จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 64 – นวัตกรรมจากสถาบัน

Newsletters

การพัฒนาระบบการเรียนแบบกลับด้านอย่างจำเพาะต่อบุคคลเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศ การรับรู้ความสามารถแห่งตน และแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา : การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ

เรื่อง : รองศาสตราจารย์ ดร. พัชรินทร์ ปัญจบุรี1 และ ดร.จุฑาทิพย์ ศรีสุวรรณ2

         ในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเข้าถึงข้อมูลจึงกลายเป็นเรื่องง่าย และสะดวกสบาย ทักษะการรู้สารสนเทศจึงกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 นอกจากนั้นระบบวิเคราะห์ความรู้เดิมของผู้เรียนยังเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญที่ควรนำมาใช้ร่วมกันในการเรียนรู้หรือพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ของผู้เรียน ในปัจจุบันการเรียนแบบกลับด้านที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางได้รับความนิยมในการเรียนระดับอุดมศึกษา และการเรียนรู้แบบภควันตภาพยังเป็นที่ยอมรับในวงกว้างในการเป็นวิธีที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นระบบการเรียนแบบกลับด้านจำเพาะต่อรายบุคคลเพื่อส่งเสริมการรู้สารสนเทศจึงถูกพัฒนาขึ้น ผลการศึกษาพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การรับรู้ความสามารถแห่งตน และแรงจูงใจทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการเรียนแบบกลับด้านจำเพาะต่อรายบุคคลสูงกว่านักศึกษาที่เรียนด้วยระบบการเรียนแบบกลับด้านแบบดั้งเดิม

        องค์ประกอบที่สำคัญในการจัดชั้นเรียนแบบกลับด้านที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ระบบการเรียนรู้นอกชั้นเรียน ระบบการเรียนรู้ในชั้นเรียน ระบบการจัดการข้อมูลชั้นเรียน และฐานข้อมูล

        ระบบการเรียนรู้นอกห้องเรียน ประกอบด้วยโมดูลการทดสอบที่นักเรียนใช้ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการรู้สารสนเทศเพื่อประเมินความรู้เดิมก่อนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้และได้รับคะแนนรวมของการทดสอบตามด้วยโมดูลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในโมดูลการเรียนรู้ด้วยตนเองนักเรียนทุกคนจะได้รับข้อมูลจากผู้สอน เนื้อหารายวิชา และการปฏิบัติและการฝึกซ้อมที่ได้รับมอบหมายในลำดับของหน่วยการเรียนรู้ก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน ระบบการเรียนรู้ในชั้นเรียน เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่นักเรียนสามารถมีส่วนร่วมในการอภิปรายและฝึกแบบฝึกหัดในลักษณะของงานกลุ่มและกิจกรรมการเล่นเกมในห้องเรียนร่วมกันกับเพื่อนและครู ระบบการจัดการข้อมูลชั้นเรียน ช่วยให้ครูอัปโหลดสื่อการเรียนรู้ (เช่นวิดีโอคลิปและเอกสารประกอบคำบรรยาย) เพื่อให้นักเรียนเข้าถึง ซึ่งผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะขึ้นอยู่กับกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน และ ฐานข้อมูล ซึ่งไม่เพียงแต่บันทึกข้อมูลของนักเรียน แต่ยังจัดเตรียมรายการทดสอบและบันทึกคำตอบเพื่อสร้างรายงานประสิทธิภาพการรู้สารสนเทศของพวกเขาในระบบการเรียนรู้นอกห้องเรียน พร้อมสถานการณ์เรียนรู้ตามโมดูลการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการเรียนนอกห้องเรียน และระบบการสนทนาเพิ่มเติมในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในชั้นเรียน

แหล่งอ้างอิง
Srisuwan, C., & Panjaburee, P. (2020). Implementation of flipped classroom with personalised ubiquitous learning support system to promote the university student performance of information literacy. International Journal of Mobile Learning and Organisation, 14(3), 398-424

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (1 votes, average: 4.00 out of 4)
Loading…
Views : 61 views