โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ
“สอน Python อย่างไรให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นทำโครงงานอย่างง่ายได้”
วิทยาการคำนวณ (Computing Science) เป็นรายวิชาใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้าไปในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ฉบับปรับปรุง 2560) เพื่อพัฒนาผู้เรียนในยุคประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้ใช้ทักษะแนวคิดเชิงคำนวณในการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ แนวคิดการจัดการเรียนรู้นี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างผู้เรียนให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี อีกทั้งสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ให้มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายมากขึ้น
ภาษาไพทอน (Python) เป็นภาษาในการเขียนโปรแกรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เนื่องจากไม่ยึดติดกับ platform มีความเป็น open source ที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมถึงสามารถปรับโค้ดของคนอื่นมาใช้ในงานของเราได้ จึงเป็นเหตุผลให้มีคนช่วยกันพัฒนา นำมาสู่การประยุกต์ใช้ในการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ ที่หลากหลาย อาทิ เวบ การคำนวณ การแก้ปัญหาต่าง ๆ หรือแม้แต่เกม ด้วยเหตุนี้ ภาษาไพทอนจึงถูกเลือกเป็นหนึ่งหัวข้อสำคัญในการเรียนรายวิชาวิทยาการคำนวณระดับมัธยมศึกษาทั้งตอนต้นและตอนปลาย
โครงการนี้เหมาะสำหรับ
1. ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2. ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
พื้นฐานที่จำเป็นของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1. มีความสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้ดี
2. มีความตั้งใจและอยากเรียนรู้
**ผู้เข้าร่วมอบรมต้องนำคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คมาเอง**
ความต้องการของระบบ
1. CPU : Core i5, i7 or faster
2. RAM : 4GB Minimum (8 GB Recommended)
3. OS : Windows 8 and later, Mac OSX 10.6 and later, Ubuntu 16.10 and later
วัน เวลา และสถานที่ดำเนินการ
– วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30–16:30 น.
ณ ห้องประชุมบุญศิริ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม
– วันเสาร์–อาทิตย์ที่ 20–21 เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30–16:30 น.
ณ ห้องประชุม 109 ชั้น 1 อาคารปัญญาพิพัฒน์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม
ข้อกำหนดและคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรม
1. เป็นครูผู้สอนรายวิชาวิทยาการคำนวณในระดับมัธยมศึกษา ในปีการศึกษา 2562
2. มีความมุ่งมั่นตั้งใจเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาการคำนวณให้แก่นักเรียน
3. มีคอมพิวเตอร์ Notebook ส่วนตัวที่มีคุณสมบัติตามที่ระบุไว้ข้างต้นและสามารถนำมาใช้ในการทำกิจกรรม
4. สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ตลอดทั้ง 3 วัน ในกรณีที่เข้าร่วมได้ไม่ถึง 80% ของจำนวนชั่วโมงทั้งหมด ท่านจะไม่ได้รับใบประกาศนียบัตร ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
5. ยินดีรับผิดชอบค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
คุณเจณิสตา พวงทอง
สถาบันเทคโนโลยีเพื่อนวัตกรรมสังคม ภายใต้มูลนิธิบูรณชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
อีเมล์ : jenisdha@socialtech.or.th
เบอร์ติดต่อ : 061-369-9191