จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 62 – สาระน่ารู้ 1

Newsletters

พฤกษศาสตร์แสนสนุก : เรียนรู้พืชจากวรรณกรรมกามนิต-วาสิฏฐี

ดร. มนัสวี ศรีนนท์
วรนาฏ คงตระกูล

      หากกล่าวถึงวรรณกรรมรัก หนึ่งในบทกวีนั้น ต้องมีคนนึกถึง เรื่อง กามนิต-วาสิฏฐี  ที่เป็นวรรณกรรมที่สร้างความประทับใจและถูกแปลไปหลายภาษาทั่วโลกนั้น สถานที่หนึ่งที่สำคัญมากๆ เป็นฉากหลักของการดำเนินเรื่องคือ ลาน อโศก

    และเมื่อกล่าวถึงลานอโศก ในเรื่อง กามนิต-วาสิฏฐี  นั้น อาจนึกถึงการเป็นที่พบรัก ขณะตีคลี บ้างก็นึกถึงสถานที่พบปะ พูดคุย พลอดรัก ท่ามกลางธรรมชาติและแสงจันทร์ รวมถึงเป็นสถานที่ ที่ทั้งคู่ได้ให้สัญญากัน ใต้ร่มอโศก คำมั่นของคนทั้งสอง ว่าจะกลับมาพบกันที่นี่ หากห่างไกลกัน ให้รำลึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุขที่นี่ ภายหลัง เมื่อกามนิตจากไปปฏิบัติภารกิจ วาสิฏฐีก็พร่ำพรรณนา รำพันกับต้นโสก และนางยังคงยึดมั่นในความรักที่มีต่อกามนิตเสมอ ต้นอโศกเลยเป็นสัญลักษณ์นึงของความรัก ความคิดถึง การห่างไกลคนรัก   “โสก”  หรือ “อโศก”  หมายถึงการไม่โศกเศร้า เป็นสัญลักษณ์ของความรักที่ไม่เห็นแก่ตัว ซึ่งในทางพุทธศาสนา เรียกว่า “ความเมตตา” ชาวอินเดียมักใช้ “ดอกโสก”  หรือ “ดอกอโศก”  ถวาย พระ ถวายเทพแห่งความรักหรือกามเทพ  ซึ่งมีบางตอนในวรรณกรรมได้กล่าวถึงการใช้กลีบดอก สีแดงสด ผสมน้ำในการใช้ชำระร่างกาย  ในวรรณกรรมนี้ยังได้กล่าวถึงดอกไม้นี้ในเชิงสัญลักษณ์อยู่หลายประการ รวมถึงการเสี่ยงทายว่าจะได้พบกับกามนิตอีกหรือไม่ ข้อความแปลตามเรื่องกามนิต วาสิฏฐี ตอนหนึ่ง….ดอกอโศกเอย ขอเสี่ยงทายคำอธิษฐาน ว่าหากดอกย่อยสีเหลืองส้มนี้ร่วงลงมาในเวลานี้ ตกลงมาจำนวนน้อยกว่าหนึ่งร้อยดอกแล้ว กามนิตจะยังมีชีวิตอยู่เป็นแน่แท้ หากไม่แล้วเห็นทีคงพบกันในแดนสุขาวดีเป็นแน่นอน 

        ในวันนี้ผู้เขียนขอนำพืชที่เราได้ยินชื่อบ่อยๆ ในวรรณกรรมนี้ มาให้เรียนรู้กันเพิ่มเติมในมุมมองพฤกษศาสตร์  ต้นไม้ที่มีชื่อสามัญคล้ายกัน โสกสะปัน โสกพวง โสกน้ำ หรือโสกอินเดียนี้ มีผู้กล่าวถึงหลายชนิด ขอนำเสนอ สองชนิดที่มีความเป็นไปได้ในวรรณกรรม ได้แก่ ต้นโสกสะปัน หรืออโศกสปัน และต้นโสกพวง ทั้งสองชนิดนี้ มีช่อดอก สีแดง ส้ม สดใส กลีบดอกมากมาย และการร่วง หล่นในช่อหนึ่ง อาจต่างเวลากัน บางครั้งช่อดอกใหญ่จะเห็นทั้งดอกย่อยที่สดและเหี่ยวอยู่ด้วยกัน

         ต้นโสกสะปัน หรืออโศกสปัน และต้นโสกพวงเป็นพืชใน Genus Brownea วงศ์: Fabaceae (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE) มีชื่อสามัญว่า rose of Venezuela, Ariza และ Palo de Cruz ชื่อท้องถิ่น โสกสะปัน หรืออโศกสปัน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันในหลายชนิด Brownea grandiceps Jacq. , โสกพวง * บัวตัน** Brownea ariza Benth. *** ผู้กล่าวว่าอาจมีต้นกำเนิดจากอเมริกาใต้ หรือ เวเนซุเอลา**** สามารถเจริญได้ในเขต Tropical Rain forest   

*https://rpplant.royalparkrajapruek.org/FrontPlant/Index_slide2?id0=895&id1=665&id2=5625&id3=895&id4=5599&id5=3674&id6=3322
**https://data.addrun.org/plant/archives/949-brownea-ariza-benth
***http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2327
****http://www.rspg.or.th/articles/df/df4.htm

ภาพ ช่อดอก ต้น พืชในสกุล Brownea ถ่ายโดย วรนาฏ

  ต้น แผ่ทรงพุ่มแนวกว้าง ขนาดไม่สูงมากนัก ไม้ยืนต้นขนาดกลาง อายุหลายปี สูง 5-15 เมตร ทรงพุ่มแผ่กว้าง หนาทึบ เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม
        ดอก ออกเป็นช่อทรงกลม ช่อดอกมีดอกย่อยมากมาย อัดกันแน่น เกสรตัวผู้ยาวพ้นช่อดอก บางชนิดสีเข้มตามลำดับการออกช่อก่อน-หลัง ออกดอกเกือบตลอดปี ออกมากช่วง กรกฎาคม-ตุลาคม
        ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ 6-8 คู่ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 8-10 เซนติเมตร ยาว 10-12 เซนติเมตร ปลายแหลมยาวคล้ายหาง โคนมน ขอบเรียบ ใบหนา ผิวเกลี้ยง เป็นมัน ใบอ่อนแผ่นใบสีน้ำตาล มีจุดประสีน้ำตาลอ่อนถึงสีเขียวอ่อนกระจายทั่วใบ ใบห้อยลงเป็นพวงที่ปลายกิ่ง ใบแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ใต้ใบสีซีดกว่า
        ผล ผลเป็นฝัก แบนและแข็ง เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ด 1-9 เมล็
        การปลูกเลี้ยง ดินร่วน ต้องการน้ำปานกลาง แสงแดดปานกลาง
        การขยายพันธุ์ ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ อาศัยเพศ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ไม่อาศัยเพศขยายพันธุ์ โดยการตอนกิ่ง

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (No Ratings Yet)
Loading…
Views : 294 views