จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 67 – นวัตกรรมจากสถาบัน

Newsletters

การเปรียบเทียบความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับตัวแปรของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีความชอบในภาษาคอมพิวเตอร์ที่หลากหลาย: ข้อค้นพบสู่การออกแบบกิจกรรมการศึกษาที่สอดคล้องกับ TPACK

เรื่อง : ชนยุตฏษ์ ช้างเพชร1, รศ.ดร. พัชรินทร์ ปัญจบุรี2, ผศ.ดร. นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์3

        กว่าทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยมีความกังวลเกี่ยวกับความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับตัวแปรในการสอนและการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีการศึกษาจำนวนน้อยที่ได้สำรวจข้อกังวลนี้ในเชิงลึกจากมุมมองของนักศึกษาวิชาชีพครู และที่สำคัญความเข้าใจคลาดเคลื่อนของครูผู้สอนล่วงหน้าในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการสอนและการเรียนรู้ของผู้เรียน จึงจำเป็นต้องทำการแก้ไขความเข้าใจคลาดเคลื่อนเหล่านั้นเพื่อลดหรือป้องกันผลกระทบต่อผู้เรียน การศึกษานี้ได้ตรวจสอบความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่หลากหลายของนักศึกษาวิชาชีพครูด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยและผลกระทบของการเลือกใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ ต่อความเข้าใจคลาดเคลื่อน เรื่อง ตัวแปร โดยใช้แบบทดสอบวัดความเข้าใจคลาดเคลื่อน เรื่อง ตัวแปร แบบทดสอบนี้ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบจำนวน 18 ข้อ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดค่าตัวแปรใหม่ การกำหนดค่าตัวแปร a ใหม่ด้วยการพิมพ์สามค่า การกำหนดค่าตัวแปร b ใหม่ด้วยการพิมพ์สามค่าเพื่อกำหนดค่าตัวแปรใหม่ด้วยการแสดงผลสามค่า การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษากับกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาวิชาชีพครูด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จำนวน 151 คน ที่มีความชอบด้านภาษาคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน ในการศึกษานี้ได้ทำการทดสอบ

        Kruskal–Wallis และ Mann–Whitney U เพื่อเปรียบเทียบความชอบด้านภาษาคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน พบว่านักศึกษาวิชาชีพครูมีความเข้าใจความเคลื่อนเกี่ยวกับตัวแปร นักศึกษาวิชาชีพครูที่ชอบภาษา Logo และ Scratch ได้แสดงความเข้าใจคลาดเคลื่อนใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตามนักศึกษาวิชาชีพครูที่ชอบภาษา Python สามารถลดความความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับตัวแปรได้ดีกว่า ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปสู่การออกแบบกิจกรรมการศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูเพื่อลดความเข้าใจคลาดเคลื่อนในหลักสูตรการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ต่อไป ดังที่แสดงในภาพที่ 1 เกมไพ่ที่เรียกว่า WARiable จะถูกใช้กับแอปพลิเคชั่นมือถือที่ชื่อว่า Pydroid3 เพื่อสร้างแนวคิดที่ถูกต้องและลดความเข้าใจความเคลื่อนเกี่ยวกับตัวแปรในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ Python

ภาพที่ 1. การ์ดตัวละครและการ์ดตัวแปร

 

แหล่งอ้างอิง: Changpetch, C., Panjaburee, P., & Srisawasdi, N. 2022). A comparison of pre-service teachers’ variable misconceptions in various computer-programming preferences: Findings to teacher education course with TPACK. Journal of Computers in Education, 9(2), 149 – 172.

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (No Ratings Yet)
Loading…
Views : 67 views