โครงการ “MU War of STEM 2023 สมรภูมิทักษะประดิษฐ์หุ่นยนต์สะเต็มศึกษา” สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วันที่ 27-28 พฤษภาคม 2566

อบรม/บริการวิชาการ

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล บริษัท Cytron Technologies และ บริษัท Nakamoto games จัดโครงการ “MU War of STEM 2023 สมรภูมิทักษะประดิษฐ์หุ่นยนต์สะเต็มศึกษา” สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนทั้งหมด 29 ทีม วันที่ 27-28 พฤษภาคม 2566 ณ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

โดยวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการนี้

1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะสะเต็มศึกษาผ่านทางการประดิษฐ์หุ่นยนต์จากการเขียนโค้ดดิ้ง
2. เพื่อสร้างเครือข่ายการเรียนรู้สะเต็มศึกษาผ่านการแข่งขันหุ่นยนต์
3. เพื่อพัฒนาส่งเสริมศักยภาพและเพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้ของนักเรียน

วันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม 2566
ในพิธีเปิดการแข่งขันคุณพงษ์ผไท กิจรุ่งโรจนาพร หัวหน้าโครงการและผู้ดำเนินการแข่งขัน ได้เรียนเชิญ ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวต้อนรับกล่าวต้อนรับคณะกรรมการและผู้เข้าร่วมแข่งขัน และได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.นายแพทย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดโครงการ การแข่งขัน MU War of STEM 2023 สมรภูมิทักษะประดิษฐ์หุ่นยนต์สะเต็มศึกษา และมอบของที่ระลึกให้กับเจ้าภาพร่วมในการจัดโครงการในครั้งนี้ ดังนี้

1. ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
2. ผศ.ดร.ปานนท์ ลาชโรจน์ รองผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล
3. คุณ เอง ตอง ตัน กรรมการบริษัทไซตรอน (Cytron)
4. คุณชวลิต รักษาศรี chief executive officer ของ nagamoto game

จากนั้นเป็นการถ่ายภาพร่วมกัน

การบรรยายพิเศษ โดย รศ.ดร.นายแพทย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ในหัวข้อเรื่อง “Advances in AI, Robotics & Machine Learning”

ในช่วงบ่ายจะเป็นการแข่งขันจาก 29 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกโดยการส่งคลิปวิดีโอนำเสนอไอเดียในรอบแรก โดยทุกทีมจะทำการแข่งขันสะสมคะแนน สนามที่ 1 สมรภูมิทักษะประดิษฐ์หุ่นยนต์สะเต็มศึกษารอบสุดท้าย เพื่อสะสมคะแนนไปรวมกับการแข่งขันรอบสุดท้าย สนามที่ 2 ของวันถัดไป

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม 2566

ในช่วงเช้า ทั้ง 29 ทีม จะทำการปรับอุปกรณ์ และเตรียมทีมสำหรับแข่งขันรอบสุดท้าย สนามที่ 2

การบรรยายพิเศษเรื่อง “Future of AI for all (or not)” โดย รศ.ดร. วิบูลย์ ปิยวัฒนเมธา ผู้ร่วมก่อตั้ง สมาคมนักวิจัยรุ่นใหม่ (Thai Young Scientists Academy)

การแข่งขันรอบสุดท้าย สนามที่ 2 และการนำเสนอหุ่นยนต์สะเต็มศึกษา

ดร.ติณณภพ แพงผม อาจารย์ประจำสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล มอบเกียรติบัตรให้กับทุกทีมที่มาทำการแข่งขัน

รางวัลชมเชย จำนวน 4 รางวัล ได้แก่
1. โรงเรียนเทศบาล ๕ (พหลโยธินรามินทรภักดี) จังหวัด ราชบุรี
    ผู้ควบคุมทีม คุณโสรัจจ์ แสนคำ
    สมาชิกทีม 1. นางสาวปิยะดา พรมขาว 2. นายศุภณัฐ ลีลาวรรณเขต
(ผู้มอบรางวัล คุณชวลิต รักษาศรี chief executive officer และ คุณ โทแมก คอส advisor ของ nagamoto game)

2. โรงเรียนเวียงแหงวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่
    ผู้ควบคุมทีม คุณเกรียงไกร ปู่ยี่
    สมาชิกทีม 1. นายคุณานนท์​ มูหลิ่ง 2. ด.ช.อนุวัฒน์​ เต่จ๊ะ
(ผู้มอบรางวัล คุณชวลิต รักษาศรี chief executive officer ของ nagamoto game)

3. โรงเรียน ขจรเกียรติศึกษา จังหวัดภูเก็ต
    ผู้ควบคุมทีม คุณธัญญาวัลย์ เชียงอินทร์
สมาชิกทีม 1. ด.ช.สิรธีร์ อิสระพงศ์ภักดี 2. ด.ช.กษิดิศ นิเทศนพกุล
(ผู้มอบรางวัล คุณชวลิต รักษาศรี chief executive officer ของ nagamoto game)

4. โรงเรียนเทพศิรินทร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
    ผู้ควบคุมทีม คุณเเกริกกฤษณ์ กมลวิมุตศานต์
สมาชิกทีม 1. ด.ช.เจษฎากร กมลวิมุตศานต์ 2. ด.ช.กฤตภาส เตชนิมิตวัช 3. ด.ช.ปุณวิช วัชรวรธรรม
(ผู้มอบรางวัล คุณชวลิต รักษาศรี chief executive officer ของ nagamoto game)

รางวัล Creative STEM 
โรงเรียนบ้านชำฆ้อ จังหวัดระยอง
    ผู้ควบคุมทีม คุณยุทธนา อังคะคำมูล
สมาชิกทีม 1. ด.ญ.กัญญาณัฐ แสวงมงคล 2. ด.ช.สุรวิชญ์ ใจเย็น 3. ด.ช.นนทกานต์ ทินนะบัตร์
(ผู้มอบรางวัลคุณ โทแมก คอส advisor ของ nagamoto game)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
1.โรงเรียนหอวังนนทบุรี 2.บ้านเรียนโนบิตะ 3.ศกร.ชุมชนวิถีไท จังหวัดกรุงเทพมหานคร และ นครศรีธรรมราช
    ผู้ควบคุมทีม คุณพีรพัฒน์ พลอยประเสริฐ
สมาชิกทีม 1. ด.ช.ชนาธิป ธรรมธารา 2. ด.ช.จิรณัฐ์ ศิริจันทนันท์ 3. ด.ช.จูวัน คิม
(ผู้มอบรางวัล คุณชวลิต รักษาศรี chief executive officer และ คุณ โทแมก คอส advisor ของ nagamoto game)

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ลำดับที่ 10 จังหวัดขอนแก่น
    ผู้ควบคุมทีม คุณสมโชค แก้วอุทัศน์
สมาชิกทีม 1. ด.ช.ธันฐกรณ์ จิรเจริญพัฒน์ 2. ด.ช.นัธทวัฒน์ บูรณไมตรี 3. ด.ช.พีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์
(ผู้มอบรางวัล รศ. ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล)

รางวัลชนะเลิศ โครงการ “MU War of STEM 2023 สมรภูมิทักษะประดิษฐ์หุ่นยนต์สะเต็มศึกษา”
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นผ่ายมัธยมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ลำดับที่ 2 จังหวัดขอนแก่น
    ผู้ควบคุมทีม คุณระวีวรรณ พาณิชย์เจริญสกุล
สมาชิกทีม 1. ด.ช.ตฤณ ชนะวีรวรรณ 2. ด.ช.ศุภรุจ วรธนาพงษ์ 3. ด.ช.ภวิศ ปริวัฒนศักดิ์
(ผู้มอบรางวัล ผศ. ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.))

ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กล่าวปิดโครงการ “MU War of STEM 2023 สมรภูมิทักษะประดิษฐ์หุ่นยนต์สะเต็มศึกษา”

Views : 332 views