จุลสารนวัตกรรม ฉบับที่ 65 – สาระน่ารู้ 6

Newsletters

แนวคิดเรื่อง “การปฏิรูป อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย : ไม่มีวันหยุดยั้ง”

เรื่อง : วรนาฏ คงตระกูล

         ข้อคิดดีดี ที่ได้รับจากการฟัง ปาฐกถาเกียรติยศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์ครั้งที่ 12 โดย ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในงานครบรอบ 53 ปีวันพระราชทานนามและ 134 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล วันที่ 2 มีนาคม 2565 เวลา 9.00 น.
         ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกประเทศไทยจะปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง disruptive change ได้อย่างไรในส่วนของการบริหารงาน ระดับอุดมศึกษา มีการรวมส่วนอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อร่วมผลักดันให้ทันกันกับการเปลี่ยนแปลง

ปฏิบัติการแห่งการปฏิรูป

        1.กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  สามารถให้ทุน ทำงานวิจัยและพัฒนาร่วมกับภาคเอกชนได้ ปกติการสนับสนุนทุนวิจัย ภาครัฐ/ภาคเอกชน ประมาณ 20/80 กองทุนนวัตกรรมเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมขนาดใหญ่/ขนาดกลาง/ขนาดย่อม ตั้งกองทุนเพื่อพัฒนา งานวิจัยด้านนวัตกรรม ภาคอุตสาหกรรม ถ้าจะเจริญก้าวหน้าต้องมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่กันไป
        2.ตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา หลักสูตรพิเศษเพื่อพัฒนาด้านวิจัย ซึ่งตามปกติจะดำเนินการจัดการเรียนการสอนจากอาจารย์ที่จบการศึกษามาจากต่างประเทศ มาถ่ายทอดให้ผู้เรียน ซึ่งยุคนี้การเรียนรู้มุ่งเน้นการปฏิบัติจริง การวิจัยและพัฒนา ให้เกิดประโยชน์
        3.การนำเอาผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เช่น บริษัทเอกชนบางแห่ง วิจัยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสัตว์ เพื่อศึกษา วิจัย ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้บริโภค ทดแทนเนื้อสัตว์จริง ๆ
        4.มีการจัดแบ่งมหาวิทยาลัยเป็น 5 ประเภท มุ่งเน้นความเป็นเลิศอย่างมีความหลากหลาย ด้านวิชาการ ด้านวิจัย  กลุ่มพัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยี และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม กลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น กลุ่มพัฒนาปัญญาและคุณธรรมด้วยหลักศาสนา และกลุ่มผลิต และพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ
        5.มีการพิจารณาผลงานที่จะใช้ขอตำแหน่ง ให้มีความหลากหลายขึ้น ไม่ใช่ทางตำราหรือวิจัยเพียงอย่างเดียว ผลงานที่ทำให้กับพื้นที่ หรือท้องถิ่น การสร้างนวัตกรรม ประดิษฐ์กรรม ที่ใช้ประโยชน์ได้ดี มีความโดดเด่นเป็นพิเศษ ศิลปะทางสุนทรียะ สามารถใช้ภาพ หรืองานศิลป์ขอตำแหน่งได้  สามารถใช้ผลงานเพลง การเทศน์ การอธิบายจากพระสงฆ์ การใช้ธรรมมะบำบัด หรือการสอนที่เป็นเลิศ มีความเฉพาะเจาะจง เป็นแบบฉบับ บุคลาธิษฐานของศาสตร์ที่สอน เช่นอาจารย์แพทย์ ศาสตราจารย์คลีนิค
        6.การลดข้อกำหนดของเวลาที่ใช้ในการศึกษา  แต่เดิม กำหนดระดับปริญญาตรี เรียนไม่เกิน 8 ปี ระดับปริญญาโท ไม่เกิน 5 ปี ระดับปริญญาเอก เวลาไม่เกิน 6 ปี ตอนนี้จะไม่มีเรื่องเวลามาจำกัด กำหนดเฉพาะผลการเรียน เช่น วางเกณฑ์การถูกรีไทน์จากเกรด หากทำได้ต่ำกว่าถูกรีไทน์ได้เช่นเดิม
         7.การทำข้อตกลง หรือ MOU ให้มีการเก็บหน่วยกิตเรียนข้ามมหาวิทยาลัยได้  หน่วยกิตครบ ทำเรื่องขอจบการศึกษาได้ตามข้อกำหนดร่วมกัน  อาจจะดำเนินการนำร่องในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ระดับปริญญาเอก/ปริญญาโทก่อน ระดับปริญญาตรีจะดำเนินการเป็นลำดับถัดมา
        8.ในการกู้ยืมเงิน กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)สำหรับการเรียนในสาขาพิเศษ จะมีโครงการพิเศษ ให้ผู้เรียนในสาขาที่ทันสมัย ทันโลก ตามความต้องการเร่งด่วนของชาติ อาจพิจารณาปรับดอกเบี้ย ส่วนลดพิเศษ
