แนวทางการป้องกันการแพร่ระบาด COVID 19 ในการฝึกซ้อม และงานรับพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยมหิดล ปี 2565 ภายใต้การมีส่วนร่วม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เรื่อง : วรนาฏ คงตระกูล
ในปี 2565 มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง ต่างก็มีกำหนดการวันพระราชทานปริญญาบัตร ซึ่งอาจจะมีผู้จบการศึกษาสะสมตั้งแต่ปี 2563 และ 2564 เป็นจำนวนมากโดยจะมีการจัดงานสำหรับผู้จบการศึกษาแต่ละรอบนั้นอาจจะเผชิญสถานการณ์คล้ายกันคือ อาจต้องเพิ่มจำนวนวันในการจัดงาน อาจจัดงานต่อเนื่องในวันเวลา ใกล้กัน หรือจัดงานห่างกัน คนละสัปดาห์ รวมถึงการวางระบบการจัดการให้ผู้ร่วมงานทุกคน มีส่วนร่วมในการนำเข้าข้อมูลของตนเองทำให้เกิดความสะดวก ความปลอดภัยในส่วนของข้อมูลส่วนบุคคลท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งแนวทางจัดงานจะต่างกับก่อนที่จะมีการระบาดหลายประการ ซึ่งแม้ว่าโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะถูกถอดออกจากโรคระบาดประจำถิ่นแต่ในการมารวมตัวกันของคนหมู่มากที่มาจากหลาย ๆ พื้นที่ รวมถึงในกิจกรรมเป็นในเวลาที่ยาวนานพอสมควร ทางมหาวิทยาลัย มีจำนวนนักศึกษาที่จบการศึกษา ปีการศึกษา 2563 และ2564 ที่เข้ารับพระราชทานปริญญา เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ได้แยกการจัดงานในหลายวัน สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แยกจัดงานเป็น 2 วัน คือวันที่ 14 ตุลาคม 2565 และ 24 ตุลาคม 2565 โดยมีการจัดสถานที่ สำหรับการตั้งแถวรอเข้าหอประชุม แบบ open มีการติดตั้งเต็นท์ทางเดินที่ยาวมาก เพื่อให้มีการเว้นระยะทางสังคม การกันฝน หลบแดด รวมถึงติดตั้งไฟให้มีแสงสว่างเพียงพอในการเดินตามทาง มีการจัดที่นั่งในการฝึกซ้อมย่อย ที่ห่างกัน การแบ่งกลุ่มย่อยในการฝึกซ้อมเป็นหลายรอบเพื่อลดความแออัดรวมถึงการใส่หน้ากากตลอดการร่วมกิจกรรม มีการตรวจเช็คอุณหภูมิก่อนเข้าห้อง รวมถึงการสร้างระบบคัดกรองก่อนร่วมกิจกรรม
แนวทางคัดกรองด้านความปลอดภัย ตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด COVID19 เป็นไปเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมงานทุกคน มีแนวทางปฏิบัติช่วงการซ้อมใหญ่และเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรส่วนการซ้อมย่อยนั้นจะมีการส่งผลตรวจทั้งผู้ฝึกซ้อมและบัณฑิตผ่านระบบของส่วนงานแต่ละส่วนงานซึ่งอาจทำรองรับอย่างง่ายด้วยการกรอกแจ้งผล google form ในรอบแรกของการซ้อม ทำให้มีการฝึกนำเข้าข้อมูล ในเบื้องต้นให้คุ้นชิน ก่อนจะนำเข้าข้อมูลในการซ้อมใหญ่และการรับจริง จะมีการส่งผลตรวจทั้งกรรมการผู้ที่ปฏิบัติงานในหอประชุมและบัณฑิตโดยส่งผลให้ระบบของมหาวิทยาลัย ซึ่งสืบค้นและประมวลผลในภาพรวมได้ ซึ่งทำให้ลดความเสี่ยงในการร่วมงานสำหรับทุกคน หากใครตรวจพบผลว่าพบเชื้อ จะไม่อนุญาตให้ร่วมกิจกรรม ทางมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้พิจารณาการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้เข้าร่วมงาน กรณีมีการปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเช่นไม่ได้ตรวจ ไม่ได้ส่งผลตรวจตามเวลาที่แจ้งไว้ในระบบหรือตรวจผิดประเภทที่ระบุไว้ ในการตรวจคัดกรองก่อนเข้าร่วมงาน ตรวจก่อนได้ 48 ชั่วโมงโดย ตรวจ ATK หรือ RT- PCR ตามแนวทางที่ทางมหาวิทยาลัยได้ให้ Guild line ไว้แยกแนวทางพิจารณาเป็นกรณีฉีดวัคซีนครบ/กรณีฉีดวัคซีนไม่ครบหรือไม่ฉีด ว่าประเภทใดเป็น self ATK คือตรวจเอง, professional ATK คือให้สถาบันทางการแพทย์ตรวจและออกใบรับรองให้ หรือ RT-PCR ที่ตรวจและออกใบรับรองโดยสถาบันฯ ทางการแพทย์ ในวันซ้อมย่อย วันซ้อมใหญ่ และวันจริง
ข้อปฏิบัติสำหรับระบบคัดกรองคือ
1. การแจ้งการฉีดวัคซีนในระบบตามกำหนด
2. การตรวจคัดกรอง COVID19 ตาม Guild line ที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด
3. การส่งผลและไฟล์แนบภาพผลตรวจ ยืนยันด้วยการถ่ายภาพคู่บัตรประจำตัวประชาชนหรือพาสปอร์ตทำการเข้าระบบด้วยการ log in รายบุคคลด้วยรหัสเข้า internet ของตัวเอง
4. การสอบทานข้อมูลโดยผู้สอบทานผล โดยมี 2 คนที่จะตรวจเช็คและแจ้งว่าผ่านหรือไม่ คนที่ 1 ผู้รับมอบหมายประจำส่วนงาน คนที่ 2 ผู้รับมอบหมายจากบัณฑิตวิทยาลัยหรือ อื่น ๆ สำหรับผู้ที่ไม่ส่งผลตรวจหรือที่ไม่รับปริญญา จะระบุ ไม่ผ่านด้วยเหตุผลใด
หากบัณฑิตเข้าระบบไม่ทันตามเวลาที่กำหนด จะไม่สามารถส่งผลตรวจ ATK ด้วยตัวเองได้ จะต้องส่งผลไปที่ผู้สอบทานบัณฑิตประจำส่วนงาน หรือผู้ประสานงานกลาง เป็นผู้นำข้อมูลผลตรวจเข้าระบบ รวมถึงสอบทานข้อมูลดังกล่าวด้วย
ดังจะเห็นว่ามาตรการป้องกัน มีขึ้นเพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้คนหมู่มาก ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดความเสี่ยงในการกระจายโรค ยังเป็นแนวทางที่ก่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็วของผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมงาน ลดการรวมกลุ่มหน้างานเพราะส่งผลมาจากที่ต่าง ๆ ได้ ข้อมูลอยู่ในระบบ สามารถตรวจสอบ ประมวลผลได้อย่างดี ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในปีต่อ ๆ ไปสำหรับปัญหาและส่วนของรายละเอียดในปีนี้ เช่น เวลาที่เหมาะสมในการเปิด ปิด ระบบ หรือผู้ปฏิบัติงานสามารถสอบทานข้อมูลได้ในขอบข่ายใด อาจทำให้คณะ สถาบันฯ ที่มีจำนวนผู้รับปริญญาน้อย ช่วยตรวจสอบข้อมูลของคณะฯ สถาบันฯ ที่มีจำนวนมาก เพื่อที่จะให้เกิดความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ทำให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการส่งผลการตรวจและการแนบไฟล์ภาพเข้าด้วยตนเองภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งทำให้ข้อมูลนำเข้าถูกต้อง และผ่านกระบวนการตรวจสอบโดยผู้สอบทานอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเมื่อทุกคนรับผิดชอบนำเข้าข้อมูลของตัวเอง ความถูกต้องในการ กรอกข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกต้องแม่นยำสูง ลดการทำงานของเจ้าหน้าที่ ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในปีต่อ ๆ ไปได้ ถือเป็นการพัฒนาแนวทางการทำงานอย่างยั่งยืน และการมีส่วนร่วมของผู้ร่วมกิจกรรมอย่างแท้จริง
เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน
(No Ratings Yet)Loading…