การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน Education for Sustainable Development (ESD)
เรื่อง : วรนาฏ คงตระกูล
หากกล่าวถึงมิติความยั่งยืนคือ มิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม บวกกับอีก 2 มิติ คือ มิติด้านสันติภาพและสถาบัน และมิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา รวมเป็น 5 มิติ องค์การสหประชาชาติแบ่งเป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) 17 ข้อ ออกเป็น 5 กลุ่ม (เรียกว่า 5 Ps) ประกอบด้วย
– People (มิติด้านสังคม): ครอบคลุมเป้าหมายที่ 1 ถึง เป้าหมายที่ 5
– Prosperity (มิติด้านเศรษฐกิจ): ครอบคลุมเป้าหมายที่ 7 ถึง เป้าหมายที่ 11
– Planet (มิติด้านสิ่งแวดล้อม): ครอบคลุมเป้าหมายที่ 6 เป้าหมายที่ 12 ถึง เป้าหมายที่ 15
– Peace (มิติด้านสันติภาพและสถาบัน): ครอบคลุมเป้าหมายที่ 16
– Partnership (มิติด้านหุ้นส่วนการพัฒนา): ครอบคลุมเป้าหมายที่ 17
ในด้านการศึกษาเป็นเป้าหมายลำดับที่ 4 จากเป้าหมาย ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน Sustainable Development Goals (SDGs) 17 ประการ ซึ่งอยู่ในมิติด้านสังคม
เป้าประสงค์
4.1 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล ภายในปี 2573
4.2 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ ภายในปี 2573 เพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา
4.3 ให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษาวิชาเทคนิค อาชีวศึกษา อุดมศึกษา รวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีราคาที่สามารถจ่ายได้และมีคุณภาพ ภายในปี 2573
4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่ดี และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี 2573
4.5 ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศในการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็ก เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี 2573
4.6 สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ในสัดส่วนสูง ทั้งชายและหญิง สามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ ภายในปี 2573
4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมไปถึง การศึกษาสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก และความนิยมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและในส่วนร่วมของวัฒนธรรมต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี 2573
4.a สร้างและยกระดับอุปกรณ์และเครื่องมือทางการศึกษาที่อ่อนไหวต่อเด็ก ผู้พิการ และเพศภาวะ และให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน
4.b ขยายจำนวนทุนการศึกษาในทั่วโลกที่ให้สำหรับประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะประเทศพัฒนาน้อยที่สุด รัฐกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก และประเทศในแอฟริกา ในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา รวมถึงการฝึกอาชีพ และโปรแกรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ด้านเทคนิค วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ภายในปี
กล่าวโดยรวมคือสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all) ซึ่งมีนโยบายในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ซึ่งเน้นสุขภาพและพัฒนาการตามวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษาอย่างทั่วถึงทุกพื้นที่ ซึ่งพิจารณาข้อมูลการทำงาน อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ ปรับ O NET นำไปสู่การเรียนที่มีประสิทธิผล ฝึกคิดวิเคราะห์ ท่องส่วนที่ควรท่อง เน้น Stem Education มีความเสมอภาคทั้งนักเรียนพิการ เด็กที่มีปัญหาทางจิตเวชที่มีภาวะเสี่ยง ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ เช่นเด็กสมาธิสั้น (ADHD) เด็กที่มีปัญหา ด้านการเรียนรู้ (LD) เด็กที่มีพฤติกรรมเกเร (Conduct Disorder) เด็กซึมเศร้า (Depressive Disorder) เด็กออทิสติก (Autism Spectrum Di )โดยเน้นผลลัพท์การเรียนรู้ ตั้งแต่ระดับอ่านออก เขียนได้ คำนวณได้ ใช้คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศได้ โดยพัฒนาการเรียนรู้ให้ได้ระดับมาตรฐานสากล เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาระบบประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มี มาตรฐานเทียบเท่านานาชาติ: National test: NT แนว PISA-Like ใน 3 ด้าน คือ ด้านภาษา การคิดคำนวณ และด้านเหตุผล โครงการจัดการศึกษาทางไกล DLTV และ DLIT
กิจกรรมตัวอย่างสำหรับการมุ่งเน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต การพัฒนาอย่างยั่งยืนเช่นการเชิญผู้เชี่ยวชาญ การ coaching การถ่ายทอดประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญตามสาขา การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อผู้เรียน การบูรณาการ ต่อยอดความรู้ การผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น การอบรมครูโรงเรียน การอบรมอาจารย์มหาวิทยาลัย การให้ความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินที่มีประสิทธิผล ทั้งการพัฒนาทักษะทางภาษา การสื่อสาร การคำนวณ การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งหากเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต เป็นการเรียนรู้อย่างยั่งยืนนั่นเอง
การศึกษาที่มีคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งการพัฒนาคน เศรษฐกิจ สังคมและเป็นรากฐานให้ประเทศชาติเกิดความเจริญอย่างยั่งยืน
อ้างอิง
https://science.mahidol.ac.th/sdgs/sdgs-17/
https://www.sdgmove.com/intro-to-sdgs/
เนื้อหานี้มีประโยชน์กับท่านหรือไม่ โปรดให้คะแนน
(No Ratings Yet)Loading…