        9.หลักสูตร Sandbox อะไรที่เป็นข้อจำกัด ทางการศึกษา สามารถเสนอขอให้ยกเว้นได้ ขออนุญาตโดยตรง มีระยะทดลองทำเช่น 5 ปีในการทดลองปฏิบัติ ถ้าผลออกมาดี อาจจะปรับใช้กันทั่วไป การใช้กลไกการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education  Sandbox) ซึ่งสนับสนุนสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในการสร้างกำลังคนสมรรถนะสูงด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ด้านละ 10,000 คนต่อปีการศึกษา ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา การสนับสนุนการฝึกปฏิบัติงาน (WiL) การ Upskill/Reskill รวมถึงการหาความรู้ในปัจจุบันอาจไม่ได้อยู่ในมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว การเสาะหาความรู้ อาจต้องไปศึกษาดูงาน เรียนรู้จากพื้นที่ ชุมชน ไปศึกษาจากหมู่บ้านจาก SME เรียนรู้สิ่งที่ปราชญ์อธิบายให้เราได้ฟัง เน้นการปฏิบัติจริงมากขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาที่เรียนในมหาวิทยาลัยอาจต้องสั้นลง เพิ่มเวลาในการเรียนรู้จากการไปฝึกฝน สร้างประสบการณ์จากภายนอกให้มากขึ้น เช่นวิศวกร อาจช่วยวิธียกเรือกับบริษัทผลิตเรือ และนำความรู้ วิธีการยกเรือ กลับมาใช้สอนจริงได้
        นอกจากนี้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผลักดันให้เกิดวิทยสถาน ด้าน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ แห่งประเทศไทย (Thailand Academy of Social Sciences, Humanities and Arts TASSHA)* ศึกษาด้านอารยธรรมสุวรรณภูมิ 2,500 กว่าปีมาแล้ว การขุดคอคอดกระ ระนอง พบหลักฐานโบราณคดียุคสุวรรณภูมิ หลายประการ พบลูกปัด โบราณ การศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งปรากฏหลักฐานในต่างประเทศที่กล่าวถึงสุวรรณภูมิ ทั้งที่ประเทศจีน หรืออินเดีย ซึ่งเป็นการศึกษาความเป็นมาในอดีตย้อนยุคสมัยไปให้มากกว่าความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่เราเคยศึกษามาวิทยสถานทางวิทยาศาสตร์’ (Academy of Science) “ธัชวิทย์” ธัชวิทย์จะรวมผู้มีความสามารถจากทุกภาคส่วน จากมหาวิทยาลัยจะเกิด virtual organization จะเป็นผลงานร่วม  เช่นแนวคิดควรทำอย่างไรกับน้ำทะเลที่ขึ้นไม่หยุด จาก global warming การตรวจน้ำหนักของรถที่วิ่งได้เลย จับเซนเซอร์ที่ตำแหน่งเพลา
        10.ออกพระราชบัญญัติให้งานวิจัยจะเป็นของผู้ขอทุน นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ เมื่อก่อนไม่ได้เป็นเจ้าของ เมื่อก่อนงานวิจัยเป็นของผู้ให้ทุน ถ้าผู้ขอทุนเป็นเจ้าของได้ ถ้าทางมหาวิทยาลัยเป็นเจ้าของงานวิจัยจะได้เอาไปต่อยอดได้ ความรู้ จะได้ถูกใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน ซึ่งต้องอาศัยคนเก่ง คนดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์  เป็นรุ่นแรก ที่บุกเบิก สร้างงานใหญ่ที่เป็นประโยชน์มาก ซึ่งมาจากการทุ่มเท ในยุคที่งบประมาณ และค่าตอบแทนมีจำกัด ซึ่งผลจากการทุ่มเท ริเริ่มในวันนั้น ทำให้มีการเติบโตอย่างทุกวันนี้
         การปฏิรูปจะเกิดได้อย่างไม่หยุดยั้ง หากเป็นผู้บุกเบิกตลอดไป ให้ความเป็นเลิศเป็นธง การนำความรู้ที่ดีที่สุด ไปใช้ประโยชน์สู่สาธารณะ ตามแนวพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
         คนเก่ง คนดี มีความสามารถ เสียสละ จงนำเอาโอกาสที่ดี ความรู้ที่ได้ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชนให้ได้มากที่สุด อย่าคิดเพียงแค่การทำเพื่อตัวเอง การทำอะไรดีดี จะต้องไปแก้ไขส่วนที่เป็นปัญหา เพื่อที่จะทำให้เกิดผลดีให้ได้มีความดี มีหัวใจให้เหมือนบรรพชน ยุค  2512 ก็จะมีการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง

เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน

น้อยที่สุดน้อยมากมากที่สุด (No Ratings Yet)
Loading…
Views : 58 views