SciVal ใช้ยังไงให้เกิดประโยชน์: Overview (ตอนที่ 2)
หลังจากที่เราทราบมาแล้วว่า Scival (https://www.scival.com) เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย สำนักพิมพ์ Elsevier B.V. เป็นโปรแกรมจัดการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการงานวิจัยเป็นหลักในตอนที่ 1 และด้วยฟังก์ที่หลากหลายของ Scival ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ข้อมูลได้ตามความต้องการ ดังรายละเอียดแถบเมนูหลักๆ ดังนี้
- Overview (แสดงประสิทธิภาพของการวิจัย)
- Benchmarking (การเปรียบเทียบสมรรถนะผลงานวิจัยระหว่างสถาบัน)
- Collaboration (ข้อมูลความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและองค์กรต่างประเทศ/ในประเทศ)
- Trends (ข้อมูลแนวโน้มการวิจัย)
- Reporting (การแสดงผล)
ในตอนที่ 2 เราจะมารู้จักกับเมนูที่เรียกว่า Overview ซึ่งเป็นเมนูที่การแสดงภาพของประสิทธิภาพการวิจัยในภาพรวมของสถาบันการศึกษา ประเทศ หัวข้องานวิจัย และอื่นๆ ตามที่ได้เลือกไว้
- Overview Tab แสดงข้อมูลโดยสรุประหว่างสถาบันการศึกษา ประเทศ หัวข้องานวิจัย และอื่นๆ ตามที่ได้เลือกไว้
- แถบตัวเลือกของประเภทการวิจัยที่ต้องการค้นหา หรือจัดกลุ่ม ช่วยให้สามารถเลือกหน่วยประเภทงานวิจัยได้จาก
– Institutions and Groups สถาบันการศึกษา และกลุ่มของสถาบันการศึกษา
– Researchers and Groups นักวิจัย และกลุ่มของนักวิจัย
– Countries and Groups ประเทศ และกลุ่มของประเทศ
– Research Areas and Groups สาขาวิชาของงานวิจัย และกลุ่มของสาขางานวิจัย
- ขอบเขตของระยะเวลาที่ต้องการ (ปีค.ศ.ที่ตีพิมพ์) และตัวกรองของสาขาวิชา สามารถเลือกสาขาวิชาจากตัวเลือกทั้งหมด 27 สาขาวิชาในฐานข้อมูลของ Scopus All Subject Journal Classification(ASJC)
- ภาพรวมของตัวเลือกของประเภทการวิจัยที่ต้องการค้นหา หรือจัดกลุ่ม และตัวเลือกของรูปแบบตัวชี้วัด แสดงรายละเอียดเพื่อให้สามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เลือกได้ เช่น
– Scholarly Output แสดงผลงาน Publication ตามจำนวนปีที่ต้องการ/รายละเอียดของผลงานที่ตีพิมพ์ม
– ข้อมูล Citation Count, Citation per Publication รวมถึง ค่า H-index
– ข้อมูล Publications by Subject Area
– ข้อมูล Research Topics & Topic Clusters
– ข้อมูล Collaboration, Authors (for Institutions and Research Areas), Institutions (for countries)
– ข้อมูล Economic Impact
– ข้อมูล Societal Impact (for institutions)
– ข้อมูล Awarded Grants (for institutions and countries)
ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ข้อมูลได้ตามความต้องการ และสามารถนำมาใช้ในการปรับปรุงแผน กลยุทธ์หรือกำหนดนโยบายในการดำเนินงานวิจัย ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาปรับปรุงการดำเนินงานวิจัยของส่วนงาน รวมถึงเกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนักวิจัยทั้งในและนอกประเทศ และยังมีเมนูอื่นๆ ที่น่าสนใจและมีความหลากหลายสามารถติดตามในตอนต่อไปในฉบับหน้านะคะ
ที่มา
https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/11299-scival
https://www.research.chula.ac.th/
https://op.mahidol.ac.th/ra/research_info/research_info_scival/
เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน
(No Ratings Yet)Loading…