 คณะกรรมการดำเนินงานจะพิจารณาความสมบูรณ์ของข้อที่ 2.2 โดยจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 32 ทีม เพื่อทำการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 32 ทีม พร้อมทีมลำดับสำรองทางเว็บไซต์สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ และ เพจ STEM and Robotics Camp ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2566
คุณสมบัติของผู้สมัคร
ผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องศึกษาอยู่ในชั้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (ปีการศึกษา 2565) โดยมีสมาชิกในทีม ทีมละ 3 คน และ มีคุณครู-อาจารย์ที่ปรึกษา หรือ ผู้ปกครองจำนวน 1 คน
Software และ hardware ที่ต้องใช้ในการแข่งขัน
– Software ใช้ https://makecode.microbit.org/ หรือที่ทีมถนัด
– Hardware ใช้ microcontroller Micro: bit 2 ตัว ร่วมกับตัวบอร์ดขยาย Reka: bit เซนเซอร์เดินตามเส้น Maker Line: Simplifying Line Sensor for Beginner จากบริษัท ไซตรอน เทคโนโลยี จำกัด มอเตร์ทดเกียร์ 2 อัน ทางทีมจัดแข่งเตรียมไว้
ข้อมูลการแข่งขันเบื้องต้น แบ่งออกเป็น 2 ภารกิจ
– ภารกิจแรก เขียนโค้ดเพื่อให้บอร์ด microbit 2 บอร์ด สื่อสารไร้สายผ่านคลื่นวิทยุ ด้วยฟีเจอร์ radio เพื่อบังคับหุ่นยนต์
– ภารกิจสอง เขียนโค้ดเพื่อให้หุ่นยนต์สามารถเดินตามเส้นที่กำหนด สนามการแข่งขันจะอัพเดททางเว็บไซต์สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ และ เพจ STEM and Robotics Camp ในวันที่ 30 มีนาคม 2566
รางวัล
– รางวัลทีมชนะเลิศ
• เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– รางวัลทีมรองชนะเลิศ อันดับ 1
• เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– รางวัลทีมรองชนะเลิศ อันดับ 2
• เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– รางวัล Creative STEM Coding & Robotics Challenge
• เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
– รางวัลชมเชย 4 รางวัล
• เงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
หมายเหตุ :
1. เกียรติบัตรจะออกให้เฉพาะผู้ที่มีรายชื่อถูกต้องตามใบสมัครเท่านั้น
2. ปิดรับสมัครวันที่ 27 เม.ย. 2566
3. สามารถตรวจสอบผลการสมัครเข้าร่วมแข่งขันได้ที่เว็บไซต์ (https://il.mahidol.ac.th/th ) และเพจ STEM and Robotics Camp
4. ผู้รับผิดชอบขอสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนกำหนดการต่าง ๆ และการแข่งขัน เพื่อความเหมาะสม
5. ผู้รับผิดชอบการแข่งขันจะจัดอุปกรณ์ให้ใช้ในการแข่งขันกลุ่มละ 1 ชุด (รับในวันแข่งขัน) แต่พลังงานต้องนำมาเอง ถ่าน AA อย่างน้อย 8 ก้อน และ AAA อย่างน้อย 4 ก้อน
6. อุปกรณ์สำหรับเขียนโค้ด (คอมพิวเตอร์) กรรไกร มีดคัตเตอร์ ไขควง หรืออุปกรณ์ช่างอื่น ๆ ต้องนำมาเอง
7. ผู้เข้าร่วมแข่งขันต้องทำการศึกษาด้วยตนเอง ก่อนเข้าร่วมแข่งขัน
ติดต่อสอบถามรายละเอียด
นายพงษ์ผไท กิจรุ่งโรจนาพร
มือถือ : 084-072-6381
Email: rungload@hotmail.